มืออาชีพจากอุสตาหกรรมอนิเมะ มาแบ่งปันขั้นตอนการทำงาน ในงาน AnimeJapan

Share

ในงาน AnimeJapan 2021 ได้มีการเปิด Production Works Channel หรือช่วงพูดคุยกับคนทำงานในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่จะโฟกัสขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ ช่วง Pre-Production, Production, และ Post-Production โดยมีบุคลากรจากอุตสาหกรรมอนิเมะมาพูดคุยกันในขั้นตอนการทำงานแต่ละแบบบ โดยมีคุณ Fujitsu Ryota นักวิจารณ์อนิเมะเป็นผู้ดูแลการพูดคุยและทำการสอบถามทีมงานแต่ละคน

รายละเอียดการพูดคุยโดยคร่าวของการสนทนาทั้งสามหัวข้อมีรายละเอียดดังนี้:

โครงสร้างของอนิเมะ: บท – กับ อนิเมะ Cider no Yo ni Kotoba ga Wakiagaru

คุณ Ishiguro Kyouhei ผู้กำกับ กับ คุณ Sato Dai นักเขียน ได้บอกเล่าถึงการร่วมงานกันเพื่อที่จะเขียนบทภาพยนตร์ คุณ Ishiguro กล่าว่าเขาไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทภาพยนตณ์ เลยติดต่อขอความช่วยเหลือจากคุณ Sato เมื่อการเขียนบทจริงๆ เริ่มต้นขึ้น คุณ Ishiguro ก็ได้เขียนบทพาร์ท B ในขณะที่คุณ Sato ทำการเขียนบทอีกสามส่วนที่เหลือ แต่การทำงานร่วมกันของทั้งสองคนนั้นมากกว่าการเขียนบทลงบนกระดาษ ทั้งสองคนในเวลาราวสามเดือนในการออกเดินทางหาข้อมูลร่วมกันในระหว่างที่ระดมสมองกันเพื่อเขียนบท

คุณ Ishiguro Kyouhei ผู้กำกับ กับ คุณ Sato Dai นักเขียน ได้บอกเล่าถึงการร่วมงานกันเพื่อที่จะเขียนบทภาพยนตร์ คุณ Ishiguro กล่าว่าเขาไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทภาพยนตณ์ เลยติดต่อขอความช่วยเหลือจากคุณ Sato เมื่อการเขียนบทจริงๆ เริ่มต้นขึ้น คุณ Ishiguro ก็ได้เขียนบทพาร์ท B ในขณะที่คุณ Sato ทำการเขียนบทอีกสามส่วนที่เหลือ แต่การทำงานร่วมกันของทั้งสองคนนั้นมากกว่าการเขียนบทลงบนกระดาษ ทั้งสองคนในเวลาราวสามเดือนในการออกเดินทางหาข้อมูลร่วมกันในระหว่างที่ระดมสมองกันเพื่อเขียนบท

โมทีฟของการท่องกลอนไฮกุ และ การแร็ป ภายในตัวอนิเมะก็มาจากไอเดียตั้งต้นของคุณ Sato ในทำนองเดียวกันกับเรื่องของเพลง และประเด็นนี้ยังตอบสนองความอยากของคุณ Ishiguro ในการสร้างตัวละครหลัก ด้วย เพราะเขาไม่อยากให้ตัวละครหลักต้องพูดแบบโมโนล็อก (Monologue – พูดเองคนเดียวเพื่อแสดงความรู้สึกออกมา) นอกจากนี้ ตัวห้างสรรพสินค้าภายในเรื่องก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากการที่ต้องการจะใช้สถานที่เป็นฉากหลังเพียงแค่สถานที่เดียวแต่ยังสามารถทำให้คนดูรู้สึกเป็นสถานที่ที่น่าจดจำ

