อย่างที่เรารู้กัน บริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่แล้วการทำงานล่วงเวลามักเป็นสิ่งที่มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง จนบางครอบครัวก็เกิดปัญหาเพราะงานจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาครอบครัว อย่างที่เราได้เห็นกันในหนังที่ตีแผ่ชีวิตครอบครัวหลายๆ เรื่องจากประเทศญี่ปุ่น แต่เรารู้มั้ยว่า ชาวญี่ปุ่นทำงานล่วงเวลากันหนักแค่ไหนล่ะ?
เพื่อที่จะนำเสนอสภาพการทำงานของแต่ละองค์กรให้ชัดเจนขึ้น ทาง Tokyo Workers จึงได้ทำการถ่ายทำวีดีโอสำนักงานชั้นนำของญี่ปุ่นในช่วงของการทำงานล่วงเวลา เพื่อติดตามว่าพวกเขาใช้ชีวิตอย่างไรและทำงานกันดึกแค่ไหน
▼กว่าไฟในสำนักงานของ Toyota ในโตเกียวจะดับหมด เวลาก็ล่วงเลยไปถึงสี่ทุ่มครึ่งแล้ว
▼เวลาสี่ทุ่มยี่สิบไฟในสำนักงานใหญ่ของ Sony นั้นยังคงสว่างไสว (ตึกตรงกลางภายในวีดีโอนี้)
จุดเริ่มต้นของวีดีโอเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 7 เดือนก่อน Dentsu หนึ่งในบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นได้เริ่มมาตรการปิดไฟเวลาสี่ทุ่ม หลังจากเกิดเหตการณ์ที่พนักงานรายหนึ่งได้ฆ่าตัวตายเพราะความเครียดอย่างหนัก ซึ่งทาง Tokyo Worker นั้นอยากให้ทุกคนได้เห็นว่าบริษัทได้ทำตามคำสัญญาหรือไม่ และทาง Dentsu ก็ทำตามสัญญาจริงๆ
▼บริษัทพัฒนาเกม Square Enix (ที่บริเวณสามชั้นบน) ตอนเวลาห้าทุ่มยังคงมีแสงไฟหลงเหลืออยู่บ้าง
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของ Tokyo Workers ไม่ได้ต้องการตีแผ่ และสร้างความละอายใจให้กับบริษัทต่างๆ ที่พนักงานต้องทำงานจนดึกดื่นแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ทาง Tokyo Workers ต้องการที่จะสื่อออกมานั้นเพื่อให้คนที่กำลังหางานรับรู้ช่วงเวลาการทำงานล่วงเวลาขององกรณ์นั้นๆ ที่เอามาเทียบกับข้อมูลที่พวกเขาได้รับก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับบริษัท
▼สำนักพิมพ์มังงะชื่อดัง Shogakkan (ด้านซ้าย) และ Shueisha ของ Shonen Jump (ด้านขวา) ซึ่งมีพนักงานอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้กลับบ้านในช่วงเวลาที่มีการฉายทีวีอนิเมะรอบดึก
▼สำนักงาน 2 ตึกของ Kodansha ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสำนักพิมพ์ที่มีความผูกพันกับอุตสาหกรรมอนิเมะ และมังงะ
งานวิจัยเมื่อช่วงปลายปี 2016 โดยกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงกระทรวงแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นพบว่าร้อยละ 31.9 ของนักศึกษาจบใหม่ได้มีการเปลี่ยนงานภายใน 3 ปี ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับประเทศที่มีการทำงานที่เดียวตลอดชีวิตมาหลายช่วงอายุคนที่ผ่านมา วีดีโอของทาง Tokyo Workers มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ที่กำลังหางานเห็นภาพลักษณ์องค์กรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
▼ ความสว่างไสวในย่านเท็นโนสุเมืองโตเกียวซึ่งเป็นที่ตั้งของ JAL (Japan Airlines) และ JTB (Japan Travel Bureau)
▼ เวลาล่วงเลยไปถึงตีหนึ่ง ไฟในตึก East Japan Railway ยังคงส่องสว่าง (บริเวณด้านขวา) แม้พนักงานบริษัทรถไฟก็ยังไม่สามารถขึ้นรถไฟเที่ยวสุดท้ายได้ทันเวลา
Tokyo Workers ยอมรับว่าความเชื่อมโยงระหว่างเวลาที่ไฟดับสนิทกับเวลาที่เลิกงานนั้นยังไม่แน่นอน บางสำนักงานนั้นมีการเปิดไฟแม้ทำงานอยู่อาจมีเหตุผลในด้านความปลอดภัย และในยุคสมัยที่มีการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลนั้นการที่พนักงานไม่ได้อยู่ที่ออฟฟิศก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ได้ทำงานต่ออีกเช่นกัน
ที่มา : tokyoworker.tokyo
Leave a Reply