คุณ Fukami Makoto ผู้เขียนบท Psycho-Pass และนักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ คุณ Ishiyama Ko ได้มาร่วมรายการสำหรับสตรีมมิ่งออนไลน์ของทาง SKY PerfecTV! Animax เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ปี 2019 ที่ผ่านมา โดยในรายการดังกล่าวมีการถกกันว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำการสร้าง ระบบซีบิล ขึ้นมาในโลกแห่งความจริง ซึ่งตอนนี้ทาง Animax ได้ทำการตัดต่อรายการออกเป็นสี่ช่วงและนำมาออกอากาศผ่านทาง YouTube แล้ว
ภายในรายการ คุณ Ishiyama กล่าวว่า ณ ปัจจุบันนี้มีการฟีเจอร์บางอย่างเป็นไปได้จริงแล้ว อย่างเช่นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data (เพื่อทำการประเมินผลล่วงหน้า) ในการประเมินว่าบุคคลใดมีความสุ่มเสี่ยงที่จะก่ออาชญากรรม ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ได้ถูกประยุกต์ไปใช้กับงานต่อต้านการก่อการร้าย ด้วยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ต้องสงสัยที่อาจจะเป็นอาชญากร ปัญหาก็คือการรับมือกับกลุ่มข้อมูล และควรจะพิจารณาข้อมูลพื้นฐานอย่างไร ทำให้เกิดปมปัญหาที่มีว่าคนเราจะนิยาม ‘คนดี’ อย่างไร (‘ดี’ ในที่นี้คือการไม่เคยกระทำเรื่องผิดกฎหมาย? แล้วความคิดต่อสิ่งที่ยังไม่ได้กระทำจะเป็นอย่างไร?) คุณ Ishiyama ยังระบุว่าด้วยว่า ในตอนนี้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีอัตราความแม่นยำสูงถึง 70% แล้ว และน่าจะมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สำหรับกรณีที่ปัญญาประดิษฐ์จะมีการพัฒนาในระดับที่สูงอย่างที่ปรากฎในเรื่อง Psycho-Pass คุณ Ishiyama ระบุว่า สิ่งเหล่านั้นอาจจะเป็นไปได้ในอนาคต หากมนุษย์สามารถกระทำการวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) สมองของมนุษย์ได้ ในอีกประเด็นหนึ่ง คุณ Fukami ได้ยกทฤษฏีที่ว่า สมองของมนุษย์นั้นทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องรับสัญญาณและทำการ ‘จูน’ เป็นคลื่นความถี่ของร่างกายในแต่ละส่วน ดังนั้นสติสัมปชัญญะของมนุษย์อาจจะไม่ได้อยู่ภายในสมองก็ได้ สุดท้ายทั้งสองคนก็สรุปว่า การศึกษาปัญญาประดิษฐ์ นอกจากศึกษาเรื่องนอกจากการทำงานของสมองมนุษย์แต่ต้องศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ภายนอกอีกด้วย
คุณ Fukami ได้กล่าวว่า คุณ Urobuchi Gen ที่เป็นผู้วางคอนเซปท์ของเฟรนไชส์ Psycho-Pass นั้นตั้งใจให้เรื่องราว ‘ไม่ใช่แนวดิสโทเปีย (Dystopia) ทั่วๆ ไป’ แต่เป็นการสำรวจอย่างจริงจังว่า เทคโนโลยีจะส่งกระทบต่อทุกภาคส่วนของชีวิต คุณ Ishiyama ยังได้กล่าวว่าเฟรนไชส์ Psycho-Pass นั้นน่าสนใจมากๆ เพราะมีการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต ที่ในหลายๆ แง่ยังถูกนักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยกันอยู่
ณ ตอนนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ข้อมูลในการพยากรณ์เหตุอาชญากรรมก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง อย่างในสหรราชอาณาจักร ที่ตอนนี้ได้มีการวิเคราะห์ปัญญาประดิษฐ์ที่จะทำนายว่าบุคคลแต่ละคนมีโอกาสที่จะก่อเหตุ หรือ ตกเป็นเหมื่อของอาชญากรรมได้แบบไหน ในสหรัฐอเมริกาก็มีการสร้าง PredPol ที่ทางมหาวิทยาลัยซานตาคลารา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมรีกา ที่สามารถทำนายได้ว่าบริเวณใดจะเป็นจุดที่เกิดเหตุอาชญากรรมชุกชุมในอนาคต และเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา หน่วยงาน Human Rights Watch ก็ทำการวิจารย์รัฐบาลจีนที่ทำการควบคุมผู้คนในมณฑลซินเจียงด้วยการใช้ระบบตรวจตราแบบคาดการณ์อนาคต
Source: Mainichi Shimbun’s Mantan-Web
Leave a Reply