ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีวันหยุดวันหนึ่ง นั่นคือ Keiro no Hi (วันเคารพผู้สูงอายุ) ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี โดยทั่วไปจะเป็นในลักษณะรวมญาติทำความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่รับประทานอาหารร่วมกันโดยทั่วไป
ซึ่งในวันเดียวกันนั้นทาง MetLife บริษัทประกันชีวิต ได้จัดทำแบบสำรวจสอบถามจากประชากรจำนวน 14,100 ราย ในช่วงอายุ 20 ถึง 79 ปี ว่า “พวกเขาอยากมีอายุยืนยาวกี่ปี?” ซึ่งผลลัพท์ที่ได้นั้นค่อนข้างจะสวนทางกับวันหยุดที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง
ผลสำรวจจากประชากรชายช่วงอายุ 20 ถึง 29 ปี ระบุว่าพวกเขาน่าจะอยู่ถึงประมาณ 78.1 ปี
ในขณะที่ประชากรหญิงในช่วงอายุเดียวกันมองใว้ที่ 76.9 ปี
ซึ่ง 2 ตัวเลขนี้ค่อนข้างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอายุประชากรผู้สูงอายุในญี่ปุ่นเมื่อปี 2017 ซึ่งจะอยู่ที่ 81.09 ปีสำหรับเพศชาย และ 87.26 ปี สำหรับเพศหญิง ทั้งนี้เมื่อมามองดูตัวเลขเหล่านี้แล้ว มันคล้ายกับว่าพวกเขาไม่ได้อยากมีชีวิตยืนยาวอย่างที่ควรจะเป็นเท่าใดนัก โดยเฉพาะเพศหญิงซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 10 ปีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้หมายความว่าชายและหญิงญี่ปุ่นเหล่านั้นไม่ปารถนาที่จะมีชีวิตอยู่แต่อย่างใด ถ้าพูดถึงทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและอายุที่เพิ่มขึ้นเมื่อเราผ่านช่วงต่างๆของชีวิต กลุ่มที่มีความกระตือรือร้นน้อยที่สุดคือกลุ่มอายุ 50-59 ปีร้อยละ 47.7 บอกว่าพวกเขาไม่อยากมีชีวิตที่ยืนยาว ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในการสำรวจ (ค่าเฉลี่ยสำหรับทั้งกลุ่มคือ 41.2 %) ซึ่งหมายความว่าผู้ทำแบบสำรวจที่มีอายุน้อยกว่า 50-59 ปีเหล่านี้ ก็ยังมีความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวอยู่ แต่ไม่ต้องการมีมากขนาดค่าเฉลี่ยนั้น
นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่ามีเพียง 38% ของผู้ที่ทำแบบสำรวจในช่วงอายุระหว่าง 60-79 ปีซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ กล่าวว่าพวกเขาไม่ต้องการมีชีวิตที่ยาวนาน ตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกถึงความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่เป็นเวลานานเริ่มต้นที่ระดับปานกลางแล้วก็ลดลงเมื่อคนเราโตขึ้น อาจเป็นผลมาจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิต ซึ่งส่งผลกับแนวคิดของพวกเขาอยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แนวคิดการมีชีวิตที่ยืนยาวของชาวญี่ปุ่นอาจจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเมื่อพวกเขาโตขึ้นก็เป็นได้
ที่มา: Yahoo! Japan News/Jiji โดย Jin
ภาพประกอบ: Pakutaso
Leave a Reply