วงการคอสเพลย์ในปัจจุบันการตัดเย็บเสื้อผ้า, จัดทำวิกผม, เตรียมพร้อมเครื่องประดับ, และสร้างพรอพที่เหมือนตัวละครจากต้นฉบับมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สำหรับเหล่าเลเยอร์ที่่ต้องการจะถ่ายทำภาพคอสเพลย์ให้สมจริงขึ้นไปอีกขั้น ก็จะเริ่มทำการคอสเพลย์ร่วมกับการฉายภาพขึ้นจอเป็นฉากหลัง ที่มีการเตรียมเอฟเฟคท์ล่วงหน้า ซึ่งหลายครั้งอาจจะต้องใช้การกะเวลาหรือความคุ้นเคยในการจัดท่า กว่าจะได้ภาพออกมาที่ดูดีสักครั้ง
แต่ด้วยระบบ Gensoukyou System ที่พัฒนาโดย คุณ Gomi (หรือผู้ใช้งานทวิตเตอร์ @GomiHgy) โปรแกรมเมอร์ กับ คนทำพรอพ และ คุณ Siz_Oka (หรือผู้ใช้งานทวิตเตอร์ @Siz_oka) ได้นำเอาเทคโนโลยี โปรเจคชั่นแมปปิ้ง หรือการฉายภาพขึ้นจอ มาผสมรวมกับเทคโนโลยี AI สำหรับติดตามการเคลื่อนไหว ทำให้การคอสเพลย์กับเอฟเฟคท์เกิดขึ้นในตำแหน่งและเวลาที่ต้องการได้อย่างงายดาย
ที่มาของการพัฒนาระบบนี้ เกิดจากผู้พัฒนาทั้งสองท่านได้ทำพรอพของตัวละคร Manaka Lala จากเฟรนไชส์ PriPara ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบแสงสีบนชุดด้วยการสั่งด้วยเสียง ก่อนจะข้ามมาพัฒนาระบบโปรเจคชั่นแมปปิ้ง ที่สามารถฉายเอฟเฟคท์บนหน้าจอให้กับเลเยอร์ที่ถือพรอพที่ติดตั้งไจโรสโคปไว้ แต่ความแม่นยำของระบบนั้นยังไม่ดีมากนัก
จนกระทั่งทั้งสองท่านนำเอา Tensorflow เทคโน AI แบบโอเพนซอร์สของ Google มาใช้งานในการตรวจสอบท่าการโพสท์ของมนุษย์ ทำให้สามารถทำการโปรเจคชั่นแมปปิ้ง หรือฉายภาพบนจอที่เป็นฉากหลังได้อย่างแม่นยำ โดยที่เลเยอร์ไม่จำเป็นต้องถือพรอพที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมใดอีก นอกจากการตั้งค่าจากตัวระบบ Gensoukyou System
ได้มีการนำเอา Gensoukyou System เปิดให้เลเยอร์ทดลองใช้งานจริง ภายในงาน Cosnavi Photo Exhibition Legacy 2022 ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา และทางผู้พัฒนายังระบุว่าจะมีการนำระบบนี้เปิดให้เลเยอร์ทดลองใช้ต่อไปในอนาคต
ส่วนแผนงานในภายภาคหน้าของ Gensoukyou System คือการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างความแม่นยำในการใช้งาน และสามารถประยุกต์ไปใช้กับเกมกับอนิเมะอื่น ๆ ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ระบบดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา และทางผู้พัฒนายังไม่เปิดวางจำหน่ายระบบนี้ในเชิงพาณิชย์ แต่ทางทีมผู้พัฒนายังแจ้งไว้ว่า ยินดีจะนำระบบกล่าวไปจัดแสดงตามงานที่สนใจ (ซึ่งคุณ Siz_Oka ระบุไว้ว่าสามารถคุยภาษาอังกฤษได้)
Source: Grapee.jp
Leave a Reply