ช่อง NHK เปิดรายการถกเรื่องรายได้และปัญหาในการทำงานของอุตสาหกรรมอนิเมะ

Share

ถึงคนส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นจะเห็นว่าการทำงานในธุรกิจอนิเมะนั้นเป็นอาชีพในฝัน แต่มีคนที่โชคดีเท่านั้นที่จะได้ทำงานตามที่เคยมโนเอาไว้ ตลาดวงการอนิเมะมีรายได้มากกว่าสองล้านล้านเยน แต่อาชีพอนิเมเตอร์กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกลับได้รายได้กลับมาแค่น้อยนิด การทำงานในธุรกิจอนิเมะในช่วงหลังถือว่าเป็นที่รู้จักในฐานะ “แรงงานสีดำ” ด้วยเหตุที่ได้ค่าจ้างต่ำต้อยและมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวเหยียด แม้แต่ผู้นำของธุรกิจนี้ยังกลัวว่า “เหมือนกับวงการอนิเมะไม่มีอนาคตแล้ว”

รายการเชิงเจาะลึก Close Up Gendai+ ของสถานีโทรทัศน์ NHK ได้ออกอากาศตอนที่เจาะลึกเรื่องธุรกิจอนิเมะเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ตอนดังกล่าวได้ถกถึงปัญหารายได้ของธุรกิจและเปิดเผยสภาพการทำงานที่เลวร้ายของสายอาชีพอนิเมเตอร์ ในรายการมีผู้กำกับอนิเมะ Irie Yasuhiro (Fullmetal Alcheis : Brotherhood, Code:Breaker) คุณ Atsumi Naoki ตัวแทนจากบริษัท Toray Corporate Business Research และ ผู้ประกษศ Taketa Shinichi กับ Tanaka Izumi มาร่วมรายการ

ในรายการตอนดังกล่าวได้แสดงกราฟที่เพิ่มขึ้นของกำไรมวลรวมของธุรกิจอนิเมะในกราฟสีแดง ส่วนกราฟเล็กๆ สีเหลืองนั้นแสดงถึงรายได้ที่สตูดิโออนิเมได้รับ ด้วยเหตุผลว่าทางคณะกรรมการในการสร้างอนิเมะ (หรือ Comittee) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ของเรื่องและสิทธิ์ในการผลิตสินค้า รวมถึงสิทธิ์ในการฉาย ทำให้รายได้ส่วนมากไปไม่ถึงมือสตูดิโอผู้สร้างผลงาน

อนิเมที่มีเวลาฉายราว 30 นาทีที่ต้องการภาพออกมามากกว่า 3,000 ภาพ แต่อนิเมเตอร์ที่ทำการวาดภาพ In-Between (เคลื่อนไหวระหว่างฉากต่างๆ) ได้รับรายได้แค่ 200 เยน (ราว 60 บาท) ต่อการวาดภาพหนึ่งภาพ และในวันหนึ่งพวกเขาสามารถเข็นภาพออกมาได้คนละ 20 ภาพ ซึ่งนั่นแปลว่าได้เดือนหนึ่งๆ อนิเมเตอร์จะได้รับรายได้อยู่แค่ราว 100,000 เยน (ราว 28,000 บาท) ซึ่งถ้าเทียบกับอาชีพอื่นในปีเดียวกัน การทำงานในร้านสะดวกซื้อหรือร้านอาหารฟาสท์ฟู้ดยังสามารถสร้างรายได้ที่สูงกว่านี้ (ตามสถิติของกรุงโตเกียวแจ้งไว้ว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสายงานบริการอยู่ที่เดือนละ 154,388 เยน)

ทาง Japan Animation Creators Association (JAniCA – สมาคมผู้สร้างอนิเมชั่นแห่งญี่ปุ่น) ได้ออกรายงานเมื่อปี 2015 ว่า อนิเมเตอร์คนหนึ่งนั้นทำงานเฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน และเดือนนึงมีวันหยุดเพียงแค่สี่วัน

มีอนิเตอร์ที่ลาออกจากงานเนื่องจากเกิดความกดดันจากการทำงานล่วงเวลา เขาบอกว่าเขาต้องทำงานล่วงเวลาไปกว่า 100 ชั่วโมงในหนึ่งเดือน ส่วนภาพด้านล่างน้เป็นภาพที่แสดงให้เห็นตารางเวลาว่า อนิเมเตอร์คนหนึ่งเริ่มเข้างาน เวลา 11.30 น. ในวันที่ 22 ก่อนจะเลิกงานในเวลา 05.10 น. ในวันที่ 23 พฤษภาคม

ผู้ร่วมก่อตั้ง, ประธาน และ CEO ของ Production I.G ได้กล่าวว่า ธุรกิจอนิเมะนั้นขาดบุคลากรที่มีความสามารถด้านธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้จากระบบทำอนิเมะ (ด้วยความที่ว่ารายได้ไปตกอยู่กับสินค้าที่ขายแทน)

ตัวรายการยังนำเสนอ Polygon Pictures ในฐานะสตูดิโอที่มีการปฏิบัติงานที่ดีกว่าส่วนใหญ่ เนื่องจากตัวสตูดิโอทำงานเน้นภาพสามมิติเป็นหลัก (ลดเวลาการเขียนภาพที่ต้องผลาญแรงคนทำงาน) และจะทำการปิดไฟในเวลา 22.00 น. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงานของบริษัทกลับไปทำงานที่บ้าน

อนิเมเตอร์มืออาชีพที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปีอย่าง Nishimura Taiki ก็เคยให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า เขามีรายต่อเดือนของเขาได้เพียง 100,00 เยน ต่อการทำอนิเมะหนึ่งเรื่อง ถึงตัวเขาอยากจะตั้งใจทำงานกับอนิเมะทีละเรื่องแต่ด้วยรายได้เท่านี้ทำให้เขาต้องทำงานอนิเมะสองเรื่องควบเพื่อให้มีรายได้ที่มากพอ

รายงานของทาง JAniCA เมื่อปี 2015 ยังระบุด้วยว่าอนิเมเตอร์ 759 คนที่พวกเขาไปสำรวจมานั้น มีรายได้เฉลี่ยต่อคนในปี 2013 อยู่ที่ประมาณ 3,328,300 เยน (ราว 913,000 บาท)

[Via Gwyn Campbell, Nijimen, Yaraon!, 0takomu]