ย้อนดูรายละเอียดพิธีเปิดโอลิมปิก ที่จะมีทั้ง Mario และ Akira

Share

ในงานพิธีเปิดโอลิมปิก Tokyo Olympics 2020 มีการนำเอาเพลงจากวิดีโอเกมชื่อดัง และป้ายชื่อประเทศที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากช่องคำพุดของมังงะ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันจัดงาน ก็มีหลายคนทักว่า ตัวละครของทาง Nintendo และการกล่าวถึงอนิเมะ AKIRA ได้หายไปจากตัวงานอย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตามมีสื่อมวลชนหลายเจ้าได้ไปย้อนสืบค้นและพบว่าเอกสารที่มีการยื่นให้กับทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee – IOC) เมื่อเดือนเมษายน ปี 2020 ตัวแผนงานเดิมสำหรับงานพิธีเปิดโอลิมปิก Tokyo Olympics 2020 นั้นมีความทะเยอทะยานมากกว่าที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง

ทางนิตยสาร Bunshun รายสัปดาห์ ได้รับเอกสารเสนอแผนงานจำนวน 280 หน้า ที่มีการยื่นเสนอไปในช่วงเดือนเมษายนปี 2020 ว่าตัวงานจะเปิดฉากด้วยมอเตอร์ไซค์สีแดงจากภาพยนต์อนิเมะ AKIRA พุ่งทะยานเข้ามาในสนามแข่งขัน ก่อนจะมาวนรถรอบภาพฉากของกรุงนีโอโตเกียวในปี 2020 ที่ตัวอาจารย์ Otomo Katsuhiro ผู้สร้าง AKIRA เคยวาดไว้ ส่วนตัวละครเกมจาก Nintendo อย่าง Mario กับตัวละครที่มาจากวัฒนธรรมป๊อปอื่นๆ จะมาปรากฎตัวในรูปแบบ CG ระหว่างที่นักกีฬาแต่ละประเทศเดินเข้าสนาม

แผนการอื่นๆ ที่ถูกเปิดเผยว่า ก็จะมีการนำเอา คุณ Miura Daichi ที่เคยร้องเพลงประกอบให้อนิเมะหลายเรื่อง อาทิ Dragon Ball Super: Broly กับ Parasyte -the maxim- และ คุณ Sugawara Koharu มาร่วมแสดง, ตลกหญิงอย่าง คุณ Watanabe Naomi จะมาทำท่าส่งสัญญาณ ‘Ready’ เพื่อเป็นการระลึกถึง Tokyo Olympics 1964 และจะมีการแสดงยิงแสงโปรเจคชั่นแมปปิ้งเพื่อแสดงว่ากรุงโตเกียวอุดมไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัยอย่างไร

แม้ว่าทาง Bunshun รายสัปดาห์ จะเปิดเผยรายละเอียดเอกสารเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่แผนงานดังกล่าวเป็นเหมือนการยกระดับแนวคิด ‘Cool Japan’ ให้มาเกี่ยวข้องกับงานโอลิมปิก แบบเดียวกับที่อดีตนายกรัฐมนตรี Abe Shinzo เคยไปปรากฎตัวในงานพิธิปิกโอลิมปิกปี 2016 ด้วยการคอสเพลย์เป็น Mario มาก่อน

ทาง IOC ได้ตอบกลับเกี่ยวกับแผนการดังกล่าวด้วยความยินดี มีแค่ขอให้ปรับเปลี่ยนด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโคโรน่าไวรัส อย่างไรก็ตามแผนงานดังกล่าวได้ถูกยุติลง เมื่อคุณ Mizuno Mikiko ผู้ออกแบบท่าเต้น ได้ถอนตัวจากเป็นหัวหน้าทีมจัดงานในเดือนภัดมา ก่อนที่คุณ Sasaki Hiroshi ที่เป็นเจ้าของเอเจนซี่โฆษณา จะมารับตำแหน่งแทน และทำการลาออกจากตำแหน่งในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2021 หลังจากแนะนำให้คุณ Watanabe Naomi ปรากฎตัวในฐานะ ‘Olympig’ เพื่อเป็นการล้อเลียนไปกับรูปร่างที่ใหญ่โตของเธอ

หลังจากข่าวอื้อฉาวดังกล่าว มีรายงานว่าทางประธานคณะกรรมการผู้จัดงานโตเกียว 2020 เห็นว่าการจะสร้างพิธีเปิดใหม่หมดภายในสี่เดือนเป็นเรื่องยาก จึงมีการนำแผนงานทีทีมของคุณ Sasaki เตรียมไว้ มาใช้เป็นพื้นฐานในการจัดพิธีเปิดโอลิมปิกของ Tokyo Olympics 2020 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม ปี 2021

