Jean-Karlo ถาม :
แฟนโทคุซัทสึแบบผมตามติด อุลตร้าแมน ฉบับดั้งเดิมที่แม่ของผมบอกว่าตอนที่แม่ยังเด็ก เด็กหลายชอบดูซีรี่ส์นี้มาก แล้วก็ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นหนังฮอลลีวูดทุนหนาพยายามดัดแปลงงานของญี่ปุ่นหลายเรื่อง แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่เพราะงานมักจะใส่ความเป็นฝรั่งเข้าไปในงานญี่ปุ่นแทน (อย่าง Speed Racer เป็นการดัดแปลง “Mach Go Go Go”, Power Rangers แทนที่จะเป็นจูเรนเจอร์) ผมรู้ว่าเคยมีอุลตร้าแมนภาคหนึ่งที่ถ่ายทำในอเมริกาแต่ไม่เคยฉายในอเมริกา (Ultraman : The Ultimate Hero หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ultraman Powered) ยุคนี้ก็เป็นยุคของการรีเมคแล้ว ทำไมอุลตร้าแมนถึงไม่เคยได้รับการสร้างใหม่ แบบ Speed Racer หรือ Voltron สักทีล่ะ ?
Answerman ตอบ :
ความนิยมพื้นเพของอุลตร้าแมนในอเมริกา
ถ้าอยู่ในภาวะปกติธรรมดาทั่วไป คำถามที่ว่า “ทำไมถึงยังไม่ทำสักที” คงเป็นเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นแน่ๆ แต่พอดีสำหรับกรณีของ อุลตร้าแมน นอกเกาะญี่ปุ่นออกจะมีปัญหาวุ่นวายอยู่เสียหน่อยจึงยังไม่มีสตูดิโอใหญ่ในฮอลลีวูดเจ้าไหนคิดแม้แต่จะไปดอมดมซื้อสิทธิ์ของฮีโร่เรื่องดังเรื่องนี้
อย่างแรกเลย อุลตร้าแมน มีชื่อเสียงแค่น้อยนิดในฝั่งอเมริกา ถึงจะเคยมีความยพายามดัดแปลงให้โดนใจคนอเมริกันมาแล้วก็ตาม อย่างอุลตร้าแมน ภาคแรกที่ออกฉายในญี่ปุ่นเมื่อปี 1966 กับ อุลตร้าเซเว่น ที่ออกฉายในญี่ปุ่นตอนปี 1967 เคยถูกนำมาพากย์เสียงออกฉายในสถานทีโทรทัศน์ท้องถิ่นของเมริกาในช่วงปี 1970 แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนักหากเทียบกับรายการอื่นๆ ในช่วงเดียวกัน แต่ก็ยังพอมีคนติดตามอยู่บ้างในอเมริกาซึ่งตอนขอบคุณทาง BCI Eclipse (บริษัทจัดจำหน่าย DVD อนิเมะญี่ปุ่นในอเมริกา) ที่ทำ DVD ออกมาขายเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย
ย้อนไปเมื่อปี 1979 อุลตร้าแมน ฉบับดั้งเดิมได้ถูกตัดต่อใหม่สำหรับฉายในเคเบิ้ลทีวี หรือเป็น ฉบับขายแยกลงวิดีโอ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษา ต่อมาในช่วงประมาณปี 1990 ก็มีการถ่ายทำ อุลตร้าแมนเกรท ที่สุดท้ายได้ออกฉายทางทีวีอเมริกาบางช่องในช่วงปี 1992 และช่อง 4Kids ก็ได้ตัดต่อ อุลตร้าแมนทีก้า ออกฉายในช่วง FoxBox ในช่วงประมาณ ปี 2002 ส่วนภาคอื่นๆ นั้นดูเหมือนจะไม่ได้มีโอกาสออกฉายในอเมริกา
และเมื่อพูดถึงช่วง FoxBox นั้น เป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมน้อยกว่า 4Kids อีก (ซึ่งถ้าเทียบกับทีวีรายการอื่นๆ ในอเมริกาก็ถือว่าได้รับความน้อยนิด) ถึงขั้นที่ว่าสุดท้าย FoxBox ก็โดนยกเลิกไปทำให้ อุลตร้าแมน ที่ฉายในช่วงเวลานั้นเป็นที่รู้จักน้อยลงไปอีกขั้นหนึ่ง
กระนั้นนี่ยังไม่ใช่ต้นตอที่ความนิยมไม่มากพอจะมีใครหยิบไปทำใหม่ เพราะปัญหาที่ยากเย็นกว่านั้นก็คือ… ปัญหาทางกฎหมายที่ยังไม่สิ้นสุดดีของทาง Tsuburaya Produtions ผู้สร้างอุลตร้าแมนในญี่ปุ่นชุดดั้งเดิมกับทางบริษัทจากประเทศไทยอย่าง ไชโยโปรดักชั่นส์
ย้อนรอยเรื่องราวของฝั่ง ไชโยโปรดักชั่นส์
เดิมทีแล้วทั้งสองบริษัทเคยร่วมมือกันผลิตภาพยนตร์อุลตร้าแมนสองเรื่องในช่วงปี 1970 (ภาพยนตร์ที่ถูกกล่าวถึงคือ หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ กับ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ) ก่อนที่ประธานบริษัทของไชโยโปรดักชั่นส์ คุณสมโภชน์ แสงเดือนฉาย ได้กล่าวอ้างว่า ตัวของเขาเองได้นำภาพของพระพุทธรูปไปให้ ทสึบุราย่า เอย์จิ ผู้ก่อตั้ง Tsuburaya Productions รับชมจนกลายเป็นพื้นฐานในการออกแบบอุลตร้าแมน และเมื่อปี 1976 คุณทสึบุราย่า โนโบรุ (ลูกชายของ ทสึบุราย่า เอย์จิ) ได้ทำการเซ็นมอบสิทธิ์ทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับอุลตร้าแมนนอกประเทศญี่ปุุ่นให้กับคุณสมโภชน์ เพื่อทดแทนการชำระหนี้ (คุณทสึบุราย่า โนโบรุ เสียชีวิตลงไปใน ปี 1995)
ปัญหาก็คือ เอกสารที่คุณสมโภชน์ครอบครองอยู่นั้นมีตราประทับและลายเซ็นของคุณทสึบุราย่า โนโบรุจริง แต่ฝั่ง Tsuburaya Productions กล่าวอ้างบนศาลมาตลอดว่าเอกสารชิ้นนั้นอาจจะถูกปลอมแปลงขึ้นมา และเอกสารหลายๆ แผ่นนั้นลงรายละเอียดตัวเลขและชื่อที่ไม่ถูกต้องมาโดยตลอด อย่างเช่น การเรียกชื่อภาคแต่ละภาคของอุลตร้าแมนอย่าง Ultra Q ถูกระบุในเอกสารว่าเป็น ‘Ultraman 1 “Ultra Q”‘ ส่วนอุลตร้าแมนภาคแรก ถูกเรียกว่า Ultraman 2 เป็นอาทิ
ปมปัญหานี้เองทำให้มีการฟ้องร้องในศาลหลายประเทศทั้งในฝั่งประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย และในอเมริกา และเมื่อปี 2004 ที่ คุณสมโภชน์ออกมาแจ้งว่าตัวของเขาได้รับชัยชนะในศาลและตัวเขาเป็นผู้ถือสิทธิ์ของซีรี่ส์อุลตร้าแมนหกภาคแรกนอกประเทศญี่ปุ่น รวมถึง จัมโบ้เอ ด้วย (ซีรี่ส์อุลตร้าที่ว่านับตั้งแต่ อุลตร้า Q จนถึง อุลตร้าแมนทาโร่) แม้ว่าในตอนนั้น สื่อมวลชนทั่วโลกจะเข้าข้างและเชื่อถือเรื่องของทาง ไชโยโปรดักชั่นส์มากกว่าก็ตามที แต่ความจริงแล้วคดียังไม่สิ้นสุดดี จนถึงทาง Tsuburaya Productions ต้องออกมาแถลงว่าทาง ไชโยฯ ได้รับสิทธิ์แค่การจัดฉายหนังเจ็ดเรื่องนี้ในประเทศไทย และได้รับจัดทำสินค้า (หรือ Merchandising) ทั่วโลกเท่านั้น
