Answerman – ประวัติของชุดนักเรียนญี่ปุ่น และทำไมถึงได้เห็นชุดเหล่านี้ในมังงะกับอนิเมะเยอะนัก

Share

James ถาม:

ผมรู้สึกว่ามีมังงะกับอนิเมะญี่ปุ่นส่วนมากที่มักจะเดินเรื่องในโรงเรียน แล้วมันก็เลี่ยงไม่ได้ที่นักเรียนในโรงเรียนเหล่านั้นจะต้องใส่เครื่องแบบ (มีแค่ Dragon Ball ละมั้งที่เป็นเรื่องเดียวเท่าที่ผมนึกออกว่าพวกเขาไม่ได้ใส่ชุดนักเรียนกัน) ในฐานะคนอเมริกา ผมเห็นว่าการแสดงออกถึงตัวตนส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก (แม้ว่าโรงเรียนในโลกสมมตินั้นจะอ้างอิงมาจากโรงเรียนญี่ปุ่นก็เถอะ) ทำไมเครื่องแบบนักเรียนของญี่ปุ่นถึงเป็นที่แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น แล้วมีโรงเรียนญี่ปุ่นแห่งไหนที่ไม่ต้องใส่เครื่องแบบบ้างหรือเปล่า?

Answerman ตอบ:

โรงเรียนมัธยมปลายเกือบทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่น จะออกกฎให้ใส่เครื่องแบบนักเรียนมาตั้งแต่ปลายยุค 1800 แล้ว ตัวเครื่องแบบนักเรียนและระบบโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นนั้นถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงยุคปฏิวัติเมจิ (ในช่วงปี 1868-1912) ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นพยายามพัฒนาทั้งชาติด้วยการศึกษาและดัดแปลงระบบที่ใช้ได้ผลดในสังคมโลกตะวันตกมาใช้ชาติของตัวเอง ในยุคนี้เป็นช่วงหนึ่งของยุคลัทธิจักรวรรดินิยมแบบนานาชาติ ดังนั้นระบบกองทัพจึงถูกมองในฐานะสิ่งที่ก่อให้เกิดแรงบัดนดาลใจในการออกแบบระบบโรงเรียน จนทำให้มีความเชื่อว่าเด็กนักเรียนที่ดีควรทำตัวตามแบบทหารในกองทัพที่มีลักษณธ: โครงสร้างระบบที่แข็งแกร่ง, มีความเป็นมืออาชีพ และพร้อมที่ออกทำงาน (ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตามที)

และในยุคนั้นเครื่องแบบนักเรียนก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติในชาติฝั่งยุโรปในยุคนั้น แต่ไอเดียการใส่เครื่องแบบนั้นได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างมากเนื่องจากในหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่ ประชาชนยังพยายามถีบตัวเองจากสถานะความเป็นไพร่พล ด้วยเหตุนี้เองเครื่องแบบนักเรียนเลกลายเป้นสัญลักษณ์ของความรับผิดชอบและความทันสมัยของเยาวชนในช่วงยุคเมจิ แล้วก็เพราะเหตุนี้เอง เครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกของญี่ปุ่น จึงเป็นการสะท้อนภาพความฝันและความหวังของผู้ปกครองด้วย

ชุดนักเรียนยุคไทโชของญี่ปุ่นที่อ้างอิงมาจากชุดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และมีการสวมผ้าคลุมเพิ่มเติมจากการใส่ชุดนักเรียน / ภาพจาก – https://commons.wikimedia.org

เดิมทีแล้วชุดนักเรียนญี่ปุ่นถูกออกแบบให้เฉพาะเด็กนักเรียนชายใช้งานเท่านั้น การออกแบบชุดจึงยึดเอาเครื่องแบบทหารญี่ปุ่น ที่ ณ เวลานั้น อ้างอิงการออกแบบมาจากชุดทหารของฝรั่งเศสมาอีกทอดหนึ่ง และเครื่องแบบนักเรียนเหล่านั้นจึงถูกเรียกว่า กักคุรัน ชุดสีกรมท่า ที่ประกอบไปด้วยเสื้้อนอกมีคอเสื้อตั้ง พร้อมแขนยาวปิดมิดชิด ที่จะมาคู่กันกับกางเกงในสีเดียวกัน และจะต้องมีหมวกแก็ปให้สวมใส่ และในโรงเรียนบางแห่งก็จะมีการให้คิดเข็มกลัดเพื่อระบุว่าเรียนอยู่ชั้นปี หรือ มีตำแหน่งใดในโรงเรียน

