ผู้เขียน Say Hello To Black Jack เขามาร่วมถกเรื่องการทำงานของผู้ช่วย

Share

หลังจากที่อาจารย์ Shunsuke Kakuishi ปล่อยมังงะเรื่อง Yawara No Michelanangelo การ์ตูนยูโดที่ถือว่าเป็นผลงานเดบิวของเขา (ภาพทางขวา) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เขาก็สะท้อนใจชีวิตการทำงานของผู้ช่วยนักเขียน และเขาก็ได้โพสท์บล็อก เพื่อร้องขอให้อาจารย์ Norifusa Mita (ผู้เขียน Invester Z, Dragon Zakura ครูซ่าท้าเด็กแนว) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านเพื่อขอค่าจ้างล่วงเวลาระหว่างที่เขาทำงานให้เป็นเวลา 11 ปี 7 เดือน แต่การเรียกร้องนี้ไม่ใช่เพื่อการรับเงินค่าจ้างดังกล่าวเพียงอย่างเดียว แต่ Kakuishi หวังว่าบล็อกของเขานั้นจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมมังงะ

แต่ในขั้นต้นเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดดราม่าขึ้นในวงกว้าง และอาจารย์ Shuho Sata (ผู้วาด Say Hello To Black Jack, Umizaru) ก็ได้โพสท์ในบล็อกของตัวเองไว้ว่า เขารู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับโพสท์ของ Kakuish เพราะเขาเคยทำงานทั้งในฐานะผู้ช่วยและนักำเขียนการ์ตูน ทำให้เขาเข้าใจมุมมองทั้งฝั่ง Kakuishi (ผู้ช่วย) และ อาจารย์ Mita (นักเขียน)

Sato ได้บอกว่าเขาเคยทำงานในสภาพแวดล้อมที่แย่ในช่วงวัย 20 ต้นๆ ที่เจ้าตัวเคยไปเป็นผู้ช่วยให้กับเรื่อง ไคจิ เกมมรรณะ ที่เขาบอกว่าต้องทำงานสัปดาห์ละ 90-140 ชั่วโมง ได้นอนเฉลี่ยอยู่สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง และได้ค่าจ้างแค่ชั่วโมงละ 200 เยน นับเฉพาะเวลาทำงานไม่มีค่า O.T. แต่อย่างใด ด้วยประสบการณ์นี้ตัวของเขาเคยตั้งปณิธานว่าเขาจะดูแลลูกน้องให้ดีถ้าได้เป็นนักเขียนตัวจริ

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ Sato ก็ยอมรับว่าพอมาเป็นนักเขียนการ์ตูนเต็มตัวเอง เขาก็ยังไร้เดียงสาอยู่มาก เขาพยายามจ่ายค่าจ้างผู้ช่วยและให้เวลาพักผ่อนที่เพียงพอแต่สุดท้ายก็ละเมิดกฎหมายแรงงานไปด้านใดด้านหนึ่งอยู่ดี Sato เล่าเขาปรับนโยบายการจ้างของเขาเมื่อเวลาผ่านไป เขาได้ปรับเงินเดือนขั้นต้นของผู้ช่วย อย่างในตอนนี้ก็ปรับเงินขึ้นให้ปีละสองครั้ง และจ่ายโบนัสเป็นค่าจ้างสีเดือนทุกๆ ปี เขายังพยายามจ่ายเงินครอบคลุมสวัสดิการของผู้ช่วยอย่างซื้อประกันให้ และเสนอให้ผู้ช่วยได้พักสัปดาห์ละสองวัน แต่เขาก็ยอมรับว่าตัวเขาเองก็ปฏิบัติกับลูกน้องอยู่ในกรอบ ‘สีเทา’ เพราะบางทีผู้ช่วยของเขาก็ต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมงอยู่

Sato ยังตอบความเห็นของ Kakuishi ที่ว่า ผู้ช่วยไม่กล้าร้องขอ หรือ จูงใจผู้เขียนได้มากพอ เพราะนักวาดมีฐานอำนาจที่สูงกว่าผู้ช่วยมาก ใน Blog ของ Kakuishi ได้บอกว่า นักวาดการ์ตูน ไม่ทำการจ่ายค่าจ้างให้เพียงพอกับผู้ช่วยเพราะนักวาดตั้งใจจะไม่อยากจ่ายเอง ซึ่งทางอาจารย์ Sato บอกว่า นักวาดหรือเจ้าของผลงานไม่สามารถแบ่งค่าสิทธิ์ (Royalty) ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ตัวนักวาดกับทางบริษัทมาให้กับทางผู้ช่วยด้วย ซึ่งอาจารย์อธิบายต่อว่า นักเขียนการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จที่มีรายได้มากพอ ก็ควรที่จะขึ้นค่าจ้างผู้ช่วยและให้โบนัสบ้างเ พราะตัวค่าสิทธิ์นั้นจะถูกเก็บไว้ให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการจัดการ แต่นักเขียนบางคนก็อาจจะประสบปัญหาทางการเงินได้เช่นกันถ้าเกิดงานขายไม่ออกขึ้นมา

