Answerman – โพสท์อวยโพสท์เชียร์ LC กันเนี่ย เป็นผลทำให้เขาซื้อ LC เขามาจริงๆ เหรอ?

Share

Jill ถาม:

เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้จัดทำอนิเมะหรือมังงะลิขสิทธิ์ (ส่วนใหญ่มักจะเป็นฝั่งอนิเมะนะ) โพสท์แจ้งข่าวออนไลน์ โดยเฉพาะใน Facebook ฉันจะเห็นคนกลุ่มก้อนหนึ่งคอยไปไล่โพสท์เรื่องที่พวกเขาอยากจะให้จัดทำลิขสิทธิ์ในประเทสไทยต่อ มันมีประโยชน์จริงๆ เหรอที่จะไล่โพสท์แบบนี้? คนที่มีสิทธิ์ในการซื้อลิขสิทธิ์เขาจะมาอ่าน ณ ที่แบบนี้จริงๆ เหรอ?

Answerman ตอบ:

เอาจริงๆ ผู้จัดทำสินค้าสายการ์ตูนลิขสิทธิ์ (อนิเมะ, มังงะ, คอมิค ฯลฯ) ไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากกองทัพขาเชียร์ที่มาบอกกล่าวกันหรอก บริษัทเหล่านี้ทำงานติดต่ออยู่กับเจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้วว่า ทางญี่ปุ่นพร้อมจะขายลิขสิทธิ์เรื่องไหนให้บ้าง แล้วมันก็เป็นงานของผู้จัดทำสินค้าสายการ์ตูนลิขสิทธิ์อยู่แล้วที่จะต้องรับรูู้เรื่องเหล่านี้ เพราะงั้นบางทีสินค้าที่รู้สึกว่ามันใหม่มากๆ ในประเทศเรา บริษัทเหล่านี้อาจจะได้เห็นมาแล้วในงานอีเวนท์การ์ตูนนานาชาติ, งานอีเวนท์เชิงธุรกิจที่ปิดลับเฉพาะให้บุคลากรในวงการเท่านั้น หรือ อาจจะได้รับข้อมูลมาโดยตรงหลังไมค์ หรือจะบอกว่าแฟนการ์ตูนส่วนใหญ่จะไม่ได้มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลภายในได้ระดับที่บริษัทผู้จัดทำสินค้าการ์ตูนลิขสิทธิ์

เพราะฉะนั้น ถ้าการ์ตูนเรื่องไหนที่ยังไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศ มันมักจะมีเหตุผลอยู่แล้ว แต่ระบุลงไปว่าเป็นสาเหตุแบบไหนส่วนใหญ่ก็จะตกไปอยู่ในประเด็นตามที่พูดถึงนี้

 

1: งานเรื่องนั้นมีคนซื้อสิทธิ์ไปแล้ว

ด้วยความที่ว่าเรื่องการซื้อสิทธิ์เกิดขึ้นหลังบ้านอย่างต่อเนื่อง แฟนๆ การ์ตูนอาจจะไม่ทราบเลยว่าจริงๆ แล้วงานเรื่องนั้นมีคนซื้อลิขสิทธิ์ไปเรียบร้อยแล้ว

 

2: งานเรื่องที่ว่ามีโอกาสไม่ก่อให้เกิดรายได้

บางทีแฟนๆ อาจจะอยากให้ซื้อลิขสิทธิ์เรื่องที่เจ๊งไม่เป็นท่าเพื่อช่วยคนสร้างผลงาน แต่บริษัทต่างๆ นั้นเป็น ผู้ทำธุรกิจไม่ใช่ผู้ต้องการจะทำบุญ การซื้อผลงานที่เจ๊งแน่นอนมาทำโดยไม่จำเป็นคงไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากจะทำเท่าใดนัก

 

