ผู้เขียนมังงะ SUPER HXEROS แจงรายละเอียดที่มารายได้ให้โลกรู้

Share

สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยงชีพตัวเองด้วยการวาดภาพ อาจารย์ Kitada Ryoma เจ้าของผลงานเรื่อง Dokyuu Hentai HXEROS ได้แบ่งปันข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่มารายได้ของตัวอาจารย์ในฐานะศิลปิน ไว้บน Twitter และ pixiv FANBOX ของอาจารย์เองเมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม ปี 2020 โดยอินโฟกราฟฟิกดังกล่าว อธิบายว่ารายได้ใดนั้น ‘คุ้มค่ากับเวลา’ และ/หรือ ‘มั่นคง’ สำหรับนักวาดแต่ละคน

อินโฟกราฟฟิกภาพแรก เป็นการลงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มารายได้จากการวาดมังงะ ในรายชื่อดังกล่าวระบุเกี่ยวกับ ค่าจ้างจากการส่งต้นฉบับ, ค่ารอยัลตี้จากการขายรวมเล่ม, เงินรางวัลจากการได้รับรางวัล, และรายได้จากงานอื่นๆ อาจารย์ Kitada ระบุว่า รายได้จาก ค่ารอยัลตี้ที่มีจากการขายฉบับรวมเล่ม นั้นเป็นรายได้ที่คุ้มเวลาและมั่นคงมากที่สุด สำหรับฉบับเล่มพิมพ์นั้น อาจารย์ผู้เขียนมังงะจะได้รับเงินส่วนแบ่ง 10% จากยอดการตีพิมพ์แต่ละครั้ง ส่วนฝั่ง E-Book นั้นจะได้รับเงินส่วนแบ่ง 15% จากการขายในแต่ละเดือน อาจารย์ Kitada ระบุว่า ตอนนี้อาจารย์ได้รับรายได้จาเล่มพิมพ์เป็นจำนวนเงินที่มากกว่า แต่ยอดขายของฝั่ง E-Book มักจะค่อยๆ วิ่งขึ้นไปหลังจากมังงะอวสานลงไปแล้ว ดังนั้นรายได้ดังกล่าวจะออกจะเป็นการหวังผลในภายภาคหน้าเสียมากกว่า

ศิลปินเจ้าของผลงานต่างๆ สามารถหารายได้จากการรับค่ารอยัลตี้ในการขายสินค้าประเภทต่างๆ ได้ แม้ว่ารายได้ส่วนนี้จะมาแบบประปรายและบริษัทแต่ละแห่งก็ให้ % เงินรายได้ค่ารอยัลตี้ไม่เท่ากัน และถ้าผลงานมีอนิเมะด้วย สินค้าที่จะขายได้ก็ต้องอ้างอิงจากฝั่งอนิเมะมากกว่างานภาพฝั่งมังงะ ดังนั้นรายได้จากช่องทางนี้ถือว่าเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอนสำหรับศิลปินเจ้าของผลงาน

รายได้หลักประเภทอื่นๆ สำหรับนักเขียนมังงะ ก็คือเงินค่าต้นฉบับที่ส่งให้กับทางสำนักพิมพ์ ซึ่งตัวอาจารย์ Kitada ระบุว่าตัวของเขาเคยได้ยินว่าค่าต้นฉบับหน้าขาวดำสำหรับนักเขียนใหม่จะตกอยู่ประมาณ 7,000 เยน แต่รายได้ที่อาจารย์ได้รับตอนนี้จะสูงกว่านั้นเล็กน้อย อาจารย์ยังระบุว่าด้วยว่าต้นฉบับหน้าทีนั้น ‘ไม่คุ้มเวลา’ เท่าใดนัก ถึงค่าต้นฉบับหน้าสีจะเพิ่มขึ้นราว 1.5 เท่า จากต้นฉบับหน้าขาวดำ แต่อาจารย์ต้องใช้เวลาเป็นสองเท่าเพื่อวาดหน้าดังกล่าว

