Custom Gundam ถาม :
เมื่อไม่นานมานี้ทาง Anime News Network ได้เคยลงข่าวว่าทาง Crunchyroll จ่ายเงินค่าสิทธิ์ไปมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ให้กับอุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่น และยังได้รับรายได้ก้อนใหญ่จากบริษัทระดับโลกอย่าง Netflix กับ Amazon รวมไปถึงบริษัทอีกหลายแห่งบนโลกที่ปล่อยอนิเมะในพื้นที่แต่ละส่วนของโลก… แต่ว่าทำไมในปี 2018 อนิเมเตอร์ของญี่ปุ่นถึงยังมีรายได้น้อย ระดับที่ว่ามียอดรายได้ทั้งปีไม่ถึง 30,000 ดอลลาร์ ฉันพอเข้าใจได้ว่าอนิเมะต้องใช้เงินจำนวนมากในการผลิตและระบบคณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะก็วุ่นวายจากการที่ทุกภาคส่วนอยากจะได้ส่วนแบ่งจากเงินก้อนใหญ่ แต่กำไรที่มากมายขนาดนี้ทำไมถึงไม่ไหลลงไปเข้ามือสตูดิโออนิเมะเพื่อที่พวกเขาจะได้เอาไปบำรุงความเป็นอยู่ของทีมงานมากขึ้นล่ะ
Answerman ตอบ :
การที่ Crunchyroll เพิ่งประกาศมาไม่นานมานี้ว่าพวกเขาลงทุนค่าสิทธิ์ไปมากกว่า 100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาก็จริง แต่เรายังมีอะไรที่ต้องลงลึกไปอีกสักนิด อย่างแรกก็คือจำนวนเงินที่มากขนาดนั้นเป็นการยืนยันว่าทางเว็บได้ทำการอุทิศตนอย่างมาในการผลิตอนิเมะ และเว็บหรือบริการรับชมวิดีโอออนไลน์อื่นๆ ทั้งในอเมริกาและจีนก็ทำการลงเงินจำนวนมากในธุรกิจอนิเมะ นั่นแปลว่ารายได้จากธุรกิจเหล่านี้ยังดีพอแม้ว่าจะเป็นช่วงตกต่ำของธุรกิจอนิเมะภายในประเทศญี่ปุ่น
เรื่องข้างต้นฟังแล้วดูเป็นข่าวดีสำหรับธุรกิจอนิเมะ แต่ในเชิงรายละเอียดอาจจะน่าตื่นเต้นน้อยลงมาสักกหน่อย เมื่อคุณได้รับรู้ว่ายอดรายได้ที่ว่าไม่ได้ตกลงไปสู่ทุกฝั่งอย่างเสมอภาค และธุรกิจอนิเมะก็ไม่ได้เป็นธุรกิจที่มาจากบริษัทใหญ่เพียงเจ้าเดียว แต่เป็นธุรกิจที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของบริษัทหลายเจ้า และถ้าคุณไปดูซีรีส์อนิเมะยอดนิยมใน Crunchyroll จะเห็นว่ามีอนิเมะไม่กี่เรื่องที่อยุ่ในอันดับเหล่านั้น อาทิ Naruto Shippuden, Boruto, One Piece, Dragon Ball Super, My Hero Academia และมีอนิเมะดังๆ ในแต่ละแทรกอันดับขึ้นมาบ้าง อย่างในช่วงนี้ก็จะเป็นเรื่อง Black Cover กับ Overlord เพราะฉะนั้นยอดรายได้จำนวนมากจึงอยู่กับกลุ่มทีมผู้สร้างอนิเมะฮิตๆ ไม่กี่เรื่องเท่านั้น
