Answerman : ทำไมถึงไม่ค่อยมีคนซื้อลิขสิทธิ์ OVA ที่เป็นตอนเสริม ?

Share

mattristl ถาม :

ทำไมถึงไม่ค่อยมีบริษัทไหนซื้อลิขสิทธิ์ OVA มาทำขาย ? มี OVA ของหลายๆ เรื่องที่เนื้อหาใน OVAเป็นตอนต่อจากภาคหลัก แล้วคนดูแบบเราก็ต้องหลบไปหาในเว็บกึ่งผิดลิขสิทธิ์แทน ไม่ก็ต้องลุ้นให้คนที่เคยดูมาอัพเดทรายละเอียดบนวิกิพิเดียเพื่อให้รู้ว่าเกิดบ้าอะไรขึ้นบ้าง

Answerman ตอบ :

หน้าที่ของ OVA คืออะไร ?

FLCL ตัวอย่าง OVA ที่อยากได้เวลาทำงานมากขึ้นเพื่อได้งานคุณภาพ / ภาพจาก – www.funimation.com

ก่อนอื่นเลยต้องเข้าใจก่อนว่า OVA มีหน้าที่อย่างไรบ้าง หากเป็น OVA เรื่องแยกก็ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นตัวงานที่ต้องการใช้เวลาในการทำงานยาวนานกว่าเรื่องปกติที่ออกขายกันในตลาด ส่วนกรณี OVA ของอนิเมะเรื่องยาวที่ฉายกันในวงกว้างนั้นมักจะมีหน้าที่แยกเป็นสองประเภทง่ายๆ ดังนี้ ส่วน OVA ประเภทที่สองก็จะเป็นตอนที่ขายพร้อมกับหนังสือการ์ตูนเล่มต่างๆ และตามปกติจะไม่ออกอากาศที่ไหน ถ้าอยากได้ต้องซื้อหนังสือการ์ตูนเล่มที่ถูกระบุไว้

คราวนี้วกมาเรื่องการซื้อลิขสิทธิ์ของยุคนี้ ตามปกติแล้วจะเป็นการซื้อสิทธิ์เหมารวมทั้งซีซั่นในแต่ละครั้ง และหลายๆ ทีการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นก่อนที่อนิเมะจะออกอากาศจริง เพราะต้องให้ความสำคัญกับการซิมัลแคสท์ที่กลายเป็นเรื่องที่แทบจะขาดไม่ได้สำหรับสมัยนี้

ซึ่งในการเซ็นสัญญาจุดนี้นั้น ตามปกติแล้วก็ผู้สร้างอนิเมะก็ยังไม่ได้วางแผนไปถึงการออก OVA ซึ่งมักจะมีแผนงานผลิตออกมาหลังจากที่มั่นใจแล้วว่าคนดูของเรื่องเป็นคนกลุ่มไหนก่อน (เน้นเซอร์วิสสายไหนจะได้ทำเนื้อหาขายถูก) กว่าที่จะวางแผนสร้าง OVA ก็มักจะต้องให้การฉายอนิเมะผ่านสักสองสามสัปดาห์ก่อน แต่ ณ จุดนั้นการเซ็นสัญญาลิขสิทธิ์อนิเมะก็มักจะทำกันเสร็จแล้วทำให้โดยส่วนใหญ่ OVA จะไม่ถูกครอบคลุมในสัญญาฃ

แล้วทำไมบริษัทลิขสิทธิ์ในประเทศอื่นถึงไม่ไล่ซื้อสิทธิ์ให้หมดล่ะ ?

ตัวอย่าง OVA ที่แถมกับหนังสือการ์ตูนเล่ม Limited / ภาพจาก – hayatenogotoku.wikia.com

อันนี้ตอบได้ง่ายๆ ว่า เพราะ OVA หลายๆ ตอนดันมีผู้ถือสิทธิ์คนละคนกันเนี่ยสิ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ลิขสิทธิ์ของตัวซีรี่ส์ที่ฉายทีวี จะเป็นการถือสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์มังงะต้นฉบับ (อย่าง Kodansha), บริษัทผู้เผยแพร่อนิเมะ (อย่าง Aniplex), สถานีโทรทัศน์ที่ญี่ปุ่น (อย่าง TV Tokyo) หรือที่เราพูดถึงบ่อยๆ ว่าเป็น คณะกรรมการผู้สร้างอนิเมะ (Anime Production Comittee) ส่วนอนิเมะแบบ OVA ที่ขายพ่วงกับหนังสือนั้นมักจะเหลือผู้ถือสิทธิ์แค่ฝั่งบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์มังงะต้นฉบับ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแผ่น Blu-ray กับ DVD ของอนิเมะซีรี่ส์หลัก แม้ว่าเนื้อหา หรือทีมผลิตอนิเมะ จะต่อเนื่องกันกับอนิเมะภาคหลักก็ตาม

