Answerman: นักเขียนการ์ตูนสามารถส่งงานให้สำนักพิมพ์สองสามเจ้าได้หรือไม่?

Share

คำถาม:

นักเขียนการ์ตูนมังงะสามารถทำงานกับสอง-สามสำนักพิมพ์พร้อมกัน (หรือมากกว่านั้น) ได้หรือเปล่า โดยการเขียนมังงะหลายเรื่อง

คำตอบ:

ถ้าไม่ติดสัญญาที่บ่งบอกชัดเจนว่าจะต้องเขียนงานให้เจ้าได้เจ้าหนึ่งอย่างชัดเจนก็บอกได้เลยว่า นักเขียนสามารถทำได้ที่จะเขียนงานให้กับนิตยสารหลายๆ เล่ม แล้วก็มีหลายๆ คนที่ทำอยู่ด้วย แถมจรรญาบรรณในงานการทำงานอย่างขยันขันแข็ง ส่งงานทันเดดไลน์ของนักเขียนมังงะชาวญี่ปุ่น (หรือจะบอกว่าเป็นการทำงานหนักจนแทบตายก็ไม่ผิด) นั้นกลายเป็นเรื่องเล่าระดับตำนานที่ผู้ติดตามประวัติศาสตร์มังงะต่างต้องชื่นชม

ภาพจากหน้าปกหนังสือ The Osamu Tezuka Story

ตัวอย่างที่เราจะยกมาคุยได้ในประเด็นนี้แบบง่ายที่สุดของคือ ปรมาจารย์แห่งมังงะออย่าง เทะสึกะ โอซามุ ที่เคยเขียนงานหลายเรื่องลงในนิตยสารหลายเล่มพร้อมๆ กัน และยังทำการ บริการจัดการสตูอนิเมชั่น และ ยังเขียนภาพอิลลัสท์โฆษณา ควบคู่ไปพร้อมๆ กัน อาจารย์เทะสึกะเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 60 ปี ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย (สำหรับหลายคนอาจจะคิดว่าเยอะแล้วแต่นักเขียนหลายท่านที่อายุมากกว่า 70 ก็ยังทำงานกันได้อยู่ ดังนั้น 60 จึงถือว่าเป็นอายุไม่เยอะเลย) และสาเหตุหนึ่งของการจากไปไวก่อนวัยอันควรก็กล่าวกันว่ามีผลจากการทำงานอย่างหนักนั่นเอง

ตัวอย่างนักเขียนมังงะในยุคปัจจุบันนี้ที่เขียนงานพร้อมกันหลายๆ เรื่อง อาทิ อาจารย์มาชิมะ ฮิโระ ที่เคยเขียน Fairy Tail ลงนิตยสารโชเน็นซันเดย์รายสัปดาห์ ในขณะเดียวกันก็วาดมังงะเรื่อง Monster Hunter Orage ลงในนิตยสารไรวัลรายเดือน แต่นิตยสารทั้งสองเล่มนี้เป็นของสำนักพิมพ์โคดันฉะเหมือนกัน หรือจะเป็น อาจารย์อาราคาวะ ฮิโรมุ นักเขียนหญิงที่เขียนงานควบกันมาตั้งแต่ช่วงที่เธอเขียน Full Metal Alchemist ลงในนิตยสารโชเน็นกันกันรายเดือน ในขณะเดียวกันก็เขียนเรื่อง มังกรฟ้าผ่าปฐพี ควบกันในนิตยสารกันกันพาวเวิร์ด ซึ่งทั้งสองเรื่องตีพิมพ์ลงในนิตยสารของ SquareEnix เหมือนกัน

ตัวอย่างนักเขียนอีกท่านที่ทำงานพร้อมกันหลายสำนักพิมพ์ก็คืออาจารย์ฮิกาชิมูระ อากิโกะ ผู้เขียนเรื่อง Kuragehime (เจ้าหญิงแมงกระพรุน) เธอได้วาดมังงะเรื่องใหม่เรื่อง Tokyo Tarareba Girls ลงในนิตยสาร Kiss ของทางโคดันฉะ ในขณะเดียวกันก็ไปวาดมังงะอัตชีวประวัติของเธอเรื่อง Kakukaku Shikaijika ลงในนิตยสาร Cocohan ของสำนักพิมพ์ชูเอย์ฉะ ในขณะเดียวกันก็ยังวาดมังงะอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Yukibana No Tora ลงในนิตยสารฮิบานะของทางสำนักพิมพ์โชกักคุคังด้วย

อาจารย์อาราคาว่า ฮิโรมุ เองก็ทำงานควบหลายสำนักพิมพ์แบบนี้เช่นกันนะ อย่างในปัจจุบันที่อาจารย์มาเขียนเรื่อง Silver Spoon อาจารย์ก็ยังเจียดเวลาไปเขียนเรื่อง ผู้กล้าแห่งอัสลัน ลงในเบ็ทซัทสึโชเน็นของทางสำนักพิมพ์โคดันฉะ กับข้ามไปเขียนมังงะเชิงอัตชีวประวัติปนตลกอย่าง รากหญ้าบรรดาศักดิ์ ให้กับนิตยสารอุนโปโกะ ก่อนจะย้ายไปเขียนในนิตยสารวิงกส์รายเดือนของสำนักพิมพ์ชินโชคัง (ยังไม่รวมว่าอาจารย์แทบไม่หยุดวาดเลยแม้จะเป็นช่วงใกล้คลอด และในช่วงหลังที่หยุดเขียนเนื่องจากปัญหาส่วนตัวที่คาดกันว่าเป็นปัญหาสุขภาพของคนที่ฟาร์มอาราคาวะบ้านเกิดของเธอ)

การเขียนงานลงในนิตยสารเหล่านี้ย่อมต้องมีผู้ช่วยอยู่แล้ว ถ้าใช้เงินจ้างผู้ช่วยเพิ่มก็พอจะเป็นไปได้ที่จะเข็นงานออกมาพร้อมันหลายๆ งาน แต่เมื่อคิดว่า ทั้งอาจารย์ฮิกาชิมูระและอาจารย์อาราคาว่าสามารถเขียนงานที่มีเนื้อเรื่องอันลุ่มลึก และในช่วงที่เรื่องกำลังดังสุดขีดนั้นอาจารย์ทั้งสองคนก็อยู่ในช่วงเลี้ยงลูกที่ยังเล็กอยู่ด้วย เรื่องนี้ไม่ว่าจะมองยังไงก็ถือว่าเป็นความสุดยอดของพวกท่านจริงๆ

เรียบเรียงมาจาก: Manga Answerman – Can Mangaka Work With Multiple Publishers At Once?

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*