หลังจากได้รับคำตัดสินให้ถือสิทธิ์ภาคเก่าแล้วทาง ไชโยโปรดักชั่นส์ ก็ได้ขายสิทธิ์ทำการจัดจำหน่ายอุลตร้าแมนหกภาคแรกในหลายๆ ประเทศรวมถึงฉบับ DVD ที่ทาง BCI Eclipse จัดจำหน่ายในอเมริกา นอกจากนั้นยังมีความพยายามผลิตอุลตร้าแมนภาคใหม่ Ultraman Millenium และ Ultraman Elite เพื่อสร้างเป็นการแสดงและขายสินค้า รวมถึงการพัฒนา ‘Project Ultraman’ ออกเป็นรายการทีวีเพื่อฉายในประเทศจีน
ณ จุดนี้เองที่ทำให้ทาง Tsuburaya Productions ต้องยื่นฟ้องอีกคดีหนึ่งและทำให้มีการต่อสู้กันในศาลนานาชาติอีกครั้ง ก่อนที่ศาลอุธรณ์ของประเทศไทยได้ประกาศว่าทางไชโยโปรดักชั่นส์ไม่สามารถสร้างอุลตร้าแมนภาคใหม่ได้นั้บตั้งแต่ปี 2007
แต่ก็ใช่ว่า ไชโยโปรดักชั่นส์ จะเลิกขยับขยายการงานของตนเองเพราะอย่างไรเสียพวกเขาก็ยังมีสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายอุลตร้าแมนหกภาคแรกอยู่ และได้โยกสิทธิ์นั้นให้กับทางบริษัท UM Corporation ที่มีถิ่นฐานอยู่ในอเมริกาเมื่อปี 2007 ซึ่งบริษัทดังกล่าวก็ได้ฟ้องร้องทาง Tsuburaya Productions ที่นำฟุตเตจอุลตร้าแมนภาคเก่าๆ ออกมาฉายทาง Youtube เมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา
ความเคลื่อนไหวของ Tsuburaya Productions ในช่วงที่มีปัญหาด้านกฎหมาย
ในระหว่างที่ไชโยโปรดักชั่นส์ ขยับขยายธุรกิจการขายสิทธิ์อุลตร้าแมนภาคเก่า ทาง Tsuburaya Productions ก็ยังสามารถผลิตอุลตร้าแมนภาคใหม่ออกมาได้ เริ่มต้นที่ Ultraman The Next ที่ไม่ประสบความสำเร็จนักในตลาดต่างชาติที่ตอนนั้นกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ที่ยังไม่ชัดแจ้งว่าจะจบลงทางไหน
จนกระทั่งปี 2005 ที่มีการสร้าง Ultraman Max ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาคเก่าเลย ก่อนจะตามมาด้วยการสร้าง Ultraman Mebius ในปี 2006 โดยเลี่ยงที่จะบอกเล่าเรื่องของอุลตร้าแมนภาคเก่าในเนื้อเรื่องแบบดั้งเดิม และทั้งสองภาคนี้ก็ได้รับสิทธิ์ในการฉายนอกประเทศต่อมาในเวลาภายหลัง
จากนั้นในช่วงปี 2008 ศาลฏีกาของประเทศไทยก็ได้ตัดสินคดีว่าทาง Tsuburaya Productions เป็นเจ้าของสิทธิ์ของุลตร้าแมนเพียงผู้เดียว แต่ในทางกลับกันเมื่อปี 2009 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาไทยกับศาลเขตโตเกียวได้ตัดสินให้ทาง Tsuburaya Proctions ต้องชำระค่าปรับจากการละเมิดตัวละครอุลตร้าแมนภาคเก่าๆ
