คำถามจาก ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
มันมีความคุ้มค่าขนาดไหนที่บริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในอเมริกัน อย่าง GKids หรือ Funimation ต้องยอมทุ่มเงินเพื่อส่งอนิเมะจากญี่ป่นให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ ? ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงไม่พยายามจัดแคมเปญผลักดันส่งให้หนังตัวเองได้เข้าชิงล่ะ พวกเขาไม่ได้สนใจรางวัลนี้หรือไงล่ะ ?
Answerman ตอบ
ความจริงก็คือ การเอาหนังไปให้ผู้ที่มีสิทธิ์โหวตรางวัลออสการ์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำตลาดภายพนตร์อยู่แล้ว ขั้นตอนที่ว่าก็จะมีการส่งแผ่น DVD ให้กับผู้ชมจำนวนหนึ่ง (ในกรณีนี้หมายถึงให้นักวิจารณ์ หรือ ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนโหวตรางวัลออสการ์), ปล่อยโฆษณาตามสถานที่สาธารณะ, การฉายภาพยนตร์รอบพิเศษในพื้นที่ที่มีผู้สามารถลงคะแนนโหวตให้รางวัลออสกาณ์ได้ (โดยปกติแล้วก็จะเป็นการจัดงานในพื้นที่ เมืองลอสแองเจลิส หรือ นิวยอร์ค) แล้วก็เรื่องอื่ๆน อีกมาก ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวถึงนี้ไม่ใช่เรื่องนี้บริษัทนอกประเทศอเมริกาจะชำนาญการนัก อย่างไรก็ตามบริษัทหนังละครอนิเมะของญี่ปุ่นก็มีความฝันจะไปให้ถึงออสการ์เหมือนกัน พวกเขาเลยกดดันบริษัทผู้จัดจำหน่ายของทางอเมริกาให้ทำการตลาดในเรื่องนี้ให้เขา ทั้งนี้ก็แล้วแต่การเซ็นสัญญา เงินค่าใช้จ่ายสำหรับค่าการตลาดนี้ อาจจะมีการทำเงินหรือเป็นส่วนลดให้กับค่าลิขสิทธิ์ด้วย (ย้ำอีกทีว่า แล้วแต่เจ้าจริงๆ)
กระนั้นการส่งชื่อเข้าชิงออสการ์สำหรับภาพยนตร์ขนาดเล็กจะเป็นเรื่องที่ลำบากมาก (‘อนิเมะ’ ถือว่าเป็นหนังขนาดเล็กในวงการฉายภาพยนตร์ในอเมริกา) การที่หนังเรื่องไหนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงก็จะได้รับการฉายแบบวงกว้างมากขึ้น, ยอดขายแผ่นก็จะพุ่งแบบทวีคูณขึ้น และอาจจะทำให้ภาพยนตร์อนิเมะกลายเป็น “หนังกระแสหลัก” ที่ปกติแล้วยากนักที่หนังสเกลเล็กจะทะลวงเส้นแบ่งแบบนี้มาได้
แน่นอนว่าการชนะรางวัลแบบนี้ก็เหมือนการพลิกกระดานสร้างชื่อแบบชัดเจน อย่าง มิยาซากิ ฮายาโอะ ที่ชนะออสการ์จากภาพยนตร์อนิเมะเรื่อง Spirited Away ซึ่งคนอเมริกา (หรือชาวโลก) หลายคนก็อาจจะเพิ่งได้ยินชื่อของชายผู้นี้ ในวันที่เขาได้รับออสการ์นั่นล่ะ แม้จะผ่านไปหลายปีหลังจากการได้รับรางวัลไปแล้ว ผลงานของ มิยาซากิ ฮายาโอะ ทำยอดขายถล่มอนิเมะเรื่องอื่นเกือบหมด แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ภาพยนตร์อนิเมะของทาง Studio Ghibli ก็ทำยอดขายแซงหน้าอนิเมะเรื่องใหม่ๆ อยู่ประจำ
มาพูดถึงตัวแทนสิทธิ์ในอเมริกาที่ส่งอนิเมะเข้าชิงออสการ์กันบ่อยๆ กันบ้าง เจ้าแรกคือ GKids บริษัทที่บอกได้ว่า ‘อยู่เป็น’ ในการส่งหนังเข้าชิงรางวัลออสการ์ แม้ว่าบริษัทนี้จะนำเข้าแต่อนิเมชั่นจากหลายๆ ประเทศ (ทั้งญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, บราซิล ฯลฯ) จนแทบจะไม่ได้จัดจำหน่ายอนิเมชั่นของอเมริกาเลย แต่ด้วยบุคลากรของบริษัทที่ถือเป็นตัวเก๋าของวงการที่มีความสัมพัน์กับดาราชื่อดัง, PRคนเด่ หรือแม้แต่บุคคลอื่นๆ ที่มีความสำคัญในวงการบันเทิง พวกเขาจึงสามารเข้าหาคนที่ใช่ในการผลักดัน, สร้างกระแสให้คณะกรรมการรางวัลออสการ์สนใจ รวมถึงการเล่นเกมการเมืองในฝั่งฮอลลีวูดได้อย่างดี
ภาพยนตร์ที่พวกเขาจัดจำหน่ายจึงได้เข้าชิงบ่อยครั้ง (อย่างปีนี้ ทาง GKids มีหนังที่ส่งเข้าชิงรายชื่อออสการ์ถึง 6 เรื่อง และหนังได้เข้าถึงรอบสุดท้าย 1 เรื่อง) ซึ่งมันมีเหตุผลหลักๆ อยู่ สองข้อ ก.) หนังมันดีจริงๆ กับ ข.) GKids เก่งพอจะส่งอนิเมชั่นที่ดีให้กับกรรมการที่น่าจะชอบได้ แม้ว่า GKids จะเป็นเพียงบริษัทเล็กๆ ในวงการที่ไม่มีเงินถุงเงินถังในการโปรโมทแบบบริษัทหนังกระแสหลักก็ตาม
