Answerman – ทำไมมังงะญี่ปุ่นถึงมีเอฟเฟคท์เสียงเยอะแยะนัก?

Share

คำถาม:

นี่อาจจะเป็นคำถามพื้นๆ นะ แต่ฉันสงสัยมานานแล้วว่า ว่าทำไมถึงมีเอฟเฟคท์เสียงในมังงะหลายแบบในญี่ปุ่นนะ?

คำตอบ:

เสียงเอฟเฟคท์ในหนังสือการ์ตูนเป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไรนัก เพราะไม่ว่าจะการ์ตูนไทย คอมิคฝรั่ง ก็มีเอฟเฟคท์เสียงอยู่ในการ์ตูนมาตลอด แต่ว่าในฝั่งมังงะญี่ปุ่นนั้น มีเสียงประกอบค่อนข้างเยอะ ก็เพราะในระบบภาษาญี่ปุ่นมีคำสัทพจน์ หรือคำที่เลียนเสียงจากธรรมชาติหลาย แบบ ที่ถูกแบ่งออกเป็น กิเซย์โกะ (擬声語) กิองโกะ (擬音語) กิไทโกะ (擬態語) และ กิไจโกะ (擬情語)

กิเซย์โกะ นั่นก็คือ คำที่เลียนเสียงของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ อย่างเสียงของแมวที่ร้อง เหมียว, หมาที่เห่า โฮ่ง ปัง เป็นอาทิ

กิองโกะ คือเสียงที่เลียนแบบเสียงที่สิ่งไม่มีชีวิตในธรรมชาติ อาทิ เสียงลมพัด, เสียงฝนตก

คำว่า Fuwa Fuwa ในเพลงนี้ หมายถึงความฟ่องฟูนุ่มนิ่ม

ส่วน กิไทโกะ คือคำที่เลียนเสียงสภาพภายนอกของวัตถุที่อยู่ในโลก ยกตัวอย่างเช่นคำว่า ฟุวะฟวะ ふわふわ ที่แสดงถึงความ ฟูฟ่องนูนนุ่ม

ตัวอย่างการใช้เสียง Doki Doki จากเรื่อง แกล้งนักรักนะรู้ยัง

กิโจโกะ เสียงที่อธิบายความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร อย่างเช่นคำว่า โดคิโดคิ (ドキドキ, どきどき) ที่อธิบายความรู้สึกใจเต้นตึกตักแบบพบรัก

การใช้คำสัทพจน์มากมายหลายประเภทนี้ก็มาจากการที่ตัวมังงะนั้นไม่ได้สร้าง ‘เสียง’ ให้เกิดในโลกแห่งความเป็นจริง จึงต้องใช้เอฟเฟคท์เหล่านี้สร้างบรรยากาศ แม้ว่าบางเสียงอาจจะไม่มีในโลกจริงๆ ด้วยซ้ำอย่างเช่น เสียงยิ้มที่ใช้เป็นคำว่า นิโกะนิโกะ (にこにこ), นิยะ (ニヤ), นิยะนิยะ (ニヤニヤ) ฯลฯ ซึ่งการบรรจุเสียงเหล่านี้ลงไปในเรื่องก็เพื่อระบุบรรยากาศที่ผู้เขียนมังงะต้องการจะแสดงในเรื่อง

ภาพจาก – https://twitter.com/jojofesofficial/status/896686878308483073

แล้วก็ด้วยความที่มีเสียงให้ใช้ทำเอฟเฟคท์อยู่มากมายก่ายกอง จึงมีนักเขียนมังงะบางท่านที่อาศัยเอฟเฟคท์เหล่านี้สร้างความเป็นเอกลักษณ์ในผลงานของตัวเอง ตัวอย่างที่เด่นชัดก็คงจะไม่ผล อาจารย์อารากิ ฮิโรฮิโกะ ผู้วาด โจโจ้ล่าข้ามศตวรรษ ทีมักจะใส่เสียงเอฟเฟคท์ ドドドド หรือ ゴゴゴゴ ที่จริงๆ แล้วก็ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ แต่ถูกหยิบจับมาใช้งานเพื่อสร้างสถานการณ์กดดันในช่องการ์ตูนแต่ละช่องได้

แต่ก็เป็นตัวอักษรเอฟเฟคท์ก็สร้างปัญหาให้ผู้จัดทำมังงะนอกประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน เพราะมันทำให้คนที่จัดทำต้องหาทางแก้ไขเอฟเฟคท์ แปลให้มีความหมายให้กับเสียงเดิม หรือบางครั้งอาจจะต้องสร้างเอฟเฟคท์ใหม่ทับลงไปเนื่องจากไม่มีทางแก้จริงๆ (ซึ่งปัญหาสุดท้ายลดลงไปมากในยุคที่มีการแก้ไขต้นฉบับจากไฟล์ดิจิตัล) และงานพวกนี้ยังกินเวลามากกว่าที่คิด ด้วยความที่ว่าถ้าจะแก้ไขเสียงเอฟเฟคท์ให้เนียนกลืนไปกับเนื้อเดิมของต้นฉบับญี่ปุ่นก็ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือนในการแก้ไขภาพเหล่านั้น แต่ก็จะมีบางประเทศ บางประเภท (เช่นพวกงาน Simul-Pub) หรือต้นฉบับหน้าที่ยากเกินไปจะใช้วิธีคงเอฟเฟคท์ต้นฉบับไว้แล้วเขียนคำแปลไว้ที่ช่องข้างๆ แทน

สุดท้ายไม่ว่าแต่ละสำนักพิมพ์จะใช้วิธีการไหนในการแก้ไขปัญหาเอเฟเฟคท์เสียงไว้ งานเหล่านี้ก็เป็นงานที่กินเวลา ซึ่งก็กลายเป็นเหตุผลให้เวลาตีพิมพ์แบบเล่มต้องใช้เวลากันสักนิด และคนที่ทำงานส่วนนี้มักจะถูกคนอ่านลืมสักหน่อย ซึ่งเราก็ต้องขอขอบคุณพวกเขามา ณ ที่นี้ด้วย แต่ก็มีบางท่านที่อาจจะแต่งแล้วบังต้นฉบับเดิมมิดจนเรากลุ้มใจเหมือนกันล่ะ

เรียบเรียงจาก Answerman – Why are there so many sound effects in manga?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*