รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมองหาโอกาสให้ชาวต่างชาติได้รับ Work Visa (วีซ่าทำงาน) ในสายงาน Animator และอาชีพอื่นๆ ในประเทศง่ายขึ้น

Share

เนื่องมาจากเมื่อปี พ. ศ. 2559 ในจำนวนผู้สำเร็จการศึกษามีนักศึกษาต่างชาติกว่า 12,000 คน ของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เดินทางกลับสู่บ้านเกิดของตน โดยมีเพียง 40% เท่านั้นที่ยังอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเพื่อทำงานต่อ

ซึ่งทางโฆษกของกระทรวงยุติธรรมได้กล่าวไว้ว่า “นักเรียนเหล่านี้เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นได้เรียนรู้ภาษาและเรื่องดีๆ ของญี่ปุ่น แต่น่าเสียดายที่นักเรียนเหล่านั้นกลับมีเหตุให้ต้องกลับประเทศไป” (ซึ่งน่าจะเป็นปัญหาด้าน Visa) เพราะเงื่อนไขในการพิจารณาคุณสมบัติของ Work Visa ในประเทศญี่ปุ่น คือยิ่งมีความต้องการเข้าทำงานในองค์กรระดับสูงมากท่าใด ก็จะได้รับอนุญาตให้ทำงานในญี่ปุ่นง่ายขึ้นเท่านั้น 

แต่อย่างไรก็ตามมันค่อนข้างจะเป็นอะไรที่ย้อนแย้ง เมื่อคุณเรียนจบแล้วมีความต้องการที่จะทำงานระดับสูงในญี่ปุ่น แต่ Visa นักศึกษาของคุณนั้นกำหนดให้คุณสามารถประกอบอาชีพได้เพียงระดับเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งในการประกอบอาชีพในระดับเบื้องต้นนั้นก็ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะให้คุณสามารถขอ Work Visa เพื่อเข้าทำงานในญี่ปุ่นได้ สรุปไม่ว่ายังไงก็ขอ Work Visa ได้ยากอยู่ดี

ดังนั้น แม้ชาวต่างชาติที่เดินทางมาญี่ปุ่นศึกษาเกี่ยวกับอนิเมะ และทำงานจนได้รับตำแหน่งเป็น Animation Assistants ในสายงานอนิเมะก็ตาม แต่กลับไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับ Work Visa ตามเงื่อนไขอยู่ดีเพราะไม่ได้ทำงานอยู่ในองค์กรณ์สำคัญๆ ซึ่งเป็นการขัดขวางไม่ให้พวกเขาทำงานต่อไปในระดับที่สูงขึ้นได้ ส่งผลให้ไม่สามารถประกอบอาชีพและอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ตามมา หรืออย่างชาวต่างชาติที่เดินทางมายังญี่ปุ่นเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการงานของร้านอาหารโดยที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งบริกรเองก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

และจากปัญหาดังกล่าว ทางกระทรวงกำลังพิจารณาลดเงื่อนไขคุณสมบัติรับรอง Visa ขึ้นมาเพื่อที่จะรักษานักเรียนต่างชาติในประเทศญี่ปุ่น เพราะเล็งเห็นว่าพวกเขากำลังจะกลายเป็นประชาชนที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมในอนาคต เราก็ควรให้โอกาสพวกเขาได้สร้างประโยชน์แก่สังคม

ตอนนี้กระทรวงยุติธรรมกำลังถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้ที่จะลดเงื่อนไขในการได้รับวีซ่าประเภททำงานง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็จะให้มีผลบังคับใช้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแค่การพิจารณาถึงความเป็นไปได้เท่านั้น ยังไม่มีการกำหนดบังคับใช้ขึ้นมาอย่างจริงจัง

ที่มา: Yahoo! Japan News/Asahi Shimbun Digital โดย Otakomu

ภาพ: Pakutaso

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*