เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567 กลับมาแล้ว ทั้งใน กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, และ สงขลา

Share

เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567

■ กรุงเทพฯ
ศุกร์ 2 – อาทิตย์ 18  กุมภาพันธ์
@เฮ้าส์ สามย่าน
ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์
■ เชียงใหม่
ศุกร์ 9 – อาทิตย์ 11 กุมภาพันธ์
@ สมาคมฝรั่งเศส เชียงใหม่
   ศุกร์ 16 – อาทิตย์18
@ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
■ ขอนแก่น
ศุกร์ 9 กุมภาพันธ์
@ เทศกาลงาน Art Lane, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เสาร์ 24 – อาทิตย์ 25 กุมภาพันธ์
@ ออดิทอเรียม, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
■ สงขลา■
ศุกร์ 23 – อาทิตย์ 25 กุมภาพันธ์
@ลอเร็ม ยิปซัม

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ เฮ้าส์ สามย่าน Dude, Movie และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภูมิใจเสนอ “เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567” ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่นและสงขลา โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สมาคมคนญี่ปุ่นในประเทศไทย และ Untitled for film ในปีนี้เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567 กลับมาอย่างมีสีสันพร้อมด้วยภาพยนตร์ 19 เรื่องหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็น ดราม่า แอคชัน ตลก โรแมนติก ดนตรีและแอนิเมชัน

©Hiromasa Togami / KODANSHA ©2022 “The Lines that Define Me” FILM PARTNERS

สำหรับภาพยนตร์ที่แนะนำเรี่องแรก คือ “The Lines That Define Me” เป็นภาพยนตร์ดรามาที่นำเสนอการวาดภาพน้ำหมึกแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซึมิเอะ (sumi-e) ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ศิลปะทางกายภาพแต่ยังเป็นสายใยชีวิตที่ถักทอโดยจิตวิญญาณและความมุ่งมั่นมานะของเหล่าศิลปินอีกด้วย

เรายังมีภาพยนตร์ที่น่าสนใจและไม่อยากให้พลาดชมอีกหลายเรื่อง อาทิ เช่น

© 2002 Kab Inc.

Ryuichi Sakamoto I OPUS ป็นผลงานการแสดงดนตรีครั้งสุดท้ายของริวอิจิ ซากาโมโตะและการเล่นเปียโนของเขา

ด้วยการถ่ายทำอย่างใกล้ชิดในพื้นที่คุ้นเคย รายล้อมด้วยผู้ร่วมงานที่ไว้ใจที่สุด ซากาโมโตะเปิดเผยจิตวิญญาณผ่านดนตรีด้วยรู้ว่านี่อาจเป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้แสดงผลงานศิลปะของตน ถือเป็นการยกย่องชีวิตของศิลปินคนหนึ่งอย่างเรียบง่ายแท้จริง Ryuichi Sakamoto | Opus ได้เป็นบทเพลงทิ้งทวนสุดท้ายของมาเอสโตรอันเป็นที่รัก 

© EUROPE-KIKAKU / Tollywood 2023

ทั้งๆที่ดูเป็นภาพยนตร์ที่ดูธรรมดาติดดิน River เป็นภาพยนตร์วนลุปเวลาอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจของยามากุจิ จุนตะ หลังจากเรื่อง Beyond the Infinite Two Minutes ที่มีชื่อเสียงของเขา เรื่องราวเกิดขึ้นในที่พักแบบญี่ปุ่นที่ก่อตั้งมาเป็นเวลานานที่มีชื่อว่า “ฟูจิยะ” ในเมืองคิบุเนะ จังหวัดเกียวโตในช่วงฤดูหนาวอันเงียบสงบ มิโกะโตะ (แสดงโดย ริโกะ ฟูจิตานิ) พนักงานสาว ถูกเจ้าของร้านเรียกกลับไปทำงานขณะที่กำลังยืนมองแม่น้ำคิบุเนะ ทว่า 2 นาทีให้หลัง เธอพบว่าตัวเองกลับมาอยู่ริมแม่น้ำอีกครั้ง

©Nao Iwamoto / Shogakukan ©2023 “Gold Kingdom and Water Kingdom” Film Partners

หนึ่งอาณาจักรอุดมไปด้วยทองคำ และอีกหนึ่งสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำ ท่ามกลางความขัดแย้งที่ระอุมายาวนาน ในที่สุดอัลฮามิทและไบคาริก็สามารถบรรลุสนธิสัญญาสงบศึกด้วยข้อตกลงที่ว่า อัลฮามิทจะส่งตัวหญิงงามที่สุดไปสมรสกับชายผู้ปราดเปรื่องที่สุดของไบคาริ แต่ผู้ปกครองของทั้งสองอาณาจักรกลับดื้อรั้นเกินกว่าจะทำตามข้อตกลงได้ ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อสุนัขกับแมวถูกส่งไปแทนที่จะเป็นเจ้าบ่าวและเจ้าสาว แต่โชคชะตากลับเล่นตลกมากกว่านั้น เมื่อองค์หญิงซาร่าห์แห่งอัลฮามิทและนารันบายาร์จากไบคาริบังเอิญมาพบกันในป่า โดยที่ไม่รู้เลยว่าตัวจริงของอีกฝ่ายเป็นใครกันแน่…

