Answerman :  ทำไมถึงต้องมีการทำภาพยนตร์อนิเมแบบ ‘สเปเชียลอิดิชั่น’ ออกมาด้วย           

Share

 Ryan ถาม :

ทำไมภาพยนตร์สไตล์ที่รวมเอาตอนเก่ามาฉายใหม่ถึงได้ฮิตนักในญี่ปุ่น แล้วก็ไม่ค่อยเห็นในฝั่งอเมริกาประกาศลิขสิทธิ์เข้ามาฉายสักเท่าไหร่ด้วย ผมไม่เข้าใจเรื่องนี้เลย

 

Answerman ตอบ :

วัฒนธรรมการทำภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1970 ที่ยังไม่มี วิดีโอ หรือ อินเตอร์เน็ตทำให้การย้อนฉายเป็นไปได้ยากยิ่ง

ภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกันฉายนั้นถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1970 ก่อนที่จะมีวิดีโอ หรือ ดีวีดี หรือ บลูเรย์ถือกำเนิดขึ้นมา สิ่งที่ภาพยนตร์แนวนี้ช่วยเติมเต็มให้ยุคนั้นคือการกลับมาดูอนิเมะซ้ำอีกครั้งหลังจากที่อออกอากาศไปแล้วครั้งหนึ่ง เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นไม่ค่อยจับเอารายการมาฉายซ้ำเสียเท่าไหร่ และเมื่อไม่มี วิดีโอ/ดีวีดี/บลูเรย์ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต รายการไหนที่ฉายไปแล้วก็จะฉายไปเลย (ยกเว้นบางกรณีที่สถานีโทรทัศน์ตัดสินใจกลับเอามาฉายใหม่อีกรอบ ซึ่งยากที่จะคาดการณ์ได้ในยุคนั้น) เพราะฉะนั้นภาพยนตร์ที่ตัดต่อใหม่จึงเป็นโอกาสไม่มากนักของแฟนๆ ที่จะได้รับชมอนิเมะแบบมีเนื้อหาค่อนข้างเต็มอีกครั้งหนึ่ง

แม้จะเข้าสู่ช่วงยุค 80 ที่มีวิดีโอให้สะสมกันแล้ว การสะสมการ์ตูนสักเรื่องก็เป็นอะไรที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักอยู่ดี เพราะในยุคนี้รายการที่ฉายทางทีวีมีจำนวนตอนที่ยาวมากกว่าสมัยนี้อย่างมหาศาล (สมัยนี้ถ้าไม่ใช่เรื่องยาวที่มีมาก่อนก็มักจะไม่เกิน 50 ตอน แต่สมัยก่อนอาจจะมียิงยาวไป 200 ตอน) แล้วด้วยความยาวที่อัดใส่เทปได้แค่ 2-3 ตอนต่อวิดีโอหนึ่งม้วน แถมยังมีสนนราคาราว 11,000 เยน (ในยุคนั้น) มีคนจำนวนเพียงหยิบมือที่จะเก็บอนิเมะในรูปแบบนั้นได้ครบถ้วน ส่วนร้านเช่าวิดีโอก็มีชั้นวางจำนวนไม่มากนัก มีแต่นักสะสมพันธุ์ดุเท่านั้นล่ะที่จะเก็บวิดีโอคุณภาพต่ำที่สภาพแย่ลงