Answerman : ทำไมหนังคนแสดงที่สร้างจากการ์ตูนถึงมักจะออกมาห่วย ?

Share

Mitchell ถาม:

ฉันได้ยินว่าหนัง Fullmetal Alchemist ฉบับคนแสดงนี่ห่วย มันทำให้ฉันเห็นภาพเลยค่ะ ว่าจะฝั่งอเมริกาหรือญี่ปุ่นก็มีปัญหาในการเอาหนังจากการ์ตูนมาทำเป็นหนังคนแสดงจริง แล้วทำไมหนังจากการ์ตูนถึงทำเป็นหนังแล้วไม่ดีล่ะคะ? แล้วคุณคิดว่ามีการ์ตูนเรื่องนี้ที่น่าจะถูกสร้างออกมาแล้วจะออกมาเวิรค์บ้าง ? ถ้าจะทำหนังแบบนั้นขึ้นมาจริงๆ เราต้องวางแผนอะไรบ้าง ?

Answerman ตอบ:

ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นการดัดแปลงการ์ตูนมาเป็นหนังห่วยเรื่องล่าสุด

อย่างแรกต้องบอกก่อนเลยว่า Answerman ยังไม่ได้รับชมภาพยนตร์ Fullmetal Alchemist ฉบับคนแสดง แต่ทางทีมงานของ Anime News Network ค่อนข้างที่จะโอคเกับมันอยู่นะครับ แต่เพื่อที่จะตอบคำถามที่คุณถามมา ถ้าตอบให้เข้าใจง่ายเข้าก็คือ จุดที่ทำให้การ์ตูนนั้นเป็นเรื่องที่คือจุดที่ทำให้มันทำเป็นหนังคนแสดงไม่ค่อยดีนั่นล่ะ คนอ่านติดตามทั้งอนิเมะและมังงะจากความเหนือจริง, จากการสร้างโลกในเรื่อง, จากสไตล์การนำเสนอ และเนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะยาวมีเส้นเรื่องที่ต่อเนื่อง หลายๆ อย่างที่กล่าวมานั้นยากต่อการดัดแปลงเป็นหนังคนแสดง และยากที่จะทำให้คนดูรู้สึกเชื่อถือได้

ตัวละครของทั้งอนิเมะและมังงะ โดยเฉพาะในการ์ตูนสายที่ขายวัยรุ่นเป็นหลักก็มักจะเป็นตัวละครที่ปฏิบัติตนไม่สอดคล้องกับโลกแห่งความจริง ซึ่งถ้าพวกเขาอยู่ในสื่อดั้งเดิมมันก็ไม่ผิดอะไรนัก ด้วยความที่ตัวตนของตัวละครในอนิเมะและมังงะ (รวมถึงไลท์โนเวล) พอจะบอกได้ว่าถูกแยกออกไปอยู่ในอีกความเป็นจริงหนึ่ง ธรรมชาติในโลกนั้นย่อมเหนือจริง ลักษณะการอยู่อาศัยก็แตกต่างกัน เมื่อผู้เสพสื่อแบบเรารับชมสื่อต้นทางแล้ว สมองของเราก็ไม่คาดหวังที่จะได้เจอความเป็นจริงและจะไม่คาดหวังว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามกฎกติกาของโลกปกติ

การตีความแบบนี้ก็เกิดขึ้นในสมองของเราเช่นเดียวกันในตอนรับชมภาพยนตร์ และเมื่อเราพบในชั่วพริบตาว่าตัวละครในหนังที่มีความแฟนตาซีไม่เข้ากันกับโลกแห่งความจริง อย่างเช่น เราได้พบว่าชายหนุ่มชาวญี่ปุ่นเล่นเป็นเด็กวัยรุ่นชาวตะวันตกชื่อ เอ็ดเวิร์ดแถมยังพูดญี่ปุ่น เราได้เป็นภาพ CG กับการเอฟเฟคท์การแต่งหน้า เราได้เห็นการพูดคุยแบบคัดบทพูดมาแล้ว – ตัวละครอยู่ๆ ก็พูดประโยคที่น่าจดจำ แต่ดูเล่นใหญ่เกินจริง ซึ่งมันอาจจะเวิร์คในอนิเมะกับมังงะ แต่พอมาในหนังที่มีเวลาสร้างเรื่องน้อยกว่ามันก็ดูโดดๆ ไปสักหน่อย

ความยาวหนังเพียงสองชั่วโมงก็อาจจะไม่มากพอที่จะสร้างโลกให้คนดูเชื่อถือได้เหมือนที่มังงะกับอนิเมะมีเวลาทำ ด้วยความที่ว่าหนังที่ดัดแปลงจากการ์ตูนต้องเร่งเวลาเพื่อให้ฉากแอคชั่นมากขึ้น ไม่ก็ต้องย่นย่อยุบเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อศักยภาพของเนื้่อเรื่องหนังหนึ่งที่ควรทำได้

ถึงจะลอกแบบฉากมาเหมือนะเป๊ะ Ghost In The Shell กลับมีพลอทที่น่าผิดหวัง

แล้วก็ต้องพูดถึงระบบของสตูดิโอผลิตหนังกันด้วย ซึ่งคุณจะได้พบกับการพยายามกล่อมจากค่ายหนังเพื่อสร้างหนังที่ “ขายได้” และ “โฆษณาได้” ถ้าซวยหน่อยเราก็จะได้หนังแบบ Ghost In The Shel lฉบับคนแสดงที่ตั้งใจสร้างฉากที่แฟนอนิเมะฉบับเดิมจดจำได้ มาร้อยเรียงเข้ากับเนื้อเรื่องที่กลวงโบ๋ จนกลายเป็นการดัดแปลงหนังที่ไม่สมศักดิศรีของตัวต้นฉบับไปเสียอย่างนั้น