ส่วนคดีที่ฟ้องร้องในอเมริกา ทางศาลรัฐแคลิฟอร์เนียก็เพิ่งมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 2018 ว่าทาง UM Corporation หรือ UMC ที่ทำการฟ้องร้องทาง Tsuburaya Produtions เนื่องจากนำเอาฟุตเตจของอุลตร้าแมนภาคเก่ามาฉายบน Youtube โดยยกเอกสารได้รับสิทธิ์ในการเผยแพร่อุลตร้าแมนนอกประเทศญี่ปุ่นแต่เป็นผู้เดียวมาเป็นหลักฐาน ทางศาลได้ตัดสินว่าเอกสารดังกล่าวไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากเอกสารที่นำมาแสดงต่อศาลนั้นเป็นฉบับสำเนาดิจตอลที่เหล่าคณะลูกขุนเห็นตรงกันว่า เป็นภาพที่สามารถปลอมแปลงหรือทำเทียมขึ้นมาได้ไง และยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเอกสารที่มีที่มาจากเอกสารต้นฉบับตัวเดียวกัน
ผลจากการตัดสินนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อคดีภาพยนตร์ Dragon Force : So Long, Ultraman อันเป็นภาพยนตร์ที่ทางบริษัท BlueArc ของประเทศจีนเป็นผู้สร้างขึ้น โดยอิงว่าได้รับสิทธิ์ในการสร้างนี้มาจากเอกสารมอบสิทธิ์ตัวเดียวกับที่ทางอเมริกาไม่เชื่อว่าเป็นของจริง และอาจจะส่งผลที่ชัดเจนต่อคดีต่อๆ ไปของเรื่องลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนในอนาคต
สรุปผล ณ จุดนี้ เราจะมีบุญได้ดู อุลตร้าแมน ฉบับฮอลลีวูดหรือไม่ ?
การต่อสู้กันในศาลหลายประเทศ ต่างฝ่ายต่างชนะและแพ้กันหลายๆ ครั้ง ในฐานะคนตามข่าวก็มีความสับสนเล็กน้อยว่าใครกันแน่ที่พูดจริง เพราะบางครั้งคำพูดของแต่ละฝ่ายก็ไปขัดแย้งกับสิ่งที่ตัวเองเคยพูดเมื่อช่วงเวลาก่อนหน้า และทั้งสองเจ้าก็ต่างพยายามเคลมว่าตัวเองเป็นผู้ถือสิทธิ์อุลตร้าแมนทุกตน
และเนื่องจากคดีอีกหลายคดีก็ยังไม่สิ้นสุด ทำให้ยังไม่มีบริษัทในชาติที่ซีเรียสเรื่องลิขสิทธิ์กล้าเข้าไปยุ่มย่ามเกี่ยวกับการซื้อสิทธิ์มาทำใหม่ในฉบับฮอลลีวูด ดังนั้นที่มีการกล่าวอ้างว่า Will Smith ได้รับปากเล่นหนังอุลตร้าแมนก็อาจจะยังไม่ใช่ความจริงเท่าใดนัก หรือถ้ามีอยู่จริงก็อาจจะต้องรออีกหลายสิบปีแบบที่ Ghost In The Shell หรือ Akira เคยโดนมาก่อน
เรามั่นใจได้ว่า อุลตร้าแมนฉบับทีวี ที่เป็นตนใหม่ๆ จะถูกสร้างต่อไปเรื่อยๆ และจะได้ฉายนอกประเทศต่างๆ แบบที่เราเห็นในตอนนี้ อุลตร้าแมนฉบับฮอลลีวูดนั้น คนดูแบบเราๆ ก็ต้องร้องเพลงรอต่อไปกันอีกนาน
เรียบเรียงจาก : Answerman – Why Hasn’t Ultraman Been Given The Hollywood Treatment?
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก
Leave a Reply