บรรณาธิการของ Shonen Jump+ ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ AI ที่ช่วยในงานเขียนมังงะ

Share

แม้ว่าผลงานศิลปะจาก AI ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นประเด็นที่ทำให้ศิลปินรู้สึกไม่พึงพอใจ จนทำให้เว็บไซต์หลายแห่งในญี่ปุ่น อย่าง DLsite, Ci-en, pixiv FANBOX, และ Fantia ทำการประกาศแบนผลงานจาก AI แต่อีกมุมหนึ่งก็มีผู้ที่มองการใช้งาน AI เป็นอุปกรณ์เช่นกัน ไม่ใช่อุปกรณ์ที่สร้างผลงานขึ้นมาใหม่หมด แต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปรับแก้ไขงานให้รวดเร็วขึ้น

โดยทาง คุณ Moriyama Yuuta กองบรรณาธิการของฝั่ง Shonen Jump+ และ MANGA Plus ซึ่งเป็นบริการออนไน์ของทาง Shueisha ได้กล่าวบนทวิตเตอร์ขอองเขาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ตัวของเขา กับ คุณ Hosono Shuhei บรรณาธิการบริการของทาง Shonen Jump+ ได้ร่วมกันพัฒนา Comic CoPilot อุปกรณ์ AI ที่ใช้ระบบของ ChatGPT พร้อมกับอินเตอร์เฟสภาษาญี่ปุ่นที่เข้าใจได้โดยง่าย (สำหรับชาวญี่ปุ่น) ตัวอุปกรณ์ดังกล่าว สามารถช่วยในการ คิดชื่อตอน, คิดชื่อตัวละคร, รวมไปถึงการย่อบทพูดให้สั้นลง เพื่อที่จะสามารถใส่ลงในช่องคำพูดโดยง่าย ซึ่งตัวฟีเจอร์อย่างหลังสุดนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือนักวาดมังงะได้ดีมาก เพราะประโยคคำพูดในเรื่อง มักจะถูกแก้ไขกันหลายรอบ กว่าที่จะได้คำพูดที่ต้องการและพอดีกับการจัดลงช่องคำพูดได้

ผู้ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวคือ Kensuu กรรมการผู้จัดการของบริษัทเทคโนโลยี alu ที่ชำนาญงานเกี่ยวกับ AI และ NFT ที่เขาได้กล่าวไว้บนเว็บไซต์ของ Comic CoPilot ว่า เขาได้ยินเกี่ยวกับความกังวลที่ AI จะทำการขโมยงานไป แต่ตัวเขาเชื่อว่า AI จะสามารถช่วยยกระดับขอบเขตใจการสร้างสรรค์ด้วย

แม้ว่าผู้ใช้งาน Comic CoPilot จะได้รับการสนับสนุนในการส่งผลงานที่ให้ทาง AI ช่วยเหลือไปตีพิมพ์ผ่านทางเว็บไซต์ Shonen Jump Rookie กับ Manga-No ได้ แต่ทางเว็บไซต์ของ Comic CoPilot ก็ได้เตือนในหน้า FAQ ของเว็บไซต์ไว้ว่า แม้จะมีการอนุญาตให้ขอคำแนะนำหรือไอเดียจาก AI ได้ แต่ก็มีโอกาสที่จะมีการดึงเอาข้อมูลจากผลงานมังงะที่มีอยู่แล้ว และผู้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องทำการรับผิดชอบในการยืนยันว่าเนื้อหาที่ได้รับการปรึกษามานั้นละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่

Sources: Yūta Momiyama’s Twitter account, Comic CoPilot’s website via Animehunch