นอกเหนือจากภาพยนตร์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีภาพยนตร์คุณภาพอีกหลากหลายเรื่อง เช่น A Man ที่ได้รับรางวัลอย่างล้นหลามจากเวทีออสการ์ของญี่ปุ่นปีที่ผ่านมา Evil Does Not Exist จากเจ้าของรางวัล สิงโตเงิน Silver Lion จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซ ผลงานสั่นสะเทือนหัวใจจาก “ริวสุเกะ ฮามากุจิ” ผู้กำกับ DRIVE MY CAR และ A Mother’s Touch ที่สร้างจากอัตชีวประวัติของศาสตราจารย์ฟุกุชิม่า ซาโตชิที่เป็นศาสตราจารย์ตามองไม่เห็นและหูไม่ได้ยินคนแรกของโลกนั้นจะทำให้หัวใจอบอุ่นด้วยความรักที่ไม่มีเงื่อนไขของแม่และอำนาจของความมุ่งมาดตั้งใจของมนุษย์

และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เวลา 19:30 – 20:30 พบเสวนาพิเศษหลังชมภาพยนตร์ในหัวข้อ“ วรรณกรรม ภาพยนตร์ ตัวตน ผ่านภาพยนตร์เรื่อง ‘A Man’ ” ภาพยนตร์โดย เคย์ อิชิคาวะ ผู้ได้รับรางวัลถึง 8 รางวัลจากเวที Japan Academy Film Prizes ครั้งที่ 46 การเสวนาจะมีขึ้นที่โถงทางเข้าของเฮ้าส์ สามย่าน โดยได้รับเกียรติจาก คุณไกรวุฒิ จุลพงศธร อาจารย์ประจำภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาร่วมเสวนา โดยมี คุณคันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักวิจารณ์ นักเขียนและคอลัมนิสต์ อาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ ba.jpf.go.jp.

ตารางฉายภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567 ที่กรุงเทพฯ

*ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ตารางฉายภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567 ที่เชียงใหม่

*ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกเว้นเรื่อง 5 Centimeters Per Second และ The Place Promised in Our Early Days ที่จะมีคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น

ตารางฉายภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567 ที่ขอนแก่น

*ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกเว้นเรื่อง 5 Centimeters Per Second และ The Place Promised in Our Early Days ที่จะฉายกลางแปลงและมีคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น

ตารางฉายภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2567 ที่สงขลา

*ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกเว้นเรื่อง 5 Centimeters Per Second ที่จะมีคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น

การซื้อตั๋ว/รับตั๋ว

กรุงเทพฯ

ราคาตั๋ว

  • 160 บาท – ผู้ชมทั่วไป
  • 140 บาท – สมาชิกเฮ้าส์
  • 120 บาท – นักเรียน

ช่องทางการซื้อตั๋ว*      

1. ที่จำหน่ายตั๋วที่เฮ้าส์สามย่าน

2. ระบบจำหน่ายตั๋วออนไลน์ ที่ www.housesamyan.com

*เริ่มจำหน่ายตั๋ว 23 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

เชียงใหม่

ราคาตั๋ว                                    ฟรี

ช่องทางการจองตั๋ว*     สำรองที่นั่งได้ที่ https://linktr.ee/dude.movie

*เริ่มจองตั๋ว 27 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ขอนแก่น

ราคาตั๋ว                                    ฟรี

ช่องทางการจองตั๋ว*      สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.eventpop.me/e/16964

*รอบ 24-25 ก.พ. เริ่มจองตั๋ว 27 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

*รอบ 9 ก.พ. ไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า

สงขลา

ราคาตั๋ว                                    ฟรี

ช่องทางการจองตั๋ว*      สำรองที่นั่งได้ที่

https://www.facebook.com/HatyaiWant2see

*เริ่มจองตั๋ว 16 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

สำหรับอัพเดทเพิ่มเติม สามารถติตตามได้ที่ Website / Facebook / Instagram 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 159 สุขุมวิท 21

กรุงเทพฯ 10110โทร +66-2-260-8560~3 อีเมล acdept_jfbkk@jpf.go.jp

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*