การพูดคุยในส่วนนี้ยังพูดถึงภาพรวมของนักเขียนบทในอุตสาหกรรมอนิเมะ คุณ Sato กล่าวว่าการเขียนบทมักจะเป็นงานส่วนที่คนมักจะมีปัญหามากที่สุด เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคิดเนื้อเรื่องที่ดีขึ้นมา นั่นเป็นเหตุว่าทำไมในปัจจุบันนนี้ถึงมีความพยายามดึงตัวนักเขียนที่มีภูิมหลังมาจากสายอาชีพหลากหลายมากขึ้น คุณ Ishiguro ยังย้ำด้วยว่าในการเขียนบทนั้น คุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์แรมปีเพราะทักษะบางอย่างสามารถเรียนรู้ได้จากการทำงาน

สร้างอนิเมะให้มีชีวิตด้วยเสียง – กับ อนิเมะ ยาฉะฮิเมะ เจ้าหญิงครึ่งอสูร

ผู้กำกับเสียง คุณ Nagura Yasuhi กับผู้พากย์เสียงตัวละคร โทวะ คุณ Matsumoto Sara และ คุณ Naka Toshikazu ที่เป็นโปรดิวเซอร์จาก Sunrise มาพูดคุยเกี่ยวกับขั้นตอนการอัดเสียง กับช่วง Post-Production ของตัวอนิเมะ ขั้นตอนดังกล่าวรวมไปถึงการอัดบทพากย์ (หรือ Afureko)

ขั้นตอนเบื้องต้นของการอัดเสียงก็คือการคัดเลือกนักพากย์, การสร้างเพลงประกอบ, และการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางในการสร้างงานเสียงและซาวนด์เอฟเฟคท์ ก่อนจะเข้าสู่การอัดเสียงพากย์จริง ผู้กำกับเสียงจะทำหน้าที่เช็คบทกับสตอรี่บอร์ดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีบทพูดไหนตกหล่นไป จากนั้นพวกก็จะคัดเลือกนักพากย์สำหรับแต่ละตอน แล้วทำการรวบรวมวัตถุดิบจากใฝ่ายต่างๆ และจะมีการซักซ้อมกันในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนอัดเสียงจริง หลังจากรวบรวมไฟล์เสียงทั้งหมดมาได้แล้ว คุณ Nagura ที่เป็นผู้กำกับเสียงจะใช้โปรแกรม ProTools ในการดัดแปลงและผสมเสียง

สำหรับขั้นตอนการบันทึกเสียง คุณ Nagura จะมีเรื่องที่ปรารถนาจะย้ำเตือนคนทำงานอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น คุณ Nagura จะขอให้คุณ Matsumoto ทำการพากย์ซ้ำเมื่อตัวเขาต้องการที่จะให้ควบคุมการแสดงออกความเป็นหญิงสาวในน้ำเสียงของตัวละคร เนื่องจากคุณ Matsumoto รับบทเป็น โทวะ ที่ตามปกติตัวละครจะมีความผสมกันทั้งสองเพศ (Androgynous) แต่ความพร่าเลือนทางเพศนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปได้สำหรับบางฉาก นอกจากเสียงที่ต้องสอดคล้องกับตัวละครแล้ว คุณ Nagura ยังต้องการให้นักพากย์ได้มีโอกาสแสดงเสน่ห์ทางเสียงของพวกเขาออกมา และต้องทำให้แน่ใจว่าทุกเสียงที่ได้มาต้องทั้งน่ารักและโดดเด่น

ในช่วงท้ายของการสนทนาส่วนนี้ข้ามไปพูดถึงการป้องกันตัวเองจากการอัดเสียง ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก ก่อนหน้านี้นักพากย์จะต้องมาทำการซ้อมและอัดเสียงเป็นกลุ่มรวมในห้องเดียวกัน แต่ในปัจจุบันนักพากย์จะแยกกันพากย์ในบูธส่วนตัว แม้ว่าในตอนแรกการแยกพากย์จะทำให้มีปัญหาสำหรับทุกคนในการทำงาน แต่คุณ Matsumoto กล่าวว่าสุดท้ายพวกเธอก็คุ้นเคยกับการพากย์แบบเว้นระยะห่างทางสังคม

