Answerman : ไหงบริษัทที่เจ้าของสิทธิ์มาเปิดให้บริการในประเทศอื่นถึงต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ต้นสังกัดอยู่ดีล่ะ

Share

Maron ถาม :

มีอะไรบางอย่างที่สงสัยมานานแล้ว ทำไมบริษัทการ์ตูนอย่าง Kodansha USA หรือ VIZ Media ถึงยังต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับสำนักพิมพ์อย่าง Kodansha หรือ Shueisha ทั้งๆ ที่บริษัทสองอันแรกก็มีบริษัทสองอันหลังเป็นเจ้าของ มันก็เหมือนเป็นเจ้าเดียวกันอยู่แล้วนี่ ดูแล้วมันไม่ค่อยาสะดวกเลยนะ

Answerman ตอบ :

ดูไม่ค่อยสะดวก นี่จริง แต่ก็มีสาเหตุอยู่ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงยังต้องมีการจ่ายค่าสิทธิ์ครับ กลุ่มผู้จัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ที่เปิดนอกญี่ปุ่นแต่มีผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่ง หรือ ทั้งหมด เป็นบริษัทญี่ปุ่นเอง สุดท้ายแล้วก็ยังถือว่าเป็นบริษัทคนละบริษัทตามกฎหมาย และพื้นที่ที่บริษัทเหล่านั้นออกไปตั้งบริษัท (อย่าง Kodansha USA หรือ Viz Media ในอเมริกา หรือ Phoenix ในไทย เป็นอาทิ) ก็ใช้กฎหมายกันคนละตัว ตามปกติแลวเมื่อใดก็ตามที่มังงะหรืออนิเมะถูกขายสิทธิ์ไปยังอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ต่างชาติ หลายๆ คน และหลายๆ บริษัทจะต้องได้รับเงินจากตรงนี้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีเงินเข้ามา พวกเขาก็ต้องแบ่งค่าใช้จ่ายเป็นเปอร์เซนต์ตามแต่จะตกลง อาจจะเป็นหักค่าใช้จ่ายตามเงินค่าซื้อสิทธิ์ หรือ อาจจะเป็นเงินก้อนตายตัว คนที่จะได้เงินเหล่านี้่ก็คือตัว นักเขียนต้นฉบับ กับ สำนักพิมพ์หรือคนดูแลหนังสือการ์ตูน ถ้าในฝั่งอนิเมะก็ต้องแบ่งเงินก้อนนี้ให้กับคณะกรรมการจัดทำอนิเมะ, หัวหน้านักเขียนบท, นักพากย์บางคน และผู้แต่งเพลงประกอบกับผู้จัดจำหน่ายในตค้นทาง

เจ้าของลิขสิทธิ์ (ซึ่งมักจะอยู่ในกลุ่มคณะกรรมการจัดทำอนิเมะด้วย) ที่ต้องขายสิทธิ์ให้กับบริษัทต่างชาติ นั้นมีภาระผูกพันผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ที่จะต้องได้รับรายได้จากการขายสิทธิ์เหล่านี้ แน่ล่ะว่าบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์อาจจะมีการเสนอ ‘ราคาพิเศษสุด’ ให้กับ ‘บริษัทพี่บริษัทน้อง’ แต่พวกเขาไม่สามารถแจกสิทธิ์ให้แบบฟรีๆ เพราะ ลิขสิทธิ์ต่างๆ นั้นมีคุณค่าและราคาของมันอยู่

ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีกรณีอื่นอยู่เลย อย่างเช่นกรณีของ Aniplex USA หรือ PONYCAN ที่จัดจำหน่ายแผ่นอนิเมะในอเมริกานั้น เป้นแผนการที่่ถูกวางไว้ล่วงหน้าแล้วจากบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมจัดทำอนิเมะของอนิเมะที่จัดจำหน่ายโดนบริษัทเหล่านี้จึงไม่คาดหวังค่าลิขสิทธิ์ก้อนโตนัก แต่มาหวังการทำยอดจากการขายแผ่นที่ Aniplex กับ Pony Canyon จะจัดแพ็คเกจมาให้แทนมากกว่า แต่กรณีนี้ถือว่าเป็นกรณีหายาก รวมไปถึงว่าบริษัทที่มาร่วมนั่งในคณะกรรมการจัดทำอนิเมะย่อมไม่ค่อยพอใจเท่าใดนัก เพราะบริษัทใดๆ ยอมถูกใจกับการที่มีเงินรายได้มากองตรงหน้ามากกว่า (เพราะในกรณีนี้ต้องลุ้นว่าจะได้รายได้น้อยหรือเยอะจากการขายแทนที่จะได้เงินแบบแน่นอนจากการรับค่าสิทธิ์)

ด้วยความที่ว่าคนทำงาน รวมถึงบริษัทที่มาร่วมธุรกิจนี้ย่อมอยากได้รับรายได้จากงานที่พวกเขามาร่วมกัน และบางบริษัทก็มีพลังอำนาจมากพอที่จะเปลี่ยนเงื่อนไขข้อตกลงไปอีกแบบหนึ่งหากพวเขาไม่ชอบดีลที่ขึ้น เพราะแบบนี้้ถ้าสำนักพิมพ์ต้นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดนึกครึ้มอยากลองเปลี่ยนอารมณ์มาทำแบบ “เออ ช่างหัวเรื่องเงินเหอะ ก็ฉันจะเอาสิทธิ์ไปยกให้บริษัทสาขาอเมริกาแบบฟรีๆ อ่ะ” กลุ่มคนทำงานคนอื่นๆ ย่อมจะไม่แฮปปี้เป็นแน่แท้ แล้วในความเป็นจริง ถ้าเกิดมีการยอมปล่อยลิขสิทธิ์ไปฟรีๆ แบบนี้ก็มักจะเป็นการละเมิดสัญญาพื้นฐานที่ถูกจัดทำขึ้นเมื่อครั้งที่พวกเขาตกลงจะมาร่วมทำงานกันด้วย

 

ด้วยเหตุต่างๆ เหล่านี่้ทำให้บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์นอกประเทศญี่ปุ่น ที่แม้ว่าจะเป็นของญี่ปุ่นมาเปิดเองก็ยังจำเป็นจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับทางบริษัทแม่ในญี่ปุ่น กระนั้นก็ไม่ใช่ว่าบริษัทแนวดังกล่าวจะไม่มีข้อดีเอาเสียเลย เพราะบริษัทที่ทางเจ้าของลิขสิทธิ์มาเปิดเองนั้น สามารถติดต่อเพื่อขอใช้เนื้อหาแบบพิเศษซึ่งปกติแล้วจะมีแค่เฉพาะต้นสังกัดที่อนุญาตให้ได้ หรือในการติดต่อเพื่อนำนักวาดนักเขียนในสังกัดมาโชว์ตัวก็จะทำได้ง่ายขึ้น เป็นอาทิ

เรียบเรียงจาก – Answerman : Why Do Japanese-Owned Publishers Still Have To Pay For Licenses?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*