การซื้อสิทธิ์อนิเมะมาฉายต่างประเทศนั้นเป็นผลดีต่ออุตสากรรมอนิเมะแบบมวลรวมอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี การสร้างอนิเมะเรื่องใหม่ให้ฮิตแบบแน่นอนยังเป็นเรื่องที่ยากจะทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่ต่างต่างอะไรกัอธุรกิจบันเทิงประเภทอื่นๆ และเมื่ออัตราส่วนของผลงานที่ขายได้กับเจ๊งในฝั่งอนิเมะยังไม่ได้เปลี่ยนไปเลยในช่วงหลายปีนี้ โปรดิวเซอร์อนิเมะมักจะทำกระจายเงินลงทุนไปไปยังอนิเมะหลายต่อหลายเรื่องเพื่อที่จะกระจายความเสี่ยงนั่นเอง
จากการกระทำข้างต้นทำให้เกิดเหตุการณ์ที่่น่าสนใจขึ้นมาอย่างหนึ่งก็คือ : สตูดิโออนิเมะทุกแห่งถูกจองเวลาการทำงานเต็มแล้วหลายปี ถึงจุดที่ว่าสตูดิโอการที่สตูดิโอจะต้องเขียมเงิน ยอมตัดงบตัวเอง เพื่อสร้างอนิเมะเรื่องใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อนนั้น ไม่เกิดขึ้นอีกแล้วในปัจจุบัน รวมไปถึงว่า ณ เวลานี้การสร้างอนิเมะเรื่องใหม่มีค่าใช้จ่ายต่อตอนที่ค่อนข้างตายตัว (ราว 320,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และสตูดิโออนิเมะก็ไม่ยินยอมที่จะลดราคาลงต่ำกว่านี้
ส่วนรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ และรายได้จากช่องทางอื่นๆ ที่อนิเมะสามารถสร้างได้นั้น อาจจะไม่ส่งไปถึงมือของสตูดิโอที่สร้างอนิเมะ แต่มันมีส่วนแบ่งก่อนหนึ่งที่ส่งไปยังทีมงานคนสำคัญในการสร้างอนิเมะแต่ละเรื่อง ดังเช่น เจ้าของผลงานดั้งเดิม, ผู้กำกับ และหัวหน้าทีมเขียนบท ที่มีส่วนแบ่งในค่าสิทธิ์อยู่บ้าง แต่ถ้าอนิเมะเรื่องไหนฮิตขึ้นมาก็ใช่ว่าบริษัทที่ทำรายการเหล่านั้นจะได้เงินเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุที่ว่าพวกเขาถูกจ้างมาด้วยราคาตายตัวอยู่แล้ว แล้วเมื่อ อนิเมะ โดยเฉพาะอนิเมะที่ฉายทางโทรทัศน์นั้นเป็นธุรกิจที่สูญเงินไปมากกว่าทำงานอยู่แล้ว สตูดิโออนิเมะที่ทำงานมาเป็นสิบๆ ปีและมักจะเสียเงินเปล่าๆ ในการผลิตงานจึงแทบจะไม่มีความสามารถที่จะจ่ายค่าจ้างอนิเมเตอร์ให้สูงกว่านี้
ดังนั้นถึงสถานการณ์ในอุตสาหกรรมอนิเมะจะไม่ย่ำแย่เหมือนสมัยก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้หมายถึงว่าสตูดิโออนิเมะจะมีเงินอู้ฟู่เต็มมือ คณะกรรรมการสร้างอนิเมะและสถานทีโทรทัศน์ยังเป็นคนดูที่นั่งกุมชะตาบริษัทเหล่านั้นอยู่ และคนกลุ่มนี้ยังเป็นผู้กุมเงินทุนส่วนมากกับบีบให้ค่าใช้จ่ายใช้ราคาถูกอีกที ว่ากันจริงๆ ก้อนเงินที่ถูกป้อนให้นั้นเป็นเงินทุนที่ทำยอดพอให้สตูดิโอผลิตงานได้โดยสตูดิโอไม่เจ๊งไปเสียก่อน และเพื่อให้คุณภาพงานอนิเมชั่นไม่ดรอปลงไปนัก ส่วนการที่ต้นทุนการผลิตถูกคุมไว้เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและนั่นมันหมายถึงการทำใหสตูดิโอไม่ขาดทุนตายไปด้วยเช่นกัน