อินโฟกราฟฟิกภาพที่สอง เป็นการลงรายละเอียดที่มาจากงานวาดภาพอิลลัสท์ ซึ่งอาจารย์แบ่งงานประเภทดังกล่าวออกเป็นสองแบบ นั่นคือ ออกแบบตัวละคร และ ภาพประกอบแบบใช้ครั้งเดียว การออกแบบตัวละครสำหรับไลท์โนเวลจะเป็นงานที่ยากในตอนเริ่มต้น แต่เมื่อเรื่องราวดำเนินไปไกล ก็จะวาดตัวละครได้ง่ายขึ้น และรายได้จากการวาดแบบนี้นั้นค่อนข้างมั่นคง เพราะรายได้จากงานออกแบบตัวละครไม่ได้จ่ายเงินเป็นค่ารอยัลตี้เหมือนมังงะ แต่ศิลปินจะได้รับรายได้แยกต่างหากมาอีกก้อนหนึ่ง หากไลท์โนเวลถูกสร้างเป็นมังงะหรืออนิเมะ ตัวอาจารย์ Kitada ไม่เคยออกแบบฝั่งวิดีโอเกมมากนัก แต่อาจารย์เคยได้ยินว่า สำหรับเกมที่ได้รับความนิยม ศิลปินที่ออกแบบตัวละครสามารถขอทำสัญญาพิเศาและรับรายได้ในลักษณะแบบที่เกิดขึ้นกับฝั่งไลท์โนเวลเช่นกัน

ส่วนงานประเภท ภาพประกอบแบบใช้ครั้งเดียว มักจะเป็นงานวาดที่ใช้สำหรับ โปสเตอร์, โฆษณา, หรือสำหรับโปรโมชั่นประเภทอื่นๆ อาจารย์ Kitada กล่าวว่าสำหรับอาจารย์แล้ว มันเป็นการง่ายกว่าที่จะวาดตัวละครที่มีคนออกแบบมาแล้วไปทำโปรโมชั่นต่างๆ มากกว่าที่จะออกแบบตัวละครใหม่ ดังนั้นอาจารย์จึงเห็นว่างานประเภทนี้คุ้มเวลามากกว่า

อินโฟกราฟฟิกภาพที่สาม เป็นการลงรายละเอียดที่มจากกงานโดจิน ศิลปินสามารถขายงานของตัวเองอย่างอิสระตามงานโดจินงานต่างๆ อย่าง Comiket (สร้างรายได้ที่มั่นคงสำหรับศิลปินชื่อดัง) หรือการสั่งซื้อตรงทางไปรษณีย์ (ยอดขายไม่สม่ำเสมอ แต่ไว้วางใจได้ในฐานะรายได้ระยะยาว) และศิลปินสามารถเปิดรับเงินบริจากผ่านทางบริการต่างๆ อย่าง pixiv FANBOX, Fantia, และ Patreon หรือจะเปิดรับงานคอมมิชชั่นผ่านบริการอย่าง Skeb ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้แฟนคลับสามารถจ่ายเงินให้กับศิลปินที่ชื่นชอบโดยตรง และบริการต่างๆ เหล่านี้ ยังสามารถทำให้ศิลปินวางเงื่อนไขของตัวเองให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่แฟนๆ ต้องการ

อินโฟกราฟฟิกภาพที่สาม เป็นชาร์ทรูปพายที่สรุปจำนวรายได้จากช่องทางต่างๆ 38% ของรายได้มาจากค่ารอยัลตี้ที่มีจากการขายฉบับรวมเล่มพิมพ์, 25% มาจากค่ารอยัลตี้ที่มีจากการขายฉบับรวมเล่ม E-Book, 20% มาจากค่าส่งต้นฉบับขาวดำ, และ 17% มาจากด้านอื่นๆ มีการระบุไว้ว่าชาร์ตดังกล่าวละเว้นรายได้ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานฝั่งอนิเมะ และตั้งใจจะนำเสนอรายได้จากนักวาดมังงะรายเดือนเป็นหลัง

อาจารย์ Kitada เริ่มเขียนมังงะเรื่อง Dokyuu Hentai HXEROS ในนิตยสาร Jump SQ ของทาง Shueisha มาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2017 และตัวอนิเมะออกฉายตอนแรกไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ปี 2020

Disclosure: The author of this article has donated to Kitada’s pixiv FANBOX account.

Source: Ryōma Kitada’s Twitter account

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*