Teikoku Databank ระบุ ในปี 2019 อุตสาหกรรมอนิเมะเติบโตช้าลงต่ำสุดในรอบ 11 ปี

Share

บริษัทวิจัยการตลาด Teikoku Databank ได้ออกรายงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอนิเมะประจำปี 2019 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม ปี 2020 รายดังกล่วระบุว่ารายได้ของอุตสาหกรรมอนิเมะ (อ้างอิงจากรายได้ของบริษัท 273 แห่ง) ในช่วงปี 2019 มีมูลค่าที่ 242,749 ล้านเยน ในขณะที่ตัวอุตสาหกรรมอนิเมะยังมียอดรายได้เติบโตต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2011 อย่างไรก็ตาม ปี 2019 มียอดรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.5% ซึ่งถือว่าเป็นยอดรายได้ที่เติบโตต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี

รายงานดังกล่าวยังระบุว่า แม้ว่าในปี 2019 จะมีการผลิตอนิเมะมากกว่า 300 เรื่องในปีเดียวติดต่อกันเป็นปีที่ 5 แต่ก็เป็นมียอดการผลิตอนิเมะลดลงต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 2 หลังจากที่เคยทำยอดสูงสุด 356 เรื่อง ในปี 2017 ก่อนจะ ลดเหลือ 340 เรื่องในปี 2018 และเหลือ 332 เรื่องในปี 2019 และเคยมียอดผลิตอนิเมะได้ 322 เรื่องในปี 2015

รายได้เฉลี่ยของบริษัทอนิเมะอยู่ที่ 889 ล้านเยน ในปี 2019 ซึ่งรายได้เฉลี่ยนี้เคยพุ่งขึ้นสูงสุด 1,000 ล้านเยน ในปี 2007 ก่อนจะถึงยุค ‘ฟองสบู่อนิเมะ’ เล็กน้อย

การจ้างงานเอาท์ซอร์สและสัญญาจ้าง มีมูลค่า 174,200,000 เยน จากยอดรายได้ทั้งหมดของอุตสาหกรรมอนิเมะในปี 2019 ถือว่าสูงขึ้นจากปีก่อนราว 3.7% รายได้เฉลี่ยของสตูดิโอที่รับงานสัญญาจ้างอยู่ที่ 337 ล้านเยน สูงขึ้นจากปี 2018 ราว 5.8% และยอดดังกล่าวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่สาม

รายงานดังกล่าวระบุว่าเทรนด์การทำรายได้เป็น การร่วมทุนระหว่างบริษัท, การทำโปรโมชั่นร่วมกับแบรนด์, การเข้าซื้อกิจการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอนิเมะ โดยเฉพาะกิจการนอกประเทศญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากนั้นรายงานดังกล่าวยังระบุถึง การลงทุนในการผลิตอนิเมะของทาง Netflix, รวมไปถึงการผลิตอนิเมะของบริษัทลูกของทางบริษัท Tencent ที่มาจากประเทศจีน อย่าง Haoliners Animation League และ Colored Pencil Animation

ในปี 2019 มีบริษัทผลิตอนิเมะเพียง 2 บริษัทที่ประกาศล้มละลาย และปิดกิจการ 1 บริษัท ซึ่งถือว่าลดลงหากเทียบกับปี 2018 ที่มีบริษัทยุติการทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะไป 12 บริษัท รายงานระบุว่าการที่ยอดการปิดกิจการลดลงมากขนาดนี้ เพราะการขาดบุคลากร, ค่าจ้าง และงานสัญญาจ้างมีรายได้ไม่เพิ่งขึ้นในปี 2019 แต่ก็มีการระบุว่า การไม่จ่าย หรือ เลื่อนจ่ายค่าจ้างให้กับอนิเมเตอร์เป็นสาเหตุหลักที่นำพาไปสู่การล้มละลาย

ตัวรายงานคาดการณ์ปัญหาอนาคตของอุตสาหกรรมอนิเมะไว้ ทั้งการขาดแคลนตัวบุคลากรและขาดแคลนการฝึกฝนที่อาจจะไล่ตามความต้องการทางตลาดที่เพิ่งขึ้นไม่ทัน แม้ว่าจะมีการลงทุนเข้ามาจากต่างชาติแล้วก็ตามที ถ้าอยู่อยู่ในภาวะนี้ต่อไปการผลิตจะอยู่ในภาวะบีบคั้นอย่างหนัก และส่งผลกระทบให้ความคิดสร้างสรรค์ลดลง ซึ่งอาจจะนำพาไปสู่รายได้ที่ลดลงในระยะยาว แต่ก็เชื่อว่าในปี 2020 หรืออนาคตในภายภาคนี้มีแนวโน้มที่จะทำการปรับสภาพการทำงานของอนิเมเตอร์ให้ดีมากขึ้นกว่า เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นได้จากการที่มีการรับรู้เกี่ยวกับสภาพการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทผลิตอนิเมะขนาดกลางในญี่ปุ่นเพื่อลดการทำงานหนักนจเกินไปลง แต่ก็ต้องมีการรักษาสมดุลของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้

สรุปโดยสั้นแล้วการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เร่งให้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานจนสามารถอนุญาตให้บุคลากรในอุตสาหกรรมอนิเมะสามารถทำงานบางส่วนจากสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงานได้ เริ่มมีการเขียนฉากคีย์อนิเมชั่นหรือการอัดเสียงที่บ้านของ แต่ประสิทธิภาพในการผลิตงานก็ลดลงในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ จึงทำให้เกิดการผลิตอนิเมะล่าช้าไปบางส่วนอย่างเลี่ยงไม่ได้และทำให้ต้องมีการใช้เงินเพิ่มขึ้นในบางส่วนที่คาดไม่ถึง ตัวรายงานคาดการณ์เชื่อว่าประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจะกลายเป็นปัจจุยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทผลิตอนิเมะในปี 2020

Sources: Teikoku DatabankPR Times via Yaraon!

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*