เด็กบางคนนั้นเรียกได้ว่าเติบโตมากับการ์ตูนญี่ปุ่น หรือบางคนก็เริ่มหันมาสนใจวัฒนธรรมเหล่านี้หลังจากโตเป็นผู้ใหญ่ แต่โดยส่วนมากความคลั่งใคล้กับสิ่งเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นถึงขีดสุดในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเมื่อย่างเข้าสู่เลข 2 บางคนอาจมีความเป็นโอตาคุแทรกซึมอยู่ในสายเลือดจนกลายเป็น Lifestyle ปกติ แต่ก็มีวัยรุ่นส่วนมากที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่มากขึ้นซึ่งลงท้ายก็ไม่มีเวลาที่จะมาสนใจกับสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป ประกอบกับอนิเมะสมัยนี้ที่เริ่มมีบางคนเบื่อหน่ายหลังจากที่หันไปทางไหนก็เจอกับเรื่องราวเดิมๆ อย่างการที่ตัวเอกถูกส่งไปต่างโลกพร้อมได้รับพลังพิเศษเป็นต้น
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า @mitragyna ได้ทวีต 10 อันดับตัวแปรสำคัญที่จะแสดงว่าคุณค่อยๆ สูญสิ้นความสนใจในสิ่งเหล่านี้ หรืออาจจะไม่ได้เป็นโอตาคุอีกต่อไปแล้ว จะเป็นยังไงนั้นลองมาสำรวจตัวเองกัน
【オタクの疲労Lv.目安】
Lv1.イベントに行かなくなる
Lv2.ゲームを積む
Lv3.ラノベを積む
Lv4.コミックを積む
Lv5.新作アニメが追えない
Lv6.毎週のアニメが追えない
Lv7.ソシャゲのイベントが追えない
Lv8.タイムラインが追えない
Lv9.オタク語り=昔の思い出
Lv10.もう、オタクじゃなくなってた。— 倉戸みと@11/24(土)ゲームマーケットK35-36 (@mitragyna) October 20, 2018
ระดับของการที่คุณค่อยๆ หมดความเป็นโอตาคุตามที่ @mitragyna สรุปไว้ มีดังนี้ :
Level 1: คุณหยุดไปงาน Event ที่เกี่ยวกับโอตาคุแล้ว
Level 2: คุณซื้อเกมมาดองใว้แต่ไม่มีเวลาเล่นเพิ่มมากขึ้น
Level 3: คุณมีกองหนังสือ Light Novel ดองใว้ไม่ต่างกับเกมของคุณ
Level 4: เหล่ามังงะของคุณก็เริ่มถูกดองด้วยเหมือนกัน
Level 5: คุณเริ่มที่จะเลิกติดตามอนิเมะซีรี่ส์ใหม่ๆ
Level 6: คุณเริ่มที่จะเลิกติดตามอนิเมะที่คุณกำลังดูค้างอยู่ในซีซั่นนั้นๆ
Level 7: คุณหยุดที่จะไล่เก็บทุก Events ของเกมมือถือที่คุณเล่น
Level 8: คุณหยุดที่จะตามอ่านข่าวสารเกี่ยวกับโอตาคุในแต่ละวัน
Level 9: เมื่อใดที่คุณพูดคุยเกี่ยวกับโอตาคุ คุณมักจะพูดถึงแต่เรื่องสมัยก่อน
Level 10: คุณไม่ใช่โอตาคุอีกต่อไป
เอาเข้าจริงๆ การวัดความเป็นโอตาคุในส่วนนี้ก็จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ ซึ่งคุณผู้อ่านก็อาจจะแย้งได้ว่าระดับความเป็นโอตาคุเหล่านี้อาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่นสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่อาศัยอยู่ในโตเกียว ซึ่งมีงาน Event สไตล์โอตาคุในสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่ายเป็นเหตุผลให้คุณออกจากบ้านไปร่วมงานหรือแม้กระทั่งแวะเข้าร่วมระหว่างช๊อปปิ้งหรือแวะชมหลังจากรับประทานอาหารนอกบ้าน (บางครั้ง Event เหล่านี้ก็จัดที่ร้านอาหารที่ตกแต่งร้านด้วยธีมของเกม หรืออนิเมะด้วยเช่นกัน) และในทำนองเดียวกับ การอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นที่เหล่าบรรดา Light Novels สามารถหาซื้อได้แทบจะทุกร้านหนังสือที่คุณเดินผ่าน ซึ่งทำให้คุณได้เข้าถึงวัฒนธรรมเหล่านี้ได้ง่ายกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่นๆ
ยังคงเป็นความจริงที่จำนวนของผู้ที่ให้ความสนใจใน Anime หรือสื่อเหล่านั้นเริ่มลดน้อยลง หรือค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป และก็เป็นไปได้ที่ Anime Series เรื่องใหม่ๆ นั้นขาดเอกลักษณ์หรือจุดเด่น หรือไม่ก็ขาดคุณภาพทำให้ไม่สามารถดึงความสนใจจากเหล่า Otaku ได้เหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป ถ้ามองในแง่ดีก็อาจจะมองได้ว่าระดับ Level ของ @mitragyna นั้นเป็นมุมมองของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเพียงฝ่ายเดียว แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าแฟนๆ อนิเมะเหล่านั้นเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆ แทนเมื่อพวกเขามีอายุมากขึ้นจริงๆ
ที่มา: Twitter/@mitragyna โดย Jin
Leave a Reply