อนิเมเตอร์รุ่นใหญ่เสวนาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคที่สร้างอนิเมะด้วยระบบดิจิตัล

Share

ในงาน Tokyo Anime Award Festival ได้มีการเปิดเสวนาเกี่ยวกับผลกระทบของการทำงานในยุคดิจิตัลที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่น ในงานดังกล่าวมีอนิเมเตอร์รุ่นใหญ่อย่าง Inoue Toshiyuki (คีย์อนิเมชั่นในเรื่อง ซาโยะอาสะ, Ghost In The Shell), Oshiyama Kiyotaka (ผู้กำกับ Flip Flappers, ผู้กำกับอนิเมชั่นฝั่งปิศาจของ DEVILMAN crybaby) และ Ryo-timo (ผู้กำกับของ Yozakura Quartet ~Hana no Uta~, หัวหน้าผู้กำกับอนิเมชั่น Birdy the Mighty: Decode)

Inoue Toshiyuki ทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะมากว่า 35 ปี และทำหน้าที่เป็นอาจารย์ให้กับอนิเมเตอร์รุ่นใหม่, Oshiyaam Kiyotaka ปกติทำงานดิจิตัลอนิเมชั่นและมักจะทำงานทั้งหมดด้วยตัวคนเดียว ส่วน Ryo-timo เป็นหนึ่งในดิจิตังอนิเมเตอร์รุ่นแรกในญี่ปุ่น และงานของเขาอย่าง Birdy the Mighty: Decode ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้งานสไตล์ Webgen โดดเด่นขึ้น (Webgen มาจาก web系 – จริงๆ แล้วเป็นคำที่เหมารวมถึงภาพเคลื่อนไหวละเอียดๆ ในอนิเมะบางเรื่องจนมีคนมาตัดเป็นภาพ GIF เลยเป็นคำเรียกอนิเมเตอร์กลุ่มนั้นว่าเป็น ‘คนที่ดังในเว็บ’)

งาน ‘ดิจิตัลอนิเมชั่น’ มักจะเหมารวมตัวงานที่ถูกเขียนบทแทบแล็ต และมีคอมพิวเตอร์ในการช่วยสร้างงานอนิเมชั่น ซึ่งอนิเมเตอร์ที่เป็นวิทยากรทั้งสามคนได้อธิบายว่า อุตสาหกรรมอนิเมะในญี่ปุ่นตอนนี้ ได้เปลี่ยนการจัดองค์ประกอบศิลป์กับการลงสีมาเป็นงานแบบดิจิตัลอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ส่วนงานฝั่งสตอรี่บอร์ดกับคีย์อนิเมชั่น แม้ว่าจะยังไม่เป็นมาตรฐานทั้งวงการ แต่การเขียนงานเหล่านั้นบนแท็บเล็ตก็เป็นเรื่องปกติมากขึ้น ด้วยขั้นตอนการทำงานแบบนี้ในปัจจุบันทำให้คนทำงานอนิเมะสามารถทำงานให้เเสร็จได้เร็วมากขึ้น

คุณ Inoue ได้พูดแง่ดีเกี่ยวกับการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ แต่ก็ยังมีความเป็นห่วงว่าเหล่าดิจิตัลอนิเมเตอร์อาจจะถูกเอาเปรียบจากการอ้างอิงค่าจ้างกับตำแหน่งการทำงานที่อ้างอิงจากเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อนหน้า ที่จะนับการจ่ายค่าจ้างอ้างอิงจากการเขียนแต่ละคัท หรือ ภาพแต่ละภาพ แต่เมื่อการทำงานแบบดิจิตัลเข้ามาก็ทำให้งานที่เดิมที่จะต้องใช้ทีมงานทั้งทีมในการจัดการสามารถจบงานได้ด้วยบุคลากรจำนวนน้อยลง แต่ยังได้รับค่าจ้างน้อยเท่าก่อนหน้า ‘ผมอยากให้อุตสาหกรรมอนิเมะรีบจดจำว่างานองค์ประกอบศิลป์ที่ดิจิตัลอนิเเตอร์เป็นผู้จัดทำนั้ก็ควรจะได้รับค่าจ้างเพิ่มเติมเช่นกัน’ ก่อนที่เขาจะพูดว่า ‘ทิศทางที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นตอนนี้ ก็ดูเหมือนว่าอนิเมเตอร์จะไม่ได้รับเงินเพิ่มขึ้นจากงานของพวกเขาเลย’

Ryo-timo เสนอว่างานดิจิตัลอนิเมชั่นไม่ควรคิดค่าจ้างเป็นภาพหรือคัท แต่ควรให้ค่าจ้างรายชั่วโมงเสียมากกว่า และทั้งสามคนก็เห็นด้วยว่าอุตสาหกรรมอนิเมชั่นในญี่ปุ่นควรที่จะปรับค่าจ้างให้อนิเมเตอร์มากขึ้นกว่าที่เป็นในตอนนี้

ในอีกแง่มุมหนึ่ง คุณ Oshimiya ก็ได้ระบุว่า อุปกรณ์ดิจิตัลในยุคนี้สามารถทำให้ทีมสร้างอนิเมะขนาดเล็กสามารถสร้างผลงานคุณภาพสูงได้ งานดิจิตัลแบบนี้สามารถบรรเทาปัญหาคุณภาพงานที่ไม่สม่ำเสมอจากการกระจายงานให้อนิเมเตอร์จำนวนมากช่วยกันทำงานให้เสร็จเร็วทันเวลา และจะทำให้ทีมงานสามารถเลือกสมาชิกจำนวนน้อยที่มีทักษะสูงมาทำงาน เพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพผลงานและลดค่าใช้จ่ายได้พร้อมๆ กัน ‘อย่างไรก็ตาม คุณก็ไม่ควรเข้าใจไปผิดๆ ว่า การที่ใช้ทีมเล็กๆ คนจำนวนไม่มากในการทำงาน และจะทำให้คุณจ่ายค่าจ้างต่อคนน้อยลงได้’ คุณ Oshiyama พูดย้ำ

งานสัมมนานี้จบลงด้วยการถกกันเกี่ยวกับปัญหาปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอนิเมะนี้ มีผู้ผลิตอนิเมะหลายเจ้าในตลาดมากเกินไป และมีอนิเมเตอร์ฝีมือดีไม่มากพอที่ทำงานอยู่ในนั้น การออกแบบตัวละครในสมัยนี้ก็มีความซับซ้อนมากเกินไปสำหรับยุคนี้ และนั่นก็ส่งผลให้ผู้สร้างอนิเมะไม่มสามารถวาดอนิเมชั่นเฟรมที่เร็วมากพอหากเทียบกับงานในอดีต และค่าจ้างของอนิเมเตอร์ที่เป็นจำนวนน้อยลงก็มีต้นเหตุมาจากยุคก่อนหน้าที่มีการเร่งสร้างานอนิเมชั่นให้เสร็จเร็ว

‘ตอนนี้ขั้นตอนการสร้างอนิเมะได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ตอนนี้จึงเป็นเวลาที่ดีที่จะประเมินค่าจ้างของบุคลากรในอุตสาหกรรมใหม่อีกครั้ง’ วิทยากรทั้งสามเห็นพ้องกับความเห็นนี้

Source: Akiba Souken

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*