อีกเจ้าหนึ่งก็คือ Funimation ที่ค่อนข้างเป็นมือโปรในการทำงานกับอนิเมะจากญี่ปุ่น และถือเป็นผู้จัดจำหน่ายอนิเมะที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา แต่สำหรับสายรางวัลออสการ์นั้นพวกเขาพยายามส่งอนิเมะให้เข้าชิงหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งไม่แน่ชัดว่าทีมงานไม่ชำนาญการ หรือมีการทุ่มงบมาเพื่อแคมเปญเหล่านี้ไม่มากพอ
อย่าง ‘หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ’ ก็ไปไม่ถึงดวงดาวในการเข้าชิงออสการ์ แม้นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งจะชื่นชอบ แต่ตัวภาพยนตร์แทบจะไม่มีคนทั่วไปรู้จักเลยในอเมริกา แถมกว่าภาพยนตร์จะกลับมาฉายในวงกว้างอีกครั้งก็จะเป็นช่วงเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ไม่แน่ใจนักว่าทาง Funimation ได้ส่งแผ่นตัวอย่างให้คณะกรรมการออสการ์ทั้งหลายหรือไม่ แต่ตัวผู้เขียน (หมายถึง Justin Sevakis เจ้าของคอลัมน์ Answerman) รู้สึกหลายๆ คนที่ได้รับแผ่นหนังสำหรับการเข้าชิงรางวัลใหญ่ๆ อยู่หลายคน แต่ไม่มีใครสักคนที่ได้แผ่นหนังของเรื่อง หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ เลย นั่นก็หมายความหมายทาง Funimation ยังไม่ได้ปูพรมแจกจ่ายให้กับคณะกรรมการเหล่านี้ทั้งที่เป็นสิ่งที่ควรจะทำ บางทีทาง Funimation อาจจะกังวลว่าจะใช้งบมากไป หรือกลัวแผ่นหลุดกลายเป็นของโหลดไป กระนั้นมันก็เป็นไปไม่ได้ที่ Funimation จะชนะการแข่งขันใดๆ ได้ถ้าไม่ยอมลงไปเล่นกติกาเดียวกันกับคนอื่น บางทีทาง Funimations คงต้องรอเวลาดีๆ แล้วรอเข็นหนังเข้าชิงออสการ์ในปีหน้าแทน
แน่ล่ะการที่บริษัทเล็กๆ จะเอาชนะรางวัลออสการ์ได้นั้นเป็นงานยากจนเกือบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะบริษัทหนังใหญ่ๆ ใช้เงินเป็นหลักหลายล้านในการผลักดันหนังของค่ายตัวเองให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ทุกๆ ปี ยอมเล่นแม้กระทั่งการปล่อยข่าวเสียหายให้กับภาพยนตร์ที่มีโอกาสได้รางวัล แล้วพวกเขาก็ใช้เซเลปดาราระดับแนวหน้ามาผลักดันแคมเปญเหล่านี้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์จนทำให้หนังรางวัลหลายเรื่องมีพื้นข่าวพาดหัวเป็นเวลาหลายเดือนก่อนจะถึงช่วงเวลาที่ลงคะแนน ซึ่งวิธีการแบบนี้เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับบริษัทจัดจำหน่ายหนังขนาดเล็ก
แล้วสำหรับรางวัลสาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมของออสการ์ อาจจะไม่มีใครสนใจเท่าใดนักหรอก ถึงสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (AMPAS) ผู้จัดงานออสการ์จะเสนอชื่ออนิเมชั่นหลากหลาย และสมาชิกที่ทำงานเกี่ยวกับอนิเมชั่นจะโหวตคะแนนให้ตลอดๆ แต่สมาชิกที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ หาได้แคร์ภาพยนตร์อนิเมชั่นไม่
ทุกๆ ปี ทางเว็บข่าวบันเทิง The Hollywood Reporter จึงลงคอลัมน์ “พูดโคตรตรงเรื่องลงคะแนนออสการ์ (Brutally Honest Oscar Ballot)” คอลัมน์ประจำทุกปีที่จะไปถามคนมีสิทธิ์โหวตให้บอกตรงๆ ว่าเขาโหวตหนังอะไรเพราะเหตุใดโดยไม่ระบุชื่อจริงในคอลัมน์ ซึ่งความเห็นแต่ละอันก็อ่านแล้วชวนขำและหัวร้อนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเวลาพูดถึงอนิเมชั่นต่างๆ ที่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนไม่ค่อยดูการ์ตูน (ไม่ว่าจะของชาติใด) แล้วก็จะเมินสาขานี้ไป เวลาลงคะแนนก็เลือกว่า ลูกหลานชอบอะไรก็เอามันเรื่องนั้นล่ะ เมื่อใช้มุมมองเด็กๆ ที่ยังไม่รู้จักการ์ตูนต่างชาติผลก็คือ พวกเขาถึงแค่อนิเมชั่นที่มีกระหน่ำลงโฆษณากับมีของเล่นออกมาเพียบเมื่อปีที่ผ่านมาแทน
ผู้เขียนคอลัมน์ขอพูดในฐานะแฟนอนิเมะและฐานะนักข่าวมืออาชีพในสายนี้ว่า พวกเราควรที่จะไม่คาดหวังกับการที่อนิเมะจะได้ชิงรางวัลออสการ์น่าจะดีกว่า
เรียงเรียงจาก Answerman : Are Oscar Campaigns For Anime Worth It?