พอเป็นแบบนี้่ทำให้การขอสิทธิ์มีความยากลำบากมากขึ้นมาทันที ไม่ใช่เพราะบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์ไม่มีปัญญาซื้อ หลายทีพวกเขาอยากจะซื้อแทบใจจะขาด แต่เพราะต้องเจรจาลิขสิทธิ์ใหม่หมดกับบริษัทที่บางครั้งอาจจะไม่ได้ร่วมเจรจาสิทธิ์มาแต่แรกด้วย และหลายๆ ที บริษัทที่ถือสิทธิ์ OVA ก็มักจะไม่ยินยอมขายให้ หรือหากเขาจะขาย เขาก็จะตัดสินใจขายสิทธิ์ให้กับผู้ถือลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูน ไม่ใช่ให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ฝั่งอนิเมะ

ครั้นจะให้บริษัที่จัดทำหนังสือการ์ตูนเป็นหลักมาทำงานอนิเมะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีก จริงอยู่ว่ามีโอกาสอยู่บ้างที่บริษัทต่างประเทศอาจจะทำลิขสิทธิ์ทั้งฝั่งมังงะและอนิเมะจนอาจจะสามารถเข็นขายสินค้าออกมาต่อเนื่องได้แต่กรณีนั้นก็คงเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

(กรณีนี้ขออธิบายให้เห็นภาพเพิ่มเติมครับ สมมติว่า Tiga อยากทำ อนิเมะของ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ที่แถมกับหนังสือการ์ตูน คนที่มีสิทธิ์ซื้อจะเป็น วิบูลย์กิจ ก่อน เป็นอาทิ)

และถ้าสมมติว่าบริษัททำอนิเมะสามารถเจรจาต่อรองจนซื้อสิทธิ์ OVA มาขายได้นั้น การทำสัญญา การจ่ายค่าสิทธิ์ ก็ล้วนแล้วแต่จะต้องทำแยกออกมาจากอนิเมะภาคหลักอยู่ดี แปลว่าอนิเมะตอนดังกล่าวไม่สามารถยัดเข้าไปในแผ่นแบบเดียวกันกับตอนอื่น และต้องขายแยกออกมาต่างหาก แม้ว่าจะมีแค่ตอนเดียวก็ตามที

แล้วคุณจะยังอยากให้บริษัทอนิเมะประกาศขายแผ่นอนิเมในปี 2017 แผ่นเดียว เพื่อขายอนิเมะที่เคยขายมาก่อนแล้วเมื่อ 15 ปีก่อนหรือเปล่า ? และถ้าต้องรีมาสเตอร์อนิเมะใหม่ทั้งชุดเพื่อมาขายแผ่นแยกแผ่นเดียวทางบริษัทที่จัดทำลิขสิทธิ์ก็คงไม่พร้อมจะทุ่มทุนขนาดนั้น

อนาคตของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ?

มันมี OVA จำนวนหนึ่งที่บอกเล่าเนื้อเรื่องที่ขาดหายไปในอนิเมะ และมันก็น่าเซ็งสำหรับแฟนๆ ต่างชาติที่ไม่สามารถเก็บตอนเหล่านั้นแบบถูกกฎหมายเอาไว้กับตัวได้ (อาทิ เนกิมะ, ฮายาเตะพ่อบ้านประจัญบ้าน ฯลฯ) เรื่องนี้เป็นปัญหาของธุรกิจอนิเมะที่คาดว่าจะถูกแก้ไขได้ในสักวันหนึ่ง อย่างตัวของ Answerman เองก็เชื่อว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีที่ผู้ซื้่อสิทธิ์ต่างประเทศส่งเรื่องคืนกลับไปที่คณะกรรมการผู้สร้างอนิเมะจนสุดท้ายพวกเขาต้องวางแผนในการจัดซื้อจัดขายสิทธิ์ OVA ได้ง่ายขึ้นในภายภาคหน้า

โลกของธุรกิจบางทีก็น่าปวดหัวแบบนี้ล่ะครับ

อ้อ แล้วก็ไม่มีคำว่า ‘เว็บกึ่งผิดลิขสิทธิ์’ อยู่ในสารระบบหรอกนะครับ มีแค่ ‘เว็บละเมิดลิขสิทธิ์’ น่ะ อันนี้แค่อยากบอกเฉยๆ นะ

 

เรียบเรียงจาก : Answerman – Why Are OVA Episodes Seldom Licensed?

 

1 Comment on Answerman : ทำไมถึงไม่ค่อยมีคนซื้อลิขสิทธิ์ OVA ที่เป็นตอนเสริม ?

  1. แล้วถ้าเรื่องที่ OVA เยอะๆละ เช่น to love ru OVA เกือบ 10 กว่าตอนถ้าทำขายยัดใส่แผ่นได้ที่ละตอนหรือไม่เพราะ OVA บ้างเรื่อง Strike the Blood OVA เยอะพอๆกับ Series ทีเดียวแล้วและเรื่องเป็นเนื้อเรื่องหลักด้วย พวก SP เช่น One Punch Man อันนี้เป็นคล้อยแบบเดียว OVA หรือป่าวครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*