แหล่งข่าววงในระบุกับทาง Bunshun รายสัปดาห์ว่า มีความเสียใจที่แผนงานเดิมไม่ออกดอกออกผลอย่างเต็มที่ และ คุณ Watanabe Naomi เองก็ตื่นเต้นกับวิสัยทัศน์ของคุณ Mizuno Mikiko รายงานจากทาง Japan Times ระบุว่า คุณ Mizuno Mikiko เริ่มเสียอิทธิพลในการทำงานไปเมื่อคุณ Sasaki เข้ามามีส่วนร่วม และทีมผู้คิดงานชุดดั้งเดิมได้ถอนตัวจากการเป็นทีมงานในช่วงปลายปี 2020

แต่สุดท้าย การแข่งขัน Tokyo Olympics 2020 ก็ยังคงใช้มุมมองจากวัฒนธรรมป๊อปเป็นตัวช่วยผลักดัในการสร้างบรรยากาศงานต่อไป เห็นได้จากการที่นำเพลงจากอนิเมะดังหลายเรื่องไปเปิดประกอบการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ อาทิ เพลงจากเรื่อง ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน ในการแข่งวอลเลย์บอล, เพลงจากเรื่อง Slam Dunk ในการแข่งบาสเก็ตบอล, เพลงจาก Ghost In The Shell ในการแข่งยูโด, เพลงจาก Attack On Titan ในการแข่งยิงธนู, เพลงจาก Naruto ในการแข่งม้าแข่ง, เพลงจาก ดาบพิฆาตอสูร ในการแข่งมวยสากลสมัครเล่น เป็นอาทิ

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า เจตนาในการนำเสนอวัฒนธรรมป๊อปนี้ เป็นความต้องการในการแสดงภาพของประเทศญี่ปุ่นที่ ทันสมัย, เท่, และเป็นที่นิยมในระดับนานาชาติ ทั้งยังเป็นการโปรโมทเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าอนิเมะและมังงะในประเทศอื่นๆ อย่างที่เห็นได้จากความต้องการในสินค้ากลุ่มนี้ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในอเมริกา เป็นต้น

‘คนดูจะรู้สึกอยากรู้อยากเห็น’ Dr. Susan Napier ศาสตราจารย์ด้านวาทศาสตร์และญี่ปุ่นศึกษาจากมหาวิทยาลัย Tufts ให้สัมภาษณ์กับทางหนังสือพิมพ์ Washington Post ว่า ‘สไตล์ของอนิเมะเป็นสไตล์ที่โดดเด่นมาก และถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับมัน คุณก็จะมองว่าว่า ‘ว้าว นั่นอะไรน่ะ มันดูเท่มากเลย’

อย่างไรก็ตามการใช้วัฒนธรรมป๊อปในการโปรโมทเช่นนี้ก็ถูกวิจารณ์ในด้านไม่ดีเช่นกัน อย่างเช่น คุณ Fukuda Mitsuo ผู้กำกับ Mobile Suit Gundam SEED ได้ทวิตถึงงานพิธีเปิด Tokyo Olympics 2020 ว่า ‘ของอย่างป้ายชื่อประเทศที่เป็นช่องคำพูดของมังงะ ดูผิดที่ผิดทางมาก เครื่องแต่งกายที่คุณสามารถสัมผัสได้ถึงวัฒนธรรมของหลากหลายประเทศนั้นน่าสนใจ แต่อีกด้านหนึ่งการนำเสนอที่เหมือนจะอิงจากเกมและมังงะในแบบแปลกๆ มันเป็นการสร้างความประทับใจที่ออกมาดูแย่’

ก่อนหน้านี้ยังเคยมีการสนับสนุนจากเวทีการเมืองในการใช้วัฒนธรรมป๊อปที่โดดเด่นในการโปรโมทตัวงานเช่นกัน ตัวละครจากอนิเมะหลายเรื่อง อย่าง One Piece, Dragon Ball, และ Naruto เคยถูกแต่งตั้งให้เป็นทูตของงานโอลิมปิ อย่างไรก็ตามมีผู้โต้แย้งว่า ตัวละครที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีสูงอย่าง อะตอม จากเรื่อง เจ้าหนูปรมาณู หรือ อุซางิ จาก เซเลอร์มูน อาจจะอยู่ผิดที่ผิดทางไปสำหรับการโปรโมทงานโอลิมปิกในช่วงที่มีโรคระบาด และคาดว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่การโปรโมทในส่วนนี้โดนลดทอนลงไปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

โพลล์ของทางหนังสือพิมพ์ Mainichi Shimbun ที่ร่วมกับทาง Social Survey Research Center ที่ทำการเปิดเผยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ปี 2021 ระบุว่ามีเพียงกลุ่มตัวอย่าง 9% เท่านั้นที่บอกว่าควรจะงาน Tokyo Olympics และ Paralympics ตามกำหนดการเดิม และมีกลุ่มตัวอย่าง 32% ที่ระบุว่าควรยกเลิกการจัดงานทั้งหมดไปเลยแม้ว่าจะไม่มีผู้ชมภายในสนามก็ตาม และในวันจัดพิธีเปิดก็ยังมีผู้ประท้วงเดินขบวนนอกสนามกีฬาเพื่อคัดค้านการจัดงานดังกล่าวด้วย

Sources: Weekly Bunshun, Japan Times, AP News, Washington Post via Comicbook.com, Nijipoi

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*