นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็เป็นโอตาคุชอบมังงะกับอนิเมะเช่นกัน และบางคนก็ชื่นชอบผลงานจากญี่่ปุ่นอย่างมากจนเอามาตั้งแต่เป็นชื่อของที่่พวกเขาค้นพบ อย่างเช่น มีคนเคยตั้งชื่อตัวหนอนกำมะหยี่ (Velvet Worm) พันธุ์ใหม่ ด้วยชื่อว่า Eoperipatus Totoro ตามสิ่งมีชีวิตประหลาดที่ปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ของ Studio Ghibli / ดาวเคราะห์น้อยหลายดวง ถูกตั้งชื่อตามนักเขียนมังงะชื่อดัง อย่าง อาจารย์ Taniguchi Jiro และ อาจารย์ Anno Moyoco / มีคนตั้งชื่อดาราจักรที่อยู่ละแวกใกล้กันว่า Akira กับ Tetsuo / ชาวฝรั่งเศสเพาะพันธุ์กุหลาบพันธุ์ใหม่ ที่ใช้ชื่อพันธุ์ว่า ‘กุหลาบแวร์ซายลส์’ / หรือนักวิจัยของญี่ปุ่นเองที่ตั้งชื่อโปรตีนชนิดใหม่ว่า ‘พิคาชู’
ซึ่งเรื่องเหล่านี้แฟนมังงะกับอนิเมะหลายคนอาจจะไม่เห็นผ่านตาเท่าใดนัก หากว่าไม่ใช่คนที่อ่านนิตยสารวิทยาศาสตร์เป็นประจำ และในครั้งนี้ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชื่อ Peachpetals_ ได้เปิดเจอบทความจากนิตยสารแนวสัตววิทยา ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษาคม ปี 2013 และพบว่า นักวิทยาศาสตร์สองท่าน คือ คุณ Fujimoto Shinta กับ คุณ Miyazaki Katsumi ได้ค้น Tardigrade สปีชีส์ใหม่ ในสกุล Neostygarctidae และได้ตั้งชื่อสิ่งมีชีวีตพันธ์ดังกล่าวว่า Neostygarctus Lovedeluxe
Tardigrade หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘หมีน้ำ’ เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคนก็ได้พบ Tardigrade สปีชีส์ใหม่ ในบริเวณ้ำใต้น้ำของเกาะมิยาโกะประเทศญี่ปุ่น และถือเป็น Tardigrade ในสกุล Neostygarctidae ชุดแรกที่หาเจอได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคนได้ระบุรายละเอียดในการตั้งชื่อว่า Lovedeluxe เอาไว้ดังนี้
ที่มาของชื่อ ‘Lovedeluxe’ นั้นมาจาก ‘Love Deluxe’ ผู้ใช้พลังงานเหนือธรรมชาติที่สามารถควบคุมเส้นผมของตัวเอง ซึ่งปรากฎตัวอยู่ในผลงานมังงะเรื่อง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 4: เพชรแท้ไม่มีวันสลาย มังงะชื่อดังในญี่ปุ่นที่วาดและแต่งโดย Araki Hirohiko ลักษณะภายนอกของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่นี้ดูเหมือนกับมีเส้นผมคลุมอยู่ทั้งตัวคล้ายกับพลังของ ‘Love Deluxe’
สแตนด์ Love Deluxe นั้นเป็นสแตนด์ของ ยามากิชิ ยูคาโกะ และเป็นการอ้างอิงถึงอัลบั้มเพลงของนักร้อง Sade ที่วางแผงเมื่อปี 1992
Source: Shinta Fujimoto and Katsumi Miyazaki “Neostygarctus lovedeluxe n. sp. from the Miyako Islands, Japan: The First Record of Neostygarctidae (Heterotardigrada: Arthrotardigrada) from the Pacific,” Zoological Science 30(5), 414-419, (1 May 2013). via Peachpetals_, Tarotaro’s Tumblr
Leave a Reply