Answerman : ทำไมหนังอนิเมะจากญี่ปุ่นถึงไม่เข้าฉายทุกโรง

Share

Brooks ถาม :

อนิเมะอย่าง หลับตาฝันถึงชื่อเธอ ได้กลายเป็นหนังฮิตทั่วโลกแล้วก็มีบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่าง Fathom Events (บริษัทที่ถนัดการจัดอีเวนท์ฉายหนัง อย่าง SAO ภาคหนังโรงในอเมริกาก็เป็นบริษัทนี้ที่จัดงาน)  อย่าง Funimation (บริษัทที่ชำนาญการในสายอนิเมะของอเมริกา) ที่เคยจัดฉายภาพยนตร์ ดราก้อนบอล Z มาก่อน แต่แล้วทำไมภาพยนตร์อนิเมชั่นฝั่งญี่ปุ่นถึงยังไม่ได้รับการฉายแบบวงกว้างเหมือนอนิเมชั่นอเมริกาเรื่องอื่นๆ ทั่วไปล่ะ สำหรับผมเนี่ยการที่อนิเมะไม่ได้ฉายทั่วไปนี่มันเหมือนมีการแบ่งแยกชนชั้นเลยนะ ขนาดอนิเมชั่นเนื้อหาธรรมดาๆ อย่าง Nut Job 2 (ไม่เข้าฉายในไทย) หรือ Sing ยังได้ฉายทั่วประเทศเลย หรือว่ามันมีอคติของพวกไดโนเสาร์ที่มองว่าหนังที่ไม่ได้ทำในฝั่งฮอลลีวู้ดกันเองทำให้บริษัทต่างๆ ไม่กล้าเสี่ยงเอาอนิเมะญี่ปุ่นออกฉายในโปรแกรมปกติแต่ไปเสี่ยงตายกับการ์ตูนพื้นๆ จากฝั่งฝรั่งมากกว่า หรือว่าจริงๆ มันมีเหตุผลอะไรวุ่นวาย

 

Answerman ตอบ :

ก่อนอื่นใดเลยอยากให้เอาความคิดที่ว่า ‘มีคนเกลียดชังอนิเมะ’ ออกจากหัวไปก่อน ไม่มีผู้ใหญ่คนไหนที่หลับหูหลับตา ‘เกลียด’ อนิเมะญี่ปุ่นอย่างไม่มีเหตุผล และถ้าหากคนมีตำแหน่งใหญ่โตในบริษัทคิดว่าการปล่อยอนิเมะญี่ปุ่นลงโรงมันทำเงิน พวกเขาก็ต้องมองอนิเมะไม่ต่างจากผลงานเรื่องอื่นๆ ที่เป็นถุงเงินของเขาอยู่แล้ว

แต่อนิเมะญี่ปุ่นไม่ใช่ถุงเงินที่ว่า เหมือนที่พวกเราคนเสพอนิเมะอยากให้มันเป็นอีเวนท์ยิ่งใหญ่อลังการระดับที่ทุกมุมทั่วโลกจะต้องสนใจ แต่อนิเมะไม่ใช่อะไรแบบนั้นและอาจจะไม่มีทางเป็นได้ด้วย ซึ่งมันก็มีเหตุผลใหญ่ๆ อยู่สามข้อ

 

1 . การนำภาพยนตร์ออกฉายในวงกว้างนั้นใช้เงินมหาศาลอย่างมาก

ภาพยนตร์ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน แม้จะทำรายได้ค่อนข้างสูงในประเทศไทย แต่ก็ยังวางตัวเองเป็นภาพยนตร์ฉายเฉพาะเครือ SF อยู่

การปล่อยหนังของสตูดิโอใหญ่ๆ ใช้เงินมากอย่างยิ่ง เพื่อให้โรงหนังเฟรนไชส์ใส่ใจหนังเหมือนกับหนังใหญ่ทั่วไป หนังเรื่องหนี่งๆ จะต้องโฆษณาให้เหมือนกับหนังใหญ่ทั่วไป นั่นหมายความว่าต้องทุ่มเงินประมาณ 20-40 ล้านดอลลาร์ (ในไทยเองก็อยู่ในระยะ 10-50 ล้านบาท โดนประมาณ) สำหรับการโฆษณาทั่วประเทศ แม้ว่าบริษัทลิขสิทธิ์การ์ตูนในปัจจุบันจะสามารถทำรายได้ดีกว่าสมัยก่อนแล้วก็ตาม ถ้าจะต้องทุ่มเงินขนาดนั้นใช้ในการตลาด ก็บ้าแล้ว เพราะเงินก้อนระดับ 20-40 ล้านดอลลาร์เนี่ยสามารถเป็นทุนสร้างอนิเมะได้หลายเรื่องเลยเหอะ! แล้วต่อให้เขาทุ่มทุนกันขนาดนั้นก็ยังมีปัญหาที่เราจะพูดในข้อต่อไป…

