บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Nikkei คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมจะลำบากมากขึ้นเมื่อประเทศจีนเริ่มพัฒนาการสร้างอนิเมชั่นในประเทศมากขึ้น

Share


หนังสือพิมพ์ธุรกิจ Nikkei ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการบนเว็บไซต์ของพวกเขาเมื่อวันอังคารที่ 24 มีนาคม ปี 2020 เกี่ยวกับผลกระทบที่ประเทศจีนพัฒนาอุตสาหกรรมอนิเมชั่นในประเทศมากขึ้น แม้ว่าประเทศจีนจะเป็นผู้ทุ่มเงินซื้อผลงานของสตูดิโออนิเมะญี่ปุ่นมากที่สุดในปี 2016 แต่ทาง Nikkei ได้โต้แย้งว่า ประเทศจีนได้ค่อยๆ ถอยห่างจากอุตสาหกรรมอนิเมะของญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2018 ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐบาลจีนเริ่มเข้มงวดการรับชมอนิเมะออนไลน์ รวมไปถึงกับปัจจัยอื่นๆ (เมื่อปี 2018 ประเทศจีนทำสัญญากับอุตสาหกรรมอนิเมะ 121 สัญญา ถือว่าเป็นอันดับที 6 รองจาก อเมริกา, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฝรั่งเศส, และแคนาดา) สภาพการณ์นี้จะยิ่งทำให้ปัญหาภายในอุตสาหกรรมอนิเมะทวีความรุนแรงขึ้น และตอกย้ำความแตกต่างทางความมั่งคั่งของอนิเมเตอร์ภายในประเทศญี่ปุ่น กับ ประเทศจีน

ในขณะที่อุตสาหกรรมอนิเมะภายในญี่ปุ่นแทบจะไม่มียอดการเติบโตในประเทศเลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่บริษัทของจีนนั้นได้ทุ่มทุนเพิ่มทรัพยากรให้กับอนิเมชั่นที่สร้างในบ้านเกิดของตนเอง ในอดีตจะเป็นบริษัททางญี่ปุ่นที่ทำการจ้างบริษัทอนิเมชั่นในประเทศจีนให้มาช่วยสร้างผลงาน แต่ในบทบรรณาธิการนี้ได้ระบุว่าตอนนี้บริษัทประเทศจีนมาจ้างบริษัทจากญี่ปุ่นไปทำงานให้กับทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีนแทน อย่างเช่นในปี 2018 บริษัทไอทียักษ์ใหญ่แบบ Tencent ได้ลงทุนเปิดบริษัท Colored Pencil Animation Japan ที่ทำหน้าที่สร้างงานอนิเมชั่นให้กับทาง Tencent โดยตรง อย่างเช่นอนิเมะเรื่อง เทพยุทธ์เซียนกลอรี่ เป็นต้น

ทาง Nikkei ระบุว่าเพราะรายได้จากการทำงานให้บริษัทจากประเทศจีนนั้นสูงกว่าทำให้อนิเมเตอร์พึงพอใจที่จะทำงานให้กับบริษัทอนิเมชั่นจากแดนมังกร แตกต่างจากทางบริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่นิยมจากงานในลักษณะฟรีแลนซ์เสียมากกว่า ตัวอย่างเช่น Colored Pencil Animation Japan ทำการรับอนิเมเตอร์มาเป็นลูกจ้างประจำ และถ้าลงรายละเอียดแม้แต่อนิเมเตอร์มือใหม่ก็จะได้รับค่าจ้างราว 175,000 เยน ต่อเดือน ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานในอุตสาหกรรมอนิเมะ ขณะเดียวกันจากข้อมูลของ JAniCA สมาคมผู้สร้างอนิเมชั่นญี่ปุ่น ได้ระบุว่ามีอนิเมเตอร์เพียงแค่ 14% เท่านั้นที่ถูกจ้างในฐานะลูกจ้างประจำ

การส่งเสริมอุตสาหกรรมอนิเมชั่นภายในประเทศของจีน ผสมร่วมกับช่วงเวลาอันบากลำบากของสตูดิโออนิเมชั่นในญี่ปุ่น ที่ตอนนี้ถ้าหากอ้างอิงตัวเลขจากทาง Teikoku Databank ระบุไว้ว่าสตูดิโออนิเมชั่นส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นราว 30% ติดบัญชีตัวแดงในงบการเงินปี 2018 และยอดล้มละลายกับปิดตัวสตูดิโออนิเมชั่นก็อยู่ที่ยอดสูงสุดในรอบ 10 ปี ฝ่ายบริหารของสตูดิโอแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นระบุว่า ‘ในขณะที่สัญญาการจ้างมีแต่จะราคาถูกลงเรื่อยๆ แต่พวกเราก็ยังมีทีมงานไม่พอและไม่สามารถขยายแผนการดำเนินการได้ มันเป็นวงจรอุบาทว์ ถ้ามีใครสักคนลาออกไป บางทีบริษัทก็ไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามสัญญาได้แล้วกลายเป็นผลทำให้งบบริษัทติดตัวแดงในที่สุด’