พลังของทีมงานในการสร้างงานภาพ – กับอนิเมะ Mobile Suit Gundam Hathaway

คุณ Hara Hidekazu ตำแหน่ง Unit Director, คุณ Waki Kentaru ตำแหน่ง Compositing Director และคุณ Iwashita Narumi ตำแหน่ง Production Desk ได้มาทำการพูดคุยกันเกี่ยวกับงานด้านภาพ (Visual Effects) ในภาพยนตร์ถูกสร้างอย่างไร การทำงานด้านดังกล่าวเป็นการผสมรวมกันของการวาดภาพหลายภาพและการวางเลเยอร์อนิเมชั่นตามลำดับเพื่อสร้างภาพองค์รวมขึ้นมา

คุณ Waki เล่าขั้นตอนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน และได้นำเอาภาพจากตัวอย่างภาพยนตร์ ทั้งในแบบก่อนและหลังทำการ Composite แม้ว่าอนิเมเอร์จะรับหน้าที่วาดภาพการเคลื่อนไหวแยกออกมาหลายต่อหลายเลเยอร์ แต่เป็นหน้าที่ของคุณ Waki ในการนำเอาภาพทุกเลเยอร์มาวางไล่เรียงรวมกันให้ไหลลื่นและเข้ากัน ระหว่างที่เขาอธิบายนั้นเขาก็นำเอาภาพตัวอย่างที่เอาเลเยอร์หลายเลเยอร์มารวมกัน ที่ไม่ได้สร้างภาพให้ดูมีความลึกเท่านั้นแต่ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ส่วนคุณ Hara บอกเล่าถึงการจัดแสงสีเพื่อให้พื้นที่ที่เป็นภาพ 2D กับ ภาพ 3D มาผสมรวมกันในฉากเดียวได้อย่างแนบเนียน ทั้งสามท่านยังกล่าวว่าพวกเขาพยายามเลี่ยงการทำภาพให้มืดเกินไป แต่พยายามใส่สีสันไปในภาพลงไปเพราะตัวผลงานยังเป็นอนิเมะกันดั้มอยู่

คุณ Waki เล่าขั้นตอนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน และได้นำเอาภาพจากตัวอย่างภาพยนตร์ ทั้งในแบบก่อนและหลังทำการ Composite แม้ว่าอนิเมเอร์จะรับหน้าที่วาดภาพการเคลื่อนไหวแยกออกมาหลายต่อหลายเลเยอร์ แต่เป็นหน้าที่ของคุณ Waki ในการนำเอาภาพทุกเลเยอร์มาวางไล่เรียงรวมกันให้ไหลลื่นและเข้ากัน ระหว่างที่เขาอธิบายนั้นเขาก็นำเอาภาพตัวอย่างที่เอาเลเยอร์หลายเลเยอร์มารวมกัน ที่ไม่ได้สร้างภาพให้ดูมีความลึกเท่านั้นแต่ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ส่วนคุณ Hara บอกเล่าถึงการจัดแสงสีเพื่อให้พื้นที่ที่เป็นภาพ 2D กับ ภาพ 3D มาผสมรวมกันในฉากเดียวได้อย่างแนบเนียน ทั้งสามท่านยังกล่าวว่าพวกเขาพยายามเลี่ยงการทำภาพให้มืดเกินไป แต่พยายามใส่สีสันไปในภาพลงไปเพราะตัวผลงานยังเป็นอนิเมะกันดั้มอยู่

หลังจากแสดงความซับซ้อนของขั้นตอนการประกอบภาพในแต่ละฉากแล้ว บุคลากรทั้งสามท่านก็ได้เน้นว่ามันไม่ใช่เรื่องที่เข้าถึงได้ยากอย่างที่ตาเห็น ก่อนที่คุณ Hara จะพูดเสริมว่า สำหรับผู้ที่สนใจจะมาทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะ กลุ่มคนทำงานล้วนแต่ทำงานกันเป็นทีมเพื่อช่วยเหลือและขัดเกลาสมาชิกแต่ละคน ‘ทุกๆ คนทำงานกันหนักมาก แต่ก็อย่าได้หวาดกลัวอุตสาหกรรมนี้้เลยครับ’

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*