ทาง Kakuishi ได้ตอบทวิตเตอร์เกี่ยวกับความเห็นของอาจารย์ Sato ว่าตัวเขาเข้าใจดีว่า ผู้ช่วยไปยุ่งเกี่ยวกับค่าสิทธิ์ไม่ได้อยู่แล้ว แม้ว่าตัว Sato จะเสนอให้ทำสัญญาจ้างพ่วงค่าสิทธิ์เข้าไปกับผู้ช่วยที่ต้องการ เรื่องนี้ Kakuishi เห็นว่าเป็นความคิดที่ไม่มีทางเป็นจริงเสียเลยสำหรับผู้ช่วยนักเขียนที่มีฐานะต่ำชั้นกว่ามาก และ Kakuishi ได้โต้ตอบความเห็นของอาจารย์ Sato ที่ว่า “พวกเราควรทำอย่างไร ?” ซึ่ง Kakuishi บอกว่าอยากให้นักเขียนการ์ตูนทุกคนให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแรงงานให้มากกว่านี้ ก่อนที่ Kakuishi จะเมนชั่นกลับไปหา Sato ว่า “คุณไม่มีความรู้สึกอะไรเลยหรือครับ ?”

อาจารย์ Sato ได้ตอบทวิตเตอร์ของ Kakuishi และขอโทษในความไม่รู้สึกอะไรต่อสถานการณ์อันตึงเครียดของผู้ช่วยกับนักวาด ก่อนจะทำการเขียน Blog เพื่อขออภัยอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็เตือนใจไว้เล็กน้อยว่าในอนาคตตัว Kakuishi อาจจะเกิดภาวะลักลั่นย้อนแย้งขึ้นมาเพราะตอนนี้เขาก็กลายเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพแล้ว

Kakuishi เคยทวิตเปิดเผยว่าตัวเขาเองก็จ้างผู้ช่วยมาบ้างในบางครั้งเช่นกัน และพวกเขาก็ทำงานอยู่ในด้วยกันในอพาร์ทเมนท์บ้านๆ ถูกๆ ของเขา และตัว Kakuishi จ่ยาค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 20,000 เยนต่อวัน และให้ทำงาน 8 ชั่วโมง มีพักเบรค 1 ชั่วโมง ทั้งยังไม่เคยให้ผู้ช่วยทำ O.T.

ส่วนอาจารย์ Sato ก็สงสัยว่า Kakuishi จะสามารถทำตามกรอบพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานของญี่ปุ่นได้ แม้ว่าเขาจะมีความตั้งใจและความพยายามก็ตาม ตัวของเขาเองในฐานะนักเขียนการ์ตูนที่มีประสบการณ์มากกว่า (และมีรายได้มากกว่า) เขาจึงสามารถทำตามกฎหมายแรงงานได้ แต่สำหรับนักเขียนหน้าใหม่มันอาจจะปฏิบัติได้ยากกว่า

Kakuishi ได้ยืนยันความตั้งใจของเขาที่จะให้ความรู้และปรับเปลี่ยนการปฏิบัติต่อผู้ช่วย เขายังบอกด้วยว่า ไม่มีที่ทำงานไหนที่มัน ‘ขาวหมดจด’ ก่อนที่เขาจะถกเรื่องนี้กับคนทำงานในอุตสาหกรรมเดียวกันต่อไปในทวิตเตอร์

สภาพการทำงานในอุตสาหกรรมการ์ตูนนี้ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายแรงงานมาโดยตลอด แต่ก็มีนักเขียนการ์ตูนบางคนที่ปฏิบัติต่อผู้ช่วยอย่างดีอีกด้วย

อย่างเช่น Kunio Ajino ที่เคยทำงานกับ Yoshihiro Togashi ผู้วาด Hunter X Hunter โดยที่เขาทำงานตั้งแต่เ คนเก่งทะลุโลก เปิดตัวในปี 1990 จนถึงช่วงที่อาจารย์ Togashi เขียน Level E จบในปี 1997 ซึ่งตัว Ajino รวบรวมเรื่องราวช่วงนั้นมาเขียนเป็นมังงะชื่อ Sensei Hakusho ที่ออกตีพิมพ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ในมังงะเล่มดังกล่าวได้ระบุไว้ว่า อาจารย์ Togashi ไม่ค่อยใช้เงินกับตัวเองเท่าไหร่ แต่อาจารย์จะเอาค่าจ้างมาจ่ายเป็นเงินโบนัสสี่เดือนให้กับผู้ช่วยนักเขียนทุกปี ตามปกติแล้วหลายๆ บริษัทในญี่ปุ่นจะให้โบนัสในช่วงฤดูร้อนกับฤดูหนาว แต่สำหรับผู้ช่วยนักวาดการ์ตูนที่เป็นงานฟรีแลนซ์จะแตกต่างกว่านั้น อย่างไรก็ตามอาจารย์ Togashi ปฏิบัติกับผู้ช่วยอย่างดีจน Ajino ยังจดจำได้ถึงวันนี้ อดีตผู้ช่วยท่านนี้ยังบอกเล่าด้วยว่านักเขียนที่แสนโด่งดังผู้นี้มักจะจ่ายเงินค่าข้าวรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ช่วยตกการ และ Ajino ยังบอกด้วยว่า อาจารย์ Togashi เป็นมิตรและคอยให้คำแนะนำในการทำงานเสมอ เช่นเดียวกับที่อาจารย์ชอบเล่นมุกกับผู้ช่วยอยู่เป็นประจำด้วย

Sources: Nikkan Sports (link 2), Anime Now! (Sarah Nelkin) via Yaraon! (link 2), Buzz Plus News

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*