 

2. อนิเมะไม่ได้ดึงคนดูได้มากขนาดนั้น

ถึงจะมีรางวลการันตี แต่ภาพยนตร์ The Red Turtle ทำรายได้ในอเมริกาไปเพียง 22 ล้าน บาท ในไทยทำได้แค่ประมาณ 190,000 บาท

ถึงเหมือนว่าทุกคนรอบๆ ตัวคุณจะดูอนิเมะ หรือเปิดใจรับอนิเมะ …แต่ประชากรส่วนใหญ่ของโลกยังไม่ได้เปิดใจรับขนาดนั้น ถ้าคุณลองไปสำรวจกับประชาชนทั่ว คุณจะพบว่ามีอเมริกันชนน้อยก่า 10% ที่รู้ว่าอนิเมะคืออะไร (ในไทยอาจจะรู้จักเยอะกว่า แต่ส่วนใหญ่จะโดนเหมารวมว่าอนิเมะทุกสิ่งอันคือ การ์ตูนช่อง 9 ไม่ก็ เซเลอร์มูน) แล้วต่อให้ลงไปถามกลุ่มแฟนๆ หรือ โอตาคุ ก็มีกลุ่มแฟนเฉพาะแยกย่อยลงไปอีก อย่างสายหลักเอย, สายดราม่าเอย, สายเซอร์วิสเอย, สายรางวัลเอย, สาย Y เอย ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากๆ ที่ภาพยนตร์อนิเมะจากญี่ปุ่นจะดึงดูดคนส่วนมากจนถึงขนาดที่จะยอมถ่อออกจากบ้านเพื่อไปยังโรงภาพยนตร์ได้

 

3. คนดูทั่วไปไม่ได้สนใจอนิเมะขนาดนั้น

ปัญหานี้จะในไทยหรือในอเมริกาก็เป็นคล้ายๆ กัน คือถ้าใครเคยลองชวนคนไม่ใช่แฟนอนิเมะ หรือชีวิตนี้รู้จักแค่การ์ตูนช่วงเช้าๆ การจับพวกเขามานั่งดูอนิเมะยุคใหม่มันก็เหมือนกับพยายามกรอกยาขมเข้าปากอยู่ดี คนส่วนมากไม่ได้แคร์ขนาดนั้น เพราะเนื้องานมันการ์ตูนมากไป สีสันไม่เหมาะกันบ้านเรามากไป แล้วก็มนไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วไปสนใจเท่าใดนัก (ถ้าไม่มีประเด็นไฮไลท์มาก) คนที่ไม่ได้ตามอนิเมะแล้วเขาก็ไม่ได้มีติ่งอนิเมะอยู่ใกล้ตัว การดูอนิเมะก็ไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับเขา

ส่วนนี้ตัว Justin Sevakis บอกในบทความของเขาเองว่า เขามีทฤษฎียาวๆ ว่าทำไมคนถึงไม่สนใจอนิเมะ ไม่ว่าเขาจะชอบอะไรก็ไม่สำคัญ มันเกี่ยวกับว่าเรื่องที่่พวเขาจะเสพนั้นสามารถตอบคำถามสองข้อนี้ได้เปล่า 1 – พวกเขาคาดหวังอะไรเมื่อเข้าไปดู กับ 2 – สิ่งที่เข้าไปดูนั้นเข้ากันได้กับกลุ่มสังคมที่เขาอาศัยอยู่หรือไม่ ดังนั้นถ้าคนดูหนังทั่วไปไม่เคยดูอนิเมะมาเลย เขาก็ไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ แล้วพอเพื่อนๆ ในกลุ่มสังคมของพวกเขาไม่ได้ดูอนิเมเลย กลุ่มคนในสังคมเหล่านั้นก็จะตอบสนองกับอนิเมะญี่ปุ่นว่า ‘ฉันไม่มีทางชอบมัน’ แล้วสุดท้ายพวกเขาก็จะตัดสินใจไปดูอะไรที่คนหมู่มากดูอย่าง Transformer ภาคใหม่ ถ้าเทียบกับของกิน ก็เหมือนกับที่คนเราอาจจะเดินเข้าไปสั่ง กะเพราะไก่ไข่ดาว ร้านเดิม แทนที่จะเดินไปลองกินอาหารอินโดนิเซียที่เพิ่งมาเปิดใหม่