3: งานเรื่องที่ว่าติดบ่วงกรรมอะไรบางอย่างอยู่

งานบางเรื่อง มีปัญหาในการซื้อลิขสิทธิ์อยู่บ้าง อย่างเช่น งานคลาสสิคที่อาจจะมีหลายคนชื่นชอบ แต่ในเวลาปัจจุบันสืบหาไม่ได้ว่า ผู้ถือสิทธิ์ในปัจจุบันตกอยู่ในมือของใครกันแน่ เพราะในบางกรณีบริษัทที่เคยถือลิขสิทธิ์ในอดีตอาจจะไม่ได้ถือลิขสิทธิ์นั้นแล้ว ไม่เช่นนั้นก็คืองานนั้นติดปัญหาอื่นๆ เชิงลิขสิทธิ์ เช่น ผลงานเป็นการร่วมสร้างของหลายคน แต่มีคนหนึ่งไม่ยินยอมให้ขาย, งานนั้นผู้สร้างมีความเห็นว่าขายได้เฉพาะในประเทศเท่านั้นจึงคิดจะขายให้นอกประเทศ ฯลฯ

 

4. งานเรื่องที่ว่า เจ้าของสิทธิ์มีความไม่ง้อ

เพื่อที่จะซื้อสิทธิ์ให้เรียบร้อย ผู้ถือสิทธิ์ในญี่ปุ่นจะต้องทำการตกลงปิดดีลในราคาที่เหมาะสมเสียก่อน เพราะงั้นบางทีเจ้าของสิทธิ์ซีรีส์ที๋ฮิตระเบิดระเบ้อมากๆ ในบ้านเกิด ก็อาจจะเมินเฉยกับชาวต่างชาติในการขายสิทธิ์ไปเลย เพราะดีลที่เขากำลังทำอยู่ในบ้านเกิดนั้นทำรายได้งามงดกว่าการต้องมานั่งคุยกับคนต่างชาติ … ก็คือเขาไม่ง้อนั่นล่ะ

น่าเสียดายอยู่เบาๆ ที่แฟนการ์ตูนส่วนใหญ่อาจจะไม่เข้าใจว่า ไม่มีทางที่คนเราจะได้ทุกสิ่งอย่างในโลกใบนี้ตามใจประสงค์ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ความผิดของแฟนๆ ที่ร้องเรียนเพราะพวกเขาไม่ทราบขั้นตอนการทำงาน เพียงแค่ว่าการเสนอความเห็นหลายๆ ครั้งนั้นมักจะไม่ได้ผลใดๆ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่รับหน้าที่ดูแลสื่อสังคมออนไลน์ มักจะเป็นพนักงานในแผนกอื่นๆ (อาทิ การตลาด, บริการลูกค้า) ที่อาจจะแจ้งแผนกลิขสิทธิ์โดยตรงบ้างในเรื่องการโปรโมทที่อาจจะมีปัญหา หรือ ช่วยเช็คดราม่าจากการจำหน่ายสินค้าของบริษัท

แม้ว่าการร้องเรียนขอลิขสิทธิ์ใหม่บนโลกอินเตอร์เน็ตโดยส่วนใหญ่จะไม่ได้ผล แต่ก็ใช่ว่าจะความเห็นในอินเตอร์เน็ตจะไม่ได้ผลเลยเสียทีเดียว โดยเฉพาะกลุ่มฝั่งสินค้าเรื่องเก่าๆ สักหน่อยที่อาจจะต้องการยอดผู้ซื้อที่ชัดเจนก่อน กับในกรณีที่สินค้ามีปัญหามาก การออกความเห็นในโลกอินเตอร์เน็ตก็ยังเป็นช่องทางที่สำคัญที่สามารถส่งข่าวให้ผู้ผลิตได้รับทราบอยู่ดี และถ้าจะให้ดี คุณควรจะต้องเอาเรื่องที่ค้างคาในใจไปบอกยังบุคลการแบบถูกที่ถูกเวลา บางทีสิ่งที่คุณต้องการให้ทำลิขสิทธิ์เข้ามาขาย อาจจะได้ผลมากกว่าที่คิดก็เป็นได้

เรียบเรียงจาก: Answerman – Is There A Point In Suggesting Titles for Licensing to Publishers?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*