จากสภาพการณ์เช่นนี้ทำให้เป็นการยากทีจะฝึกฝนอนิเมเตอร์รุ่นใหม่, และส่งผลให้งานอนิเมะมีคุณภาพที่ลดลง อ้างอิงจากคำพูดของคุณ Eguchi Bunjiro CEO ของทาง Colored Pencil Animation Japan ที่กล่าวว่ามีกรรณีที่บริษัทจะต้องจ้างงานเอาท์ซอร์สจากสตูดิโออนิเมชั่นเจ้าอื่นในประเทศญี่ปุ่น แต่กลับถูกบริษัทแม่ในประเทศจีนทำการปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวว่าจะไม่รับงานคุณภาพต่ำที่ผลิตมาจากญี่ปุ่น ‘บริการที่ไม่ดีจากฝั่งญี่ปุ่นอาจจะเป็นชนวนให้เกิดความอ่อนล้าในอุตสาหกรรม’ ก่อนที่เขาจะเตือนต่อว่า ‘ประเทศจีนทุ่มงบมหาศาลสำหรับการพัฒนาทรัพยากรด้านดิจิตัลอนิเมชั่น, และคุณภาพงานของจีนก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ญี่ปุ่นอาจจะเคยจ้างให้ประเทศจีนช่วยทำงานเอาท์ซอร์ส แต่ตอนนี้สถานการณ์กลับด้านกันแล้ว’

ตามรายงานของ สมาคมอนิเมชั่นประเทศญี่ปุ่น (Association of Japanese Animations – AJA) ได้ระบุว่า ยตลาดอนิเมะนั้นมีมูลค่า 2,181,400,000,000 เยน ในช่วงปี 2018 และมียอดเงินราว 267,100,000,000 เยน หรือราว 12% ของมูลค่าอุตสาหกรรมทั้งหมด อยู่กับสตูอนิเมชั่นของประเทศญี่ปุ่น ทาง Nikkei ได้สังเกตการณ์เรื่องนี้และคาดว่ารายได้กว่าครึ่งของอุตสาหกรรมอนิเมะมาจากต่างประเทศ, และเงินก้อนใหญ่ที่สุดอยู่ในมือคณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะ มากกว่าที่จะอยู่กับสตูดิโออนิเมะ ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะจึงกลายเป็นสาเหตุเบียดเบียนไม่ให้ทางสตูดิโออนิเมชั่นของญี่ปุ่นได้ทำกำไร แม้ว่าพวกเขาจะสามารถผลิตผลงานที่ได้รับความนิยมก็ตาม

คุณ Iijima Daisuke นักวิจัยของทาง Teikoku Databank ได้กล่าวไว้ว่าบริษัทประเทศจีนพยายามยั่วยวนอนิเมเตอร์ญี่ปุ่นให้ไปทำงานในประเทศจีนเพื่อขยายฐานตลาดภายในประเทศจีนเอง ‘พวกเขาสามารถเสนอเงินเดือนอนิเมเตอร์ สูงถึงสามเท่าจากยอดปกติที่พวกเขาได้รับในการทำงานที่ญี่ปุ่น, ดังนั้นก็จะมีอนิเมเตอร์ที่มีทักษะอีกจำนวนมากที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ’ ทาง Nikkei อ้างอิงคำพูดของเว็บไซต์สมัครงานในประเทศจีนว่า เว็บเหล่านั้นขึ้นรายละเอียดว่า เงินเดือนสำหรับอนิเมเตอร์ที่ทำงานในกรุงหางโจว หรือ กรุง ปักกิ่ง อยู่ที่ประมาณ 30,000 – 34,000 หยวน (ราว 137,000 – 150,000 บาท)

บทบรรณาธิการของ Nikkei ลงท้ายด้วยการคาดการณ์ถึงอนาคตที่หม่นหมองของอุตสาหกรรมอนิเมะของญี่ปุ่น และระบบคณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะต่อระบบการเงินของธุรกิจนี้ ‘ระบบคณะกรรมการผลิตอนิเมะนั้นช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนก็จริง แต่เพื่อให้อุตสารกรรมอนิเมะของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ อาจจะต้องมีการสร้างระบบใหม่ที่กระจายผลกำไรไปสู่อุตสากรรมอย่างทั่วถึงขึ้นมาทดแทน’

Source: Nikkei (Rei Nakafuji) via Otakomu

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*