อาริเอตี้ มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว (The Secret World of Arrietty) ทำรายได้กว่า 670 ล้านบาทในอเมริกา ไม่ใช่เพราะเป็นงานของ Ghibli แต่เพราะเป็นงานที่มาจากนิยายของประเทศอังกฤษที่คนท้องถิ่นคุ้นเคย

แล้วสำหรับครอบครัวที่ไม่ได้เสพอนิเมะหลากหลายมาพวกเขาก็จะมองแค่ว่า “อนิเมะมันก็แค่การ์ตูนสำหรับเด็ก” แล้วก็รู้สึกว่าให้เด็กดูของแบบนี้ก็ปลอดภัยดี (และในความจริงพ่อแม่เด็กก็พยายามหากิจกรรมอื่นๆ ที่พวกเขาสามารถร่วมกิจกรรมกับเด็กอยู่แล้วด้วย) ทำให้อนิเมะที่ได้รับความนิยมใน Box Office ของอเมริกาไม่พ้นการ์ตูนจำพวก โปเกมอนหลายๆ ภาคเนื่องจากมีภาคทีวีฉายในอเมริกามายาวนานจนคนคุ้นเคย , ยูกิโอ ซึ่งการ์ดเกมดังติดตลาดนานแล้ว หรืออย่างเรื่อง อาริเอตี้ มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว (The Secret World of Arrietty) ซึ่งเรื่องหลังที่ทำรายได้สูงในอเมริกา เพราะตัวต้นของเรื่องเป็นหนังสือสำหรับเด็กอยู่แล้ว (ตัวอนิเมะเอาโครงเรื่องมาจากนิยาย The Borrowers ซึ่งเป็นนิยายจากประเทศอังกฤษ) และด้วยเหตุที่ฝรั่งคุ้นเคยกับนิยายตัวต้นฉบับแล้วทำให้ อาริเอตี้ สามารถทำรายได้เปิดตัวสูงเป็นอันดับ 9 ใน Box Office ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ถือว่าเป็นเดือนที่หนังขายยากที่สุดของปี แต่ก็ไม่ได้แปลว่าอนิเมะญี่ปุ่นฮิตขึ้นแต่อย่างไร

สำหรับประเทศไทยก็จะมีจุดร่วมกันเล็กน้อยที่ก่อนหน้าเรื่อง หลับตาฝันถึงชื่อเธอ (Your name.) จะมาฉาย อนิเมชั่นจากญี่ปุ่นที่ทำรายได้ดีเกิน 10 ล้านนั้น ก็จะเป็น โดราเอม่อน หรือ โคนัน ภาคต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าพ่อแม่ลูกสามารถเดินเข้าโรงไปหนังดูด้วยกันแถมถ้าเด็กเสียงดังก็ไม่โดนดุมาก และกรณีที่ หลับตาฝันถึงชื่อเธอสามารถทำรายได้สูงถึง 40 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้วนั้น ภาพยนตร์เรื่องอื่นไม่สามารถทำการโปรโมทสเกลใหญ่ได้ จนการเบียดเสียดชิงรายได้ของหนังที่เข้าในสัปดาห์ต่อจาก หลับตาฝันถึงชื่อเธอ ไม่รุนแรงมากแบบที่เป็นตามปกติ

อนิเมะนั้่นอย่างไรก็เป็นสินค้าเฉพาะทาง (Niche) แม้แต่ในญี่ปุ่นเองอนิเมะส่วนมากก็ถือว่ายังเป็นเรื่องเฉพาะทางอยู่ ภาพยนตร์อนิเมะส่วนมากในญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้เข้าฉายในวงกว้าง แต่เป็นการฉายจำกัดโรงและจำกัดเวลา ทำให้ภาพยนตร์ในกลุ่มนี้ไม่ได้เหมาะสมกับทุกคนเมื่อออกมานอกประเทศไม่ว่าจะอเมริกาหรือไทย และด้วยเหตุผลทางธุรกิจ การจำกัดโรงและเวลาการฉายนั้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด อย่างในอเมริกาเองที่ทาง Fathom Events ทำการฉายหนังทางเลือกทุกสัปดาห์ ทั้งหนังคนแสดงจากประเทศอื่นและอนิเมชั่นจากหายประเทศ เพราะมันคุ้มค่าแดละมีลุ้นการทำกำไรมากกว่าการจ่ายเงินโฆษณาไปเป็นล้านแต่สุดท้ายมียอดรายได้กลับมาแค่หลักหมื่นหรอก

เรียงเรียงจาก Answerman : Why Can’t Anime Get A Wide Theatrical Release?