ภาษาญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างซับซ้อน การสื่อสารที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดและอาจบานปลายจนเป็นเรื่องที่ร้ายแรงได้เหมือนกัน
แต่ด้วยลักษณะที่ยากลำบากของภาษานี้เอง ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่ระบบตัวเลขของภาษาญี่ปุ่นนั้นคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ แต่แทนที่จะเริ่มต้นที่หลักพันและได้รับการคำใหม่ทุกตำแหน่งสามหลัก
- 1,000 (Thousand) หลักพัน
- 1,000,000 (Million) หลักล้าน
- 1,000,000,000 (Billion) หลักพันล้าน
แต่ภาษาญี่ปุ่นจะนับสุดที่หลักหมื่นและได้รับคำใหม่ทุกตำแหน่งสี่หลัก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายจุลภาคนั้นแทบไม่ได้ช่วยในการนับคำใหม่เลย
- 10,000 (มัง) หมื่น
- 100,000,000 (โอคุ) ร้อยล้าน
- 1,000,000,000,000 (โช) หนึ่งล้านล้าน
และด้วยเหตุนี้อาจจะก่อให้เกิดความสับสนได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพยายามนับขนบนตัวแมวของคุณแล้วสรุปได้ที่จำนวน 57,680,000 เส้น เมื่อแปลงเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วอาจจะเป็นฝันร้ายสำหรับคุณเลยก็ได้เมื่อการใช้จุลภาคแทบจะไม่ได้ช่วยอะไรคุณเลย เช่น 57,680,000 แปลงได้คือ โกเซน นานะเฮียคุ โรคุจู ฮาจิมัง (หรือแปลเป็นไทยว่า ห้าพันเจ็ดร้อยหกสิบแปดหมื่น)
และด้วยความสับสนในตัวเลขเหล่านี้ ล่าสุดได้มีผู้ใช้ Twitter ชื่อ @ito3com ได้ออกมาบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเอง
小3の双子に向かって、私「これ、お父さんの覚え方だけど、1,000,000円みたいにカンマが2回入ってたら百万円って覚えておくんだ」すると長男「えっ?それって1億円でしょ?」長女「そうそう」私「えっ?」…妻によると、最近の学校ではカンマを3桁づつじゃなく4桁づつと教えてるらしい。えっ!!
— 伊藤正宏 (@ito3com) October 23, 2018
บทสนทนาระหว่างผมกับลูกแฝด ป.3 :
ผม: “วิธีที่ใช้จำ จำนวนหนึ่งล้าน 1,000,000 (เฮียคุมัง หรือแปลไทยว่า หนึ่งร้อยหมื่น) คือมีจุลภาค 2 ตัวยังไงล่ะ”
ลูกชาย: “อะไรนะ? ไม่ใช่แล้ว จำนวนที่มีจุลภาค 2 ตัวคือ อิจิโอคุ (หนึ่งร้อยล้าน) ต่างหาก”
ลูกสาว: “ใช่ 1 ร้อยล้านต่างหาก”
ผม: “อะไรนะ?”
ตามที่ภรรยาของผมอธิบายคือ เมื่อไม่นานมานี้โรงเรียนได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้จุลภาคที่ 4 หลักแทน ไม่ใช่ 3 หลักอีกแล้ว!
สำหรับคุณผู้อ่านที่ยังสงสัย ขออธิบายดังนี้:
- จำนวน 1,000,000 ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เฮียคุมัง
- แต่ด้วยภาษาญี่ปุ่นที่ใช้การเปลี่ยนการเรียกจำนวนนั้น เริ่มที่ หนึ่งหมื่น (จุลภาค 4 หลักเป็น 1,0000) ไม่ใช่หนึ่งพัน (จุลภาค 3 หลักเป็น 1,000) อย่างภาษาอังกฤษ จึงทำให้การใช้จุลภาคในภาษาญี่ปุ่นนั้นดูไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก
- ดังนั้นการเขียน “100,0000” จึงดูสมเหตุสมผลกว่ากับการใช้ภาษาเรียกว่า เฮียคุ (100) มัง (10,000)
- และในความเป็นจริงดูเหมือนว่าการเลื่อนจุลภาคนั้นเป็นสิ่งที่เด็กๆ กำลังเรียนอยู่ในขณะนี้
- ดังนั้นจำนวนที่จะมี 2 จุลภาคในระบบใหม่ จึงเป็น 1,0000,0000 หรือ หนึ่งร้อยล้านตามที่เด็กๆ พูด
ยกตัวอย่างอีกรูปแบบได้ดังนี้
- 10,000 ชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิจิมัง (หนึ่งหมื่น) เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็น 1,0000
แต่ภาษาอังกฤษและสากลจะเข้าใจว่ามันคือ Ten-Thousand (สิบพัน)
- 100,000 ชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า จูมัง (สิบหมื่น) เมื่อเปลี่ยนแล้วจะเป็น 10,0000
แต่ภาษาอังกฤษและสากลจะเข้าใจว่ามันคือ Hundred-Thousand (ร้อยพัน)
- 1,000,000 ชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า เฮียกุมัง (ร้อยหมื่น) เมื่อเปลี่ยนแล้วจะเป็น 100,0000
แต่ภาษาอังกฤษและสากลจะเข้าใจว่ามันคือ Million (หนึ่งล้าน)
มีชาวเน็ตในญี่ปุ่นให้ความสนใจและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้มากมายเช่น:
“นี่ปกติเหรอ? จำไม่ได้ว่าเรียนมาแบบนี้นะ!”
“ก็ใช่ จริงอยู่ว่าที่ญี่ปุ่นเรียกตามเลข 4 หลัก แต่ทั่วโลกไม่ใช่นะ เขาใช้จุลภาคกันที่ 3 หลักเป็นสากล นี่มันงี่เง่าสิ้นดี”
“การเปลี่ยนแปลงพวกนี้มันดูไม่ได้ช่วยอะไรเด็กๆ ในอนาคตเลยนะ”
“เราว่าน่าจะเปลี่ยนมาใช้คำเรียกภาษาญี่ปุ่นที่เลข 3 หลักแทนดีกว่านะ”
“ได้ประโยชน์จากการเรียกแค่นิดเดียวแลกกับเสียความเข้าใจสากลไปทั่วโลก”
“เราเรียนมาแบบนี้ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรนะ แค่เปลี่ยนหลักการอ่านตามมาตรฐานสากลเท่านั้นเอง”
ซึ่งโดยรวมแล้วดูเหมือนว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่จะไม่ปลื้มกับระบบจุลภาค 4 หลักเท่าใดนัก กลับมองว่าเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นเพียงชนชาติเดียวที่น่าจะปรับตัวให้ชินเพื่อรักษารูปแบบสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก แม้ว่าการใช้หลักการนับปีในปฏิทินของญี่ปุ่นนั้นจะแตกต่างจากทั่วโลกแต่ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงใช้ระบบตัวเลขนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว
ที่มา: Twitter/@ito3com, NicoNico News โดย My Game News Flash
Leave a Reply