แล้วอะไรที่จะผลักดันให้เหล่าอนิเมเตอร์ได้รับเงินมากขึ้นและมีชีวิตที่ดีขึ้น หลายคนอาจจะพูดถึง Netflix แต่มันก็ไม่ง่ายอย่างที่เห็น แม้ว่าเงินมูลค่า 320,000 ดอลลาร์สหรัฐ ที่เป็นเงินค่าลงทุนอนิเมะหนึ่งตอนนั้นเป็นจำนวนที่น้อยนิดอย่างยิ่งสำหรับมาตรฐานอเมริกันชน และทาง Netlix ก็มีเงินมากเพียงพอที่จะเปย์เงินก้อนใหญ่ครอบคลมค่าการผลิตทั้งหมดได้ และนั่นหมายความว่า ถ้า Netflix ลงทุน ก็ไม่จำเป็นต้องมี ‘คณะกรรมการทีมสร้างอนิเมะ’ แต่สุดท้ายแลวเราก็ยังไม่รู้ว่าทาง Netflix (หรือบริษัทอื่นๆ) จะลงทุนไปขนาดไหน แต่อย่างน้อยเราก็รู้ว่าพวกเขาจะลงทุนไปมากอยู่ อย่างที่ Joseph Chou โปรดิวเซอร์ของทาง Toei Animation และเป็นประธานของบริษัท Sola Digital Arts ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง The Hollywood Reporter เมื่อเดือนธันวาคมก่อนว่า “Netflix กำลังฟื้นฟูธุรกิจอนิเมะให้เข้าสู่โครงสร้างธุรกิจปกติ คุณกำลังมองดูธุรกิจที่มี มาร์จิ้น 15% แทนที่จะเป็นการขาดทุน 5%”
ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวของ Netflix เกี่ยวกับธุรกิจอนิเมะมากนัก – ณ วันที่บทความนี้ถูกตีพิมพนั้น Netflix ยังไม่เคยลงทุนร่วมผลิตอนิเมะหรือวางตัวเป็นผู้ผลิตแต่เพียงเจ้าเดียว ดังนั้นเราคงยังบอกไม่ได้ว่าพวกเขาจะสร้างผลกระทบอะไรต่ออุตสาหกรรมอนิเมะ (หรือแม้แต่ว่า พวกเขาอาจจะสนใจที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการสร้างอนิเมะหรือไม่) Kevin Cirgueda เคยโพสท์ลงใน Sakugablog อย่างรุนแรงเอาไว้ว่า “Netflix ไม่ใช่พระผู้ช่วยของอุตสาหกรรมอนิเมะ” ด้วยซ้ำ
ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ Netflix ต่อวงการอนิเมะที่ทาง Answerman ขอนำเสนอ แต่ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรนั้่นเราขอให้ผู้อ่านเชื่อตามแต่ความคิดของท่านเลย
ส่วนเรื่องที่ว่า อนิเมเตอร์ชั้นผู้น้อยจะมีรายได้ที่ดีขึ้นหรือไม่นั้น ในตอนนี้่เราคงบอกไม่ได้เพราะเรามีข้อมูลส่วนดังกล่าวน้อยเกินไป แต่เมื่อธุรกิจอนิเมะมักจะขาดคนทำงานอยู่เสมอ Answerman ก็ได้แค่คาดหวังว่าจะมีคนกล้าขึ้นค่าจ้างเท่าที่สตูดิโอจะมีความสามารถมากพอในอนาคตล่ะ
เรียบเรียงจาก : Answerman – Are Streaming Revenues Improving The Lives Of Animators?
Leave a Reply