อาจารย์ Hagio Moto นักเขียนผู้ก่อกระแสมังงะแนว โชโจ โชเน็นไอ ได้ถูกนำชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศของรางวัลไอสเนอร์

Share

ในงานประกาศรางวัลไอสเนอร์ประจำปี 2022 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้การประกาศนำเอาชื่อ อาจารย์ Hagio Moto เข้าสู่หอเกียรติยศของรางวัลไอสเนอร์ และคุณ Gary Groth ได้อ่านแถลงจาก อาจารย์ Hagio Moto เกี่ยวกับแรงบันดาลใจที่อาจารย์ได้รับสืบทอดต่อมาจากอาจารย์ Tezuka Osamu รวมถึงเรื่องราวว่าแรงบันดาลใจสามารถถูกส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้อย่างไร

อาจารย์ Hagio Moto เคยถูกคณะกรรมการของรางวัลไอส์เนอร์ส่งชื่อของเธอเข้าชิงมาแล้วสองครั้งในปี 2019 และ 2020 ซึ่งในปีนี้เธอถึงส่งชื่อเข้าชิงร่วมกับบุคลากรจากอุตสาหกรรมการ์ตูนอีก 17 ท่าน

ผลงานโดดเด่นของอาจารย์ Hagio Moto คือการเป็นนักเขียนที่บุกเบิกมังงะในกลุ่ม โชโจ กับ โชเน็นไอ และตัวผลงานยังทำให้เกิการจัดงานในด้านต่างๆ มากมาย มังงะเด่นของอาจารย์ได้แก่ โลกพิศวงบาร์บาร่า (ลิขสิทธิ์ในไทย โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์), Thomas No Shinzou (หนึ่งในผลงานแนวโชเน็นไอเรื่องแรกของญี่ปุ่น), Poe No Ichizoku และอาจารย์เพิ่งเริ่มเขียนมังงะภาคใหม่ของ Poe No Ichizoku ที่ใช้ชื่อภาคว่า Ao No Pandor ที่เริ่มตีพิมพ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2022

ทางรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นเคยมอบรางวัล บุคคลผู้ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม (Person Of Cultural Merit) ในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2019 และอาจารย์ Hagio ยังเคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญเกียรติยศแถบสีม่วง ที่จะมอบให้แก่บุคคลที่ชำนาญการในงานด้านวิชาการและศิลปะ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2021 และถือเป็นนักเขียนมังงะสายโชโจท่านแรกที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทนี้

บุคลากรจากวงการการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ถูกบรรจุชื่อลงไปในหอเกียรติยศของรางวัลไอส์เนอร์ เมื่อก่อนหน้านี้ได้แก่ อาจารย์เทะสึกะ โอซามุ (บรรจุชื่อเมื่อปี 2002), อาจารย์คาซุโอะ โคอิเคะ ผู้แต่งเรื่อง ซามูไรพ่อลูกอ่อน, Crying Freeman (บรรจุชื่อเมื่อปี 2004), อาจารย์โคเซย์ โคจิม่า ผู้วาด ซามูไรพ่อลูกอ่อน (บรรจุชื่อเมื่อปี 2004), อาจารย์คัทสึฮิโระ โอโทโมะ ผู้สร้าง Akira (บรรจุชื่อเมื่อปี 2004) และอาจารย์ทากาฮาชิ รูมิโกะ ผู้สร้าง รันม่า 1/2, อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน (บรรจุชื่อเมื่อปี 2018)

Source: Heidi MacDonald’s Twitter account

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*