อาจารย์ Araki Hirohiko ผู้สร้าง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ บอกเล่าเกี่ยวกับหลักการในการสร้างตัวร้ายของอาจารย์

Share

อาจารย์ Hirohiko Araki ผู้สร้าง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Kotoba นิตยสารสายวรรณกรรมฉบับประจำฤดูใบไม้ผลิปี 2020 ในประเด็นที่อาจารย์สามารถเขียนตัวร้ายที่น่าจดจำได้อย่างดี ซึ่งอาจารย์ได้กล่าวถึงหลักสำคัญในการสร้างตัวร้ายที่โดดเด่นอย่าง ดิโอ ไว้ดังนี้:

  • รากเหง้าของความชั่วร้ายอยู่ที่ความน่ากลัว: ดิโอ เป็นวายร้ายที่น่าประทับใจ เพราะความแค้นของเขาต่อตระกูลโจสตาร์ที่แพร่กระจายไปยังคนหลายชั่วอายุ เขาเป็นแวมไพร์อมตะ, และถึงจะโดนปราบไปแล้ว ก็ยังกลับมาหลอกหลอนลูกหลานของ โจนาธาน โจสตาร์ ซึ่งอาจารย์ Araki ได้กล่าวไว้ว่า เขาเคยถามตัวเองว่าอะไรที่น่ากลัวมากที่สุดสำหรับตัวเอง และพบว่า คำสาปที่ข้ามเหนือกาลเวลาน่ากลัวมากกว่าตัวละครที่มีพลังไร้เทียมทานหรืออารมณ์ที่รุนแรงเสียอีก
  • ‘ความชั่วร้าย’ จะดึงดูดใจผู้อ่านหากพวกเขารู้สึกไม่สามารถทำความเข้าใจมันได้: เป็นการนำเสนอแบบที่พยายามให้ผู้อ่านทำความเข้าใจหลักการเชิงปรัชญาของตัวร้าย ที่กระทำเหตุที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ณ ขณะที่อ่านครั้งแรก เรื่องราวการผจญภัยที่มี่เรื่องลึกลับรายล้อมพร้อมกับสิ่งอื่นที่ยากจะทำความเข้าใจด้วยมาตรฐานสังคมปกติ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ดีว่า ตัวร้าย ที่ต้องเป็นอุปสรรคให้ตัวเอกต้องก้าวข้ามไปให้ได้นั้นควรจะอุดมไปด้วยความลับ

อาจารย์ Araki ยังได้กล่าวถึงสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ และเป็นการ ‘จัดฉาก’ ให้กับท้องเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ตัวร้ายที่อาจารย์ Araki มองว่าเป็นที่สนใจของคนดู อย่าง ตัวะลครจากภาพยนตร์ The Silence Of The Lamb ของผู้กำกับ Jonathan Damme ที่เล่าเรื่องของฆาตกรต่อเนื่องที่มีตัวตนอยู่จริง และมันน่ากลัวตรงที่คนดูคาดการณ์ไม่ได้ว่า คนร้ายจะลงมือเมื่อไหร่และอะไรที่เป็นแรงจูงใจของคนราย หรือ ตัวร้ายของมังงะเรื่อง Ushijima The Loan Shark ที่มีตัวร้ายผู้ทรงเสน่ห์และทำให้คนอ่านรู้สึกหมกหมุ่นกับตัวละครดังกล่าว แม้จะรู้สึกค้านกับการกระทำของตัวละครนั้นก็ตามที

อาจารย์ Araki ยังข้ามไปพูดถึงตัวร้ายตัวอื่นๆ ในสื่อบันเทิงที่มีผลกระทบต่อตัวของอาจารย์อย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นในภาพยนตร์ Frost/Nixon ของผู้กำกับ Ron Howard ได้นำเสนอ อดีตประธานิบดีของสหรัฐอเมริกาอย่าง ริชาร์ด นิกสัน ว่าเป็นคนที่จิตใจดีที่ใช้เกมทางจิตวิทยาเพื่อพยายามหลีกเลี่ยงความผิดของตัวเอง สำหรับอาจารย์ Araki แล้ว ตัวละครดังกล่าวถูกนำเสนอแบบ ‘ความชั่วร้ายทีทรงพลังและมีหลักฐานว่ามีตัวตนอยู่จริง’ อาจารย์ Araki ยังได้ชื่นชมภาพยนตร์เรื่อง Hereditary ของผู้กำกับ Ari Aster ในการนำเสนอความหวาดกลัวต่อที่เกิดจากคำสาปที่เหนือธรรมชาติและหลอกหลอนผู้คนระดับที่ไม่กล้าพูดเกี่ยวกับมัน และสุดท้ายอาจารย์ได้ชื่นชอบภาพยนตร์ Joker ของผู้กำกับ Todd Phillips ที่นำเสนอว่า ความชั่วร้าย ที่เป็นผลผลิตจากสังคมที่ความชั่วร้ายนั้นมีตัวตนอยู่ และระบุภาพยนตร์ดังกล่าวถือว่าเป็น ‘สัญญะ’ ของยุคปัจจุบัน

อาจารย์ Araki เคยให้สัมภาษณ์กับทางนิตยสาร Kotoba มาก่อนว่าอาจจะสร้างเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ขึ้นมาได้ ถ้าไม่เคยอ่านนิยายชุด เชอร์ล็อค โฮล์มส์ ของ เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ที่อาจารย์ได้การแต่งเรื่องขั้นพื้นฐานมานิยายชุดดังกล่าว โดยเฉพาะการสร้างโครงสร้างเรื่อง กับ การสร้างตัวละครที่มีเสน่ห์

Source: Kotoba 2020 Spring Issue

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*