บางทีการดัดแปลงการ์ตูนมาเป็นหนังให้ “เวิร์ค” คงจะต้องเป็นการดัดแปลงที่ไม่ทำให้เนื้อเรื่อง หรือบางทีก็ต้องลุ้นให้หนังเรื่องนั้นได้เงินทุนมากพอ และอยู่ในมือของผู้กำกับกับทีมงานสร้างสรรค์ที่ไว้ใจได้ และถ้าได้รับอนุญาตให้สร้างไปตามแนวทางและสร้างสรรค์ในแบบของตัวหนังเอง ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งกับหนังเรื่อง Speed Racer

Alita อาจจะเป็นความหวังสุดท้าย (หรือเปล่า ?) ของการดัดแปลงการ์ตูนแล้วขายได้ในฮอลลีวูด

มันยังมีอนิเมะกับมังงะอีกจำนวนหนึ่งที่ดัดแปลงเป็นหนังคนแสดงได้ดี อย่างที่ Guillermo del Toro เคยพยายามที่จะดัดแปลงมังงะเรื่อง Monster มาเป็นหนัง ซึ่งถ้าได้ออกมาก็คงจะดูดีไม่น้อย ตัวของ Answerman เองก็ยังพอจะมีหวังกับ Alita: Battle Angel / Gunnm อยู่ แต่ในมุมมองของ Answerman เองก็เห็นว่า อนิเมะกับมังงะที่ควรดัดแปลงเป็นหนังคนแสดง น่าจะเป็นเรื่องที่ใกล้เคียงโลกแห่งความจริงอย่างเรื่อง ผู้กล้าแห่งอัสลาน หรือ Sarai-Goyo หรือ Usagi Drop ซึ่งในฝั่งฮอลลีวูดคงไม่มีใครอยากหยิบการ์ตูนเหล่านี้มาทำเพราะแต่ละเรื่องที่พูดถึงนั้นเป็นการ์ตูนเฉพาะกลุ่มไม่ใช่เรื่องฮิตที่หลายคนติดตาม ซึ่งคงไม่มีคนในฝั่งฮอลลีวูดอยากหยิบงานที่ไม่มีใครนอกจากคนเสพการ์ตูนที่รู้จักเท่านั้น (ท้ังนี้ Usagi Drop มีหนังฉบับญี่ปุ่นนะครับ – ผู้เรียบเรียง)

ส่วนเหตุผลที่หนังสือการ์ตูนฝั่งอเมริกาถูกดัดแปลงเป็นหนังฮอลลีวูดได้ดีกว่าก แม้ว่าหนังจะมีการเชื่อมโยงไปยังจักรวาลหนังที่กว้างใหญ่ มันก็เพราะตัวละครส่วนมากมักจะมีภูมิหลังที่เข้าใจได้ไม่ยากนัก และที่สำคัญก็คือหนังจากการ์ตูนอเมริกาไม่ได้ดัดแปลงแบบ ‘ตรงเป๊ะ’ มากนัก อย่างหนังของ Marvel เองก็หยิบยกโครงเรื่องอ่อนๆ มาใช้ในการสร้างหนัง และทีมผู้สร้างภาพยนตร์สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองพอตัว (อย่างเช่น Spider-Man ฉบับ Sam Raimi ถือวิสาสะปรับให้ไอ้แมงมุมยิงใยได้เองโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ / Guardian Of Galaxy เลือกตัวละครชุดใหม่ที่สร้างได้ง่ายกว่าทีม Guardian ชุดแรกสุด) และมักจะทำหนังตามสูตรสร้างหนังที่ใช้งานได้ผลซ้ำแล้วซ้ำเล่า (อย่างหนัง Marvel ที่ทำแนวแอคชั่นปนตลกเยอะ)

ที่สุดแล้ว อนิเมะ, มังงะ, ซีรีส์คนแสดง และหนังคนแสดง ต่างเป็นสื่อศิลป์ที่อยู่ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน การนำเสนอเรื่องราวในแต่ละสื่อก็แตกต่างกันไป เมื่อสื่อไหนพยายามมากเกินไปที่จะนำเสนอให้เหมือนกับสื่ออีกรูปแบบหนึ่ง ผลลัพธ์มักจะจบด้วยความแปลกชวนขัดใจ การทำหนังให้ปังก็เป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่าทำอย่างไร และมันยากที่จะบอกว่าคอนเซปท์อะไรบางอย่างจะใช้งานได้แบบแน่นอน แต่การดัดแปลงการ์ตูนมาเป็นหนัที่เหมือนจะทำได้ราบรื่นความจริงมันไม่ได้ราบรื่นขนาดนั้น

ความจริงถ้าคนทำหนังเห็นแล้วว่าการถ่ายทำตัวหนังออกมาตามการ์ตูนเป๊ะๆ มันอาจจะห่วย คนทำหนังก็ควรจะหลีกเลี่ยงการลอกแบบของต้นฉบับแล้วพยายามเป็นตัวเองมากขึ้น แต่เรื่องนี้พูดมันง่ายกว่าทำจริง และเราก็คงต้องลุ้นว่าจะมีคนทำหนังกับบริษัทหนัง รวมถึงคนดูเอง จะใจกว้างที่ยอมให้ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของการ์ตูนให้เวิร์คขึ้นในการดัดแปลงเป็นหนังบ้าง

เรียบเรียงจาก: Answerman – Why Are So Many Live Action Anime Adaptations Terrible?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*