ทำไมชาวญี่ปุ่นถึงไม่พูดกับเพื่อนร่วมงานที่ย้งต้องทำ OT ต่อ ด้วยประโยคในเชิงบอกลา?

Share

ญี่ปุ่นนั้นมีความซับซ้อนเกี่ยวกับวัฒนธรรมของการทำงานโดยเฉพาะการทำงานล่วงเวลา ซึ่งจะแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพของคุณรวมไปถึงรากฐานทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมการทำงานในญี่ปุ่น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นพนักงานออฟฟิศตัดสินใจทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นหลายชั่วโมงจนมีพนักงานออฟฟิศบางส่วนได้รับผลกระทบทั้งในแง่ของสุขภาพและภาวะจิตใจ

แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งทางบริษัทและกลุ่มผู้สนับสนุนแรงงานได้พยายามลดการทำงานล่วงเวลาลงเพื่อลดภาระที่เกิดขึ้นกับเหล่าพนักงาน แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้ Twitter ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า @AdmiralYamabiko รู้สึกว่าการโยนความผิดให้กับเหล่าผู้จัดการหรือรัฐบาลนั้นไม่ช่วยแก้ไขอะไร หากแต่ต้องเริ่มแก้ไขกันที่รากฐานวัฒนธรรมการทำงานในญี่ปุ่นอีกด้วยจึงจะประสบผลสำเร็จ

จากการที่ใช้เวลาอยู่ในออฟฟิศในญี่ปุ่น คุณมักจะได้ยินคำว่า “Osaki ni shitsurei shimasu” ซึ่งเรียกได้ว่าแทบจะเป็นเรื่องปกติที่ได้ยินเมื่อมีพนักงานเดินทางออกจากออฟฟิศเพื่อกลับบ้าน อย่างไรก็ตามแม้ว่ามันดูเหมือน เป็นรูปแบบคำบอกลาประเภทหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วประโยคนี้มีความหมายว่า “ขอเสียมารยาทกลับก่อนนะครับ/คะ”

กลับก่อน กลายเป็นการกระทำที่เสียมารยาทไปซะอย่างนั้น?!

แม้ว่าจะได้ยินประโยค “Osaki ni shitsurei shimasu” บ่อยๆ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติในออฟฟิศ แต่ความหมายที่ว่า “ขอกลับบ้านก่อนนะครับ/คะ” มักจะมาจากผู้ที่กลับบ้านก่อนพนักงานคนอื่นๆ เสมอ ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นการขอโทษที่ไม่ได้อยู่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน และอาจจะก่อให้เกิดภาระงานตกอยู่กับคนที่เหลือนั่นเอง

“มีหลายครั้งที่ได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘ลองจำกัดระยะเวลาการทำงานล่วงเวลาให้น้อยที่สุดดูสิ” @AdmiralYamabiko ได้แสดงความคิดเห็นต่ออีกว่า “มันไม่มีทางที่จะเป็นไปได้หรอกตราบใดที่คนยังพูดติดปากว่า ‘Osaki ni shitsurei shimasu’”

แล้วจะทำอย่างไรดี? @AdmiralYamabiko กล่าวต่ออีกว่า ควรจะกำหนดเวลาที่พนักงานทั้งหลายควรที่จะหยุดทำงานและเดินทางกลับบ้าน หรือทางบริษัทควรจะตั้งเวลาเตือนพนักงานทั้งหมด แล้วมีใครซักคนที่จะยืนขึ้นแล้วเดินไปที่ประตูพร้อมกับพูดเสียงดังๆว่า “Ichiban nori” ซึ่งเป็นวลีที่เหล่าขุนศึกญี่ปุ่นโบราณใช้ประมาณว่า “ข้าจะนำทัพเอง!” ซึ่งน่าจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่จะมองผู้ที่เดินทางกลับบ้านก่อน จากผู้ที่จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนขี้เกียจให้กลายเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำสูง และสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงานที่เหลือรีบทำงานให้เสร็จเพื่อเตรียมตัวที่จะเดินทางกลับบ้านให้เร็วที่สุดแทน

จากไอเดียของ @AdmiralYamabiko ทำให้มีผู้แสดงความคิดเห็น เช่น:

 “ผมชอบนะ, มันทำให้ดูเหมือนการกลับบ้านเป็นเรื่องที่ดี และมันจะดีสุดๆ ถ้าให้ประธานบริษัทเดินออกมาสั่งพนักงานทุกคน ‘ถอยทัพพพพพพพพพพ!!!’”

“แล้วถ้าอยู่ๆ มีคนตะโกนขึ้นมาว่า ‘ทุกคนหยุดก่อน! นี่มันกับดัก!’ ล่ะ?

“มันอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่เท่าไหร่ แต่ก็น่าลองกำหนดให้ลดการพูดคำว่า ‘Osaki ni shitsurei shimasu’ ลงนะ”

“เราน่าจะมองคนที่ทำงานเสร็จได้โดยไม่ต้องทำ OT ว่าเป็นฮีโร่นะ”

น่าเสียดายว่าสุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานในญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อยังคงมองว่าผู้ที่ใช้เวลากับงานมากที่สุดนั้นคู่ควรแก่การได้รับความนับถือในญี่ปุ่น และจนกว่าที่ทุกคนจะพร้อมเดินทางกลับบ้าน การเลิกงานก่อนผู้อื่นกลับถูกมองว่าเป็นการเห็นแก่ตัว ภาระจึงตกอยู่กับฝ่ายบุคคลที่จะต้องทำหน้าที่บริหารงานให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานมากที่สุด

นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการใช้ประโยคขอโทษพร่ำเพรื่อ โดยมิได้แสดงความรู้สึกผิดจริงๆ นั้นทำให้ชาวญี่ปุ่นดูเหมือนเป็นคนซุ่มซ่ามจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปเสียหมด และถ้าการเปลี่ยนการใช้ประโยคที่ว่า “Osaki ni shitsurei shimasu” นั้นเพื่อให้พนักงานไม่จำเป็นต้องขอโทษเพียงเพราะการเดินทางกลับบ้านโดยไม่ได้ทำงานล่วงเวลา คงจะเป็นเรื่องดีกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพวกเขายิ่งขึ้น

Source: Twitter/@AdmiralYamabiko via Jin

Top image: Pakutso

Insert images: Pakutaso (1, 2)

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*