ชุดเซเลอร์ในยุคแรก / ภาพจาก – https://bijutsutecho.com

ส่วนเด็กผู้หญิงในช่วงเวลานั้นจะใส่ชุดกิโมโนไปโรงเรียน ซึ่งก็ดูน่าแปลกใจอยู่ไม่น้อยที่เด็กผู้หญิงจะต้องใช้ชุดตามธรรมเนียมวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เคลื่อนไหวได้ลำบาก ในเมื่อเด็กนักเรียนชายสวมชุดที่รับอิทธิพลมาจากทหารยุโรปแบบเต็มเปี่ยม จนกระทั่งในช่วงปี 1920 ก็มีการออกแบบเครื่องแบบของนักเรียนหญิงที่อ้างอิงดีไซน์มาจากเครื่องแบบของ ราชนาวีอังกฤษ (British Royal Navy) ให้เป็นมาตรฐานสำหรับนักเรียนหญิง และนั่นคือจุดกำเนิดของชุดนักเรียนที่ถูกเรียกว่า ชุดเซเลอร์ (Sailor Fuku)

ชุดบลูมเมอร์ที่กลายเป็นชุดพละในปัจจุบันของนักเรียนหญิงในญี่ปุ่น / ภาพจาก – Ebay.com

เวลาผ่านไปจนถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จนทำให้อำนาจของกองทัพลดลง เครื่องแบบนักเรียนในยุคนี้จึงลดรายละเอียดที่เคยได้รับอิทธิพลจากทางกองทัพลงเช่นกัน เด็กนักเรียนชายไม่ต้องใส่หมวกแก็ป, โรงเรียนต่างๆ เริ่มพัฒนาเครื่องแบบตามสไตล์ของแต่ละโรงเรียนมากขึ้น ไม่ว่าจะอ้างอิงจากลักษณะการใช้ชีวิตของเด็กนักเรียนในท้องที่ หรืออาจจะพัฒนาเรื่องแบบให้แตกต่างจากโรงเรียนอื่นชัดเจน จึงเริ่มมีการออกแบบเครื่องแบบนักเรียนสำหรับฤดูร้อน ที่เป็นเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้น โดยไม่ต้องใส่เสื้อโค้ตคลุมทับ และมีการพัฒนาเครื่องแบบสำหรับการเรียนพละแบบมาตรฐานะ ที่นักเรียนชายจะทำการใส่กางเกงขาสั้น ส่วนนักเรียนหญิงจะใส่ ‘บลูมเมอร์’ แบบญี่ปุ่น (บลูมเมอร์แบบญี่ปุ่นคือกางเกงขาสั้นมาก จนแนบชิดติดช่วงต้นขา ส่วน บลูมเมอร์แบบตะวันตกจะเป็นกางเกงขาสั้นทรงหลวมๆ พองๆ ใส่สบาย และอาจจะยาวได้จนถึงระดับเลยหัวเข่า)

โปสเตอร์ของ Kill La Kill ที่ทำให้เห็นได้ว่าความนิยมชุดเซเลอร์พัฒนามาไกลขนาดไหน / ภาพจาก – https://www.kill-la-kill.jp

