Tyler ถาม:
อย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกเกี่ยวกับแฟนอนิเมะก็คือพวกเขาถ้าไม่เป็นพวกชอบเข้างานสังคม (Extrovert) แบบสุดๆ ก็จะเป็นพวกไม่ชอบเข้างานสังคม (Introvert) แบบสุดๆ ไม่ค่อยจะเห็นคนที่อยู่ตรงจุดกลางๆ เท่าไหร่ อย่างผมเองก็เคยได้ยินว่ามีนักพากย์หลายๆ คนที่บอกว่าตัวเองไม่ชอบเข้างานสังคม แต่พวกเขาก็ยังไปออกอีเวนท์ต่างๆ ที่อาจจะขัดกับการใช้ชีวิตของคนที่ไม่ชอบเข้างานสังคมทั่วไป เรื่องแบบนี้นี่เป็นความจำเป็นหรือความเต็มใจ? มันเป็นพันธกิจของพวกเขาหรือไม่ที่ต้องไปออกงาน? หรือว่าถ้าอยากทำงานในอุตสาหกรรมนี้จะต้องมีความเป็นคนชอบเข้างานสังคมบ้าง?
Answerman ตอบ:
ก่อนอื่นเลย… เราตัดสินคนไม่ได้หรอกครับว่า พวกเขาเป็นคนเข้างานสังคม หรือ เป็นคนไม่ชอบเข้างานสังคม ในระดับไหน หลายๆ คนอย่างตัวของ Answerman (และตัวผู้เรียบเรียง) เป็นคนที่สามารถ ‘เปิดโหมด’ ให้กลายเป็นคนเข้าสังคมได้แบบสุดๆ ได้ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นก็จะรู้สึกหมดเรี่ยวแรง แล้วก็ต้องการเวลาพักผ่อนสักระยะกว่าจะสามารถไปลั้ลลาในงานสังคมอื่นๆ ได้อีก
แต่ถ้าคุณเป็น ‘ทาเลนโตะ’ (นักแสดงสายบันเทิงของญี่ปุ่น), นักพากย์, นักร้อง หรือ เซเลป คุณก็จะต้องมีคนรู้จักติดตามจำนวนมากและคุณก็จะต้องไปพบปะกับผู้คนเหล่านั้นเยอะสักหน่อย ทำให้หลายๆ คนที่อยู่ในงานกลุ่มที่กล่าวถึง จำเป็นต้องมีทักษะการเข้าสังคมและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสายเอาชีพเหล่านั้น เพราะถ้าคุณโดนเชิญไปออกงาน คุณจำเป็นจะต้องพบปะกับแฟนๆ คุณจำเป็นจะต้องทำตัวให้พวกเขาจดจำ ถ้าทำแบบนั้นไม่ได้ (หรืออาจจะเล่นละครไม่เก่ง) อาจจะทำให้แฟนๆ ไม่โอเคขึ้นมาได้ เพราะคงจะไม่มีใครที่มีโอกาสได้มาเจอคนที่ชื่นชอบแล้วโดนหงุดหงิดใส่ หลบสายตา ไม่ยอมถ่ายรูป ฯลฯ และมันย่อมไม่เป็นผลดีต่อการงานและธุรกิจเป็นแน่
สายงานอีกส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการ์ตูน (หรืองานใดๆ ก็ตามที) ที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าสังคมเก่ง ต้องมีความสดใสมาจากภายในตัว ไม่ใช่แค่เพื่่อตัวเอง แต่เพื่อองค์กร ก็คือเจ้าพนักงานในฟากฝั่งการตลาด หรือ เจ้าพนักงานการขาย ที่ต้องทำหน้าที่ขายสินค้าในบริษัทให้กับบุคคลภายนอก ดังนั้นการแสดงความสดใสนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ทางการงานแบบหนึ่ง ที่บางคนอาจจะมีสิ่งนั้นในตัวมาตั้งแต่เกิด แต่หลายคนอาจจะต้องฝึกฝนสักหน่อย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนในสายงานที่กล่าวจะคงความสดใสร่าเริงได้ตลอดเวลานะ ก็มีอยู่บ้างเหมือนกันที่มีระดับหัวหน้าฝ่ายขายออกมาขายของหน้างานแล้วตอบลูกค้าแบบเหี้ยมเกรียมๆ อย่างลูกค้ามาถามว่า ‘วิดีโอเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร’ แล้วหัวหน้าฝ่ายคนนั้นก็ดันตอบกลับแบบไม่สนใจคนว่า ‘อ่านข้างหลังกล่องเอานะ’ แม้ว่าโดยปกติแล้วในการทำงาน หัวหน้าฝ่ายคนนี้จะสามารถปิดดีลกับบริษัทคู่ค้าด้วยท่าทีอันลื่นไหลก็ตามที ซึ่งสาเหตุที่ทำตัวไม่ดีอาจจะมาจากอารมณ์ที่เพิ่งเจอดราม่าส่วนตัวมา เพราะงั้นสิ่งที่ควรระวังอีกอันก็คือ ควรอ่านอารมณ์ตัวเองก่อนที่จะไปทำงานด้วย
ส่วนงานอื่นๆ ในสายงานอุตสาหกรรมการ์ตูน อาทิ บัญชี, ฝ่ายตัดต่อวิดีโอ, ฝ่ายกราฟฟิกดีไซเนอร์ หรือถ้าบอกว่า ถ้าไม่ได้เป็นผู้สร้างผลงานขื่อดัง, นักพากย์ หรือทำงานฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายขาย ก็อาจจะไม่ผิดนัก แผนกต่างๆ เหล่านี้อาจจะไม่ต้องมีสกิลออกสังคม หรือ อาจจะเป็น Introvert ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนทำงานในแผนกอื่นๆ จะเข้าสังคมไม่เป็นเลย เพราะหลายๆ บริษัทก็ยังพยายามสนับสนุนให้พนักงานทุกแผนกมีโอกาสได้ออกงานกันบ้างเพื่อให้เข้าใจในสายงานของแผนกอื่นๆ นอกจาการงมอยู่กับงานของฝั่งตัวเอง
ดังนั้นบุคลาการโดยส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการ์ตูนจะมีคนที่เป็น Ambivert หรือคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างฝั่ง ชอบเข้าสังคม กับ ไม่ชอบเข้าสังคมอยู่ไม่น้อย เพียงแค่ว่าในบางประเทศอย่างญี่ปุ่น กลุ่มคนทำงานอาจจะมีความไม่อยากออกกล้องมากกว่าประเทศอื่นๆ
แต่ถ้าพูดสรุปภาพรวมแล้ว การทำงานแทบทุกสายอาชีพ ก็มีความจำเป็นในการเข้าสังคมบ้าง แม้ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ก็ตามที (อย่างน้อยคุณก็ควรจะพูดคุยเจรจาเรื่องค่าจ้างได้อะไรแบบนี้) และถ้าออกงานในนามบริษัท ก็อยากจะให้พึงระแวงไว้ว่า ถ้าทำอะไรไม่ดีไป คนจะจำแบรนด์ได้มากกว่าชื่อคนที่ทำตัวไม่ดีมากกว่าอีกนะ
เรียบเรียงจาก: Answerman – Do You Have To Be Outgoing To Work In The Industry?
Leave a Reply