Answerman : ทำไมอนิเมะของ เทะสึกะ โอซามุ กับ อิชิโนโมริ โชทาโร่ ถึงไม่ฮิตในโลกตะวันตก ?

Share

Nil ถาม:

เทะสึกะ โอซามุ กับ อิชิโนโมริ โชทาโร่ เป็นสองสุดยอดผู้สร้าง มังงะ/อนิเมะ ในใจผม มุมมองที่ผมชอบที่สุดเกี่ยวกับงานของพวเขาคือความ ‘เรโทร’ ของเรื่อง และ ความ ‘กลม’ ของตัวละคร ผลงานอย่าง ไซบอร์ก 009, คิไคเดอร์ หรือ เจ้าหนูปรมาณู เป็นอะไรที่ถูกใจผมอย่างมาก ‘ลักษณะภายนอก’ ของ อนิเมะ/มังงะ แบบนี้ที่ดึงดูดผมให้มาดูมัน ถ้าที่ญี่ปุ่น เพื่อนญี่ปุ่นของผมหลายก็ชอบความ ‘เก่า’ ของผลงานจากผู้สร้างทั้งสองคนนี้ น่าเสียดายที่เรื่องที่ผกล่าวถึงไม่ค่อยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางนอกประเทศญี่ปุ่นมากนัก แม้แต่ฉบับรีบูทก็ไม่ได้รับความสนใจ คออนิเมะที่ทำตัวเป็นวงในหลายคนมักจะวิจารณ์ว่าเพราะคนต่างชาติ ‘เกลียดสไตล์การเขียนแบบเก่าๆ’ แล้ว Answerman คิดว่าเหตุผลที่ทำให้งานแนว ‘คลาสสิก’ แบบนี้เป็นที่นิยมแค่เฉพาะในญี่ปุ่นแต่โดนมองข้ามในที่อื่นๆ

 

Answerman ตอบ :

ภาพจาก : Huffingtonpost.com

สำหรับเรื่องนี้คนที่ทำตัวเป็นวงในของวงในพูดถูกแล้วนะ แม้ว่างานของเทะสึกะ โอซามุ จะเป็นที่รู้จักอยู่บ้างเพราะงานสายหลักของเขาจะเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกตั้งแต่ในยุค 1960 (จากอนิเมะ เจ้าหนูปรมาณู, ลีโอ สิงห์ขาวเจ้าป่า) กระนั้น ‘รูปลักษณ์’ ของตัวละครเหล่านั้นก็มีลักษณะคล้ายกับผลงานของ วอลท์ ดิสนีย์ กับ แม็กซ์ เฟลชเชอร์ (Max Fleischer) ซึ่งผู้คนจดจำได้ว่าเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก ภาพลักษณ์ของมันดูไม่เท่ รวมถึงไม่ได้พยายามจะทำตัวเท่ด้วย และมีเพียงคนจำนวนไม่มากเท่านั้นที่รู้ความเป็นมาของมันในญี่ปุ่น ดังนั้นถึงคนดูจะชอบดูการ์ตูนแบบที่ว่าแต่ก็ในฐานะการ์ตูนสำหรับเด็กก็เท่านั้น

โปสเตอร์เรื่อง อากิระ ฉบับฉายซ้ำเมื่อปี 2001 / ภาพจาก – Amazon.com

แล้วกว่าที่โลกตะวันตกจะได้รู้จักอนิเมะแนวซีเรียสสำหรับผู้ใหญ่ก็เป็นเวลาอีกระยะใหญ่ ถึงจะมีอนิเมะเรื่องอื่นๆ แบบ กัชช่าแมน, เรือรบยามาโตะ และ โรโบเทค เข้าไปฉายในฝั่งอเมริกาอยู่บ้าง แต่กว่าอนิเมะแนวเครียดๆ จะบูมจริงๆ ในก็ย่างเข้าช่วงต้นยุค 1990 ที่มี อากิระ เป็นตัวชูโรง แล้วไม่นานหลังจากนั้น เซเลอร์มูน, ดราก้อนบอล แล้วก็ โปเกมอน ถึงจะมาตีตลาดเด็กอเมริกาให้ติดอนิเมะงอมแงม ส่วนพ่อแม่กับคอหนังโรงก็จะได้คุ้นเคยกับงานของ สตูดิโอ จิบลิ มากกว่า (ดูไปแล้วก็ไม่ต่างจากบ้านเรามากนัก แต่ไทยเราอาจจะมีโอกาสได้ดูการ์ตูนญี่ปุ่นเยอะกว่าเท่านั้นเอง)

ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้แต่ละคนนึกภาพของ ‘อนิเมะ’ ไม่ได้ตรงกันเท่าไหร่ อย่างคนยุคเก่าหน่อย บางคนยังคิดว่ามันยังเป็นการ์ตูนโป๊ บางคนก็คิดว่ามันต้องออกมาแนว โปเกมอน เท่านั้น บางคนก็จะนึกแต่ภาพของ จิบลิ ไม่ก็การ์ตูนหุ่นยนต์ยักษ์จากยุค 80 แต่ถ้าไปคุยกับคนอายุน้อยลง พวกเขาก็จะเห็นภาพไปอีกแบบหนึ่ง พวกเขาจะนึกถึงภาพโฉบเฉี่ยวกว่า เท่กว่า มีสไตล์กว่า แบบ นารูโตะ หรือ แฟรี่เทล

วัยที่คนรู้จักอนิเมะต่างกันนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะมันจะเป็นเรื่องที่บ่งบอกได้ว่าอนิเมะเรื่องไหนจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ดูอนิเมะแล้วแค่รู้จักตัวละครเฉยๆ เท่านั้น คนดูแอบใส่ตัวเองลงไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องโดยไม่รู้ตัวด้วย คนดูจงเสาะหาอนิเมะที่พวกเขาอยากจะใส่ตัวเองแบบที่ตัวเองอยากเป็น อย่างคนดูอายุน้อยก็จะมุ่งหวังที่จะสำรวจโลกอันกว้างใหญ่, เป็นคนที่เก่งกาจ และได้รับความนับถือ (เพราะมันดูดี) ส่วนคนดูอายุมากก็จะมุ่งหาอะไรที่ชวนย้อนวัยตัวเอง ผลพวงแบบนี้เองทำให้ Sword Art Online หรือ เซเลอร์มูนคริสตัล ได้รับความนิยมอย่างมากในโลกตะวันตก นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้วยังมีเหตุผลรองที่ทำให้คนดูชื่นชอบอนิเมะ ซึ่งนั่นก็คือการทำให้เรื่องในจินตนาการให้จับต้องได้ในโลกแห่งความจริง ส่งผลให้ เรื่องไหนคอสเพลย์ได้ออกมาดูดี (และถ้าทำง่ายก็ยิ่งดี) ได้รับความนิยมจากคนดูมากกว่าเรื่องอื่นๆ

Pluto ผลงานที่ดัดแปลงงานของอาจารย์เทะสึกะให้ร่วมสมัยและได้รับความนิยมจากหลายๆ ชาติ / ภาพจาก – Amazon.com

ย้อนกลับมาที่งานของ เทะสึกะ กับ อิชิโนโมริ ซึ่งตัวอนิเมะนั้นมักจะไม่ได้ถูกดัดแปลงลายเส้นให้ทันยุคเท่าไหร่นัก แถมยังโฟกัสการนำเสนอไปยังฝั่งเนื้อเรื่องเสียมากกว่า ด้วยเหตุนี้ทำให้งานอนิเมะที่ดัดแปลงมาจากการฺตูนของอาจารย์ทั้งสองท่านไม่ฮิตมากเท่าไหร่นอกญี่ปุ่น (อาจจะมียกเว้นบ้างอย่าง Black Jack OVA กับ Metropolis ฉบับหนังโรงปี 2001) ด้วยเหตุผลที่ว่าคนดูนอกประเทศไม่ได้มีความรู้สึกร่วมกับงานเหล่านี้เท่าใดนัก และในญี่ปุ่นเอง ถึงตัวงานเหล่านี้ยังพอเรียกคนดูวัย 40+ ตัวงานเองก็มักจะเสพยากมากจนทำให้ขายคนดูหมู่มากได้ยากขึ้นอยู่ดี แล้วทำไมก็ไม่รู้ว่างานอนิเมะรีเมคหรือรีบูทของอาจารย์เทะสึกะกับอาจารย์อิชิโนโมริส่วนใหญ่เหล่านี้มักจะห่วยอยู่เสมอ (อย่าง 009 Re:Cyborg ก็ดีแต่งานภาพ หรืองานอนิเมะจากการ์ตูนของอาจารย์โอซามุก็หายไปนานแล้ว)

มาสค์ไรเดอร์ ผลงานของอาจารย์อิชิโนโมริ ที่กลับมาบูมอีกครั้งหลังจากปรับตัวให้ทันยุคขึ้น /ภาพจาก – Toei.co.jp

ทั้งนี้ถ้าสังเกตในสื่อแบบอื่นของญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น มาสค์ไรเดอร์ ที่เคยเงียบหายไปช่วงปลายยุคโชวะ เพราะพยายามย้อนสู่แก่นของอาจารย์อิชิโนโมริด้วยการเดินเรื่องแบบไซไฟสุดโต่ง ก่อนที่จะปรับการนำเสนอมาในฌทนซีรี่ส์สิบสวนผสมกับแนวเรื่องอื่นแล้วแต่ปีฉาย หรืออย่างการดัดแปลง เจ้าหนูอะตอม ของ เทะสึกะ โอซามุ ตัวทายาทของอาจารย์เทะสึกะก็ให้ความเห็นกับอาจารย์นาโอกิว่าอยากจะให้ทำการ ‘ล้างภาพ’ เก่าแล้วใส่ภาพตามแนวคิดสอดคล้องกับยุคสมัยลงไปแทนเลย ซึ่งตัวอย่างงานทั้งสองอันนี้ก็ถูกนำไปขายในต่างประเทศและได้รับความนิยมอยู่พอสมควรทีเดียว

เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าไม่ใช่ว่างานคลาสสิกจะไม่น่าคบหาเอาซะเลย งานต้นฉบับเหล่านั้นยังควรให้คนดูคนอ่านหน้าใหม่กลับมาเสพกันอยู่ เพื่อให้เห็นว่าลึกลงไปในแนวคิดของผู้ตั้งรากฐานให้การ์ตูนญี่ปุ่นยุคปัจจุบันนั้นพวกเขาเคยคิดอะไรมาก่อนบ้าง แต่ถ้าไม่ได้มีการดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยนเหล่านี้ก็จะถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาแน่นอน

เรียบเรียงจาก : Answerman – Why Aren’t Tezuka and Ishinomori Anime Popular In The West?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*