หลังจากจุดนี้ ชุดเซเลอร์ของนักเรียนญี่ปุ่น ก็เริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์ของวัยเยาว์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น วัตถุที่ก่อให้เกิดอารมณ์เพศ (Sexual Fetish) ที่ชาวญี่ปุ่นส่วนหนึ่งชื่นชอบ ตัวภาพและมังงะแนนปลุกใสเสือป่าที่แสดงให้เห็นถึงความคลั่งไคล้ชุดเซเลอร์ในเชิงเพศถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงปี 1950 ก่อนที่เวลาหลายทศวรรษจะวิวัฒน์เรื่องนี้จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่เฉพาะตัวในระดับชาติของญี่ปุ่นเอง อย่างที่เห็นได้ชัดว่า เรามักจะเห็นการ์ตูนแนวลามก หรือ เฮนไต มักจะเขียนเกี่ยวตัวละครที่ใส่ชุดเซเลอร์

ภาพยนตร์ Crows Zero ที่มีตัวละครนักเรียนแยงกี้ ที่จะใส่ชุดกักคุรันแบบไม่ถูกต้องเพื่อแสดงความขบถในตัว / ภาพจาก – http://asianwiki.com/Crows_Zero

แต่ความนิยม เครื่องแบบนักเรียน ไม่ไดจำกัดวงอยู่ในวัฒนธรรมโอทาคุเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อย่างเช่นในวัฒนธรรมกลุ่มแยงกี้ หรือ กลุ่มแก๊งซิ่งในญี่ปุ่น มักจะใส่ชุดกักคุรันแบบที่เล็กเกินตัว หรือ ใหญ่เกินตัว โดยไม่ยอมติดกระดุมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นขบถต่อสังคม, ในกลุ่มวัยรุ่นยังนิยมที่จะขอกระดุมเม็ดที่สองจากเม็ดบนสุดของชุดกักคุรันของนักเรียนชายที่ชื่นชอบ เพราะมีความเชื่อว่ากระดุมเม็ดดังกล่าวอยู่ใกล้กับหัวใจมากที่สุด และถือว่าเป็นการสารภาพรักแบบหนึ่ง

และในยุคปัจจุบันนี้ โรงเรียนประถมโดยส่วนใหญ่ จะไม่มีเครื่องแบบนักเรียนให้ใส่ ยกเว้นก็เพียงโรงเรียนเอกชนบางแห่งเท่านั้น โดยส่วนใหญ่โรงเรียนประถมก็จะให้นักเรียนใส่ชุดไพรเวทได้ตามที่สะดวก และเครื่องแบบนักเรียนชั้นมัธยมก็มีหลายสไตล์มากขึ้น ชุดเบลเซอร์ (Blazer) ถูกเอามาใช้ทดแทนชุดกักคุรันในโรงเรียนหลายแห่ง เสื้อด้านในก็ไม่จำเป็นต้องใส่เป็นเสื้อเชิ้ตเสมอไป เป็นอาทิ

ภาพจาก – https://www.japantimes.co.jp/

ส่วนความเห็นจากผู้ถามที่ว่า ‘การแสดงออกถึงตัวตนส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ’ ในส่วนนี้อยากให้เข้าใจว่าวัฒนธรรมของชาติในเอเซียส่วนใหญ่ยังไม่ได้โฟกัสเรื่องนี้เท่ากับฝั่งโลกตะวันตก แต่ในหลายๆ ประเทศในทวีปเอเซียก็เริ่มน้อมรับแนวคิดเช่นนี้ เนื่องจากเห็นว่าการมีความเป็นเอกเทศของตัวเองจะทำให้นักเรียนรุ่นใหม่สามารถรังสรรค์ไอเดียของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น และมีการปรับทิศทางการแต่งตัวของเด็กนักเรียน อย่างเช่นที่โรงเรียนมัธยมในญี่ปุ่นบางแห่งเริ่มเปิดให้นักเรียนใส่เครื่องแบบได้ตามแต่สะดวกไม่ต้องสอดคล้องกับเพศสภาพของตัวเองแต่อย่างใด

และด้วยความที่วัฒนธรรมของเครื่องแบบนักเรียนฝังตัวอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ทำให้เป็นการยากที่จะสร้างอนิเมะหรือมังงะโดยไม่พูดถึงชุดนักเรียนได้เลย

เรียบเรียงจาก: Answerman – What’s With All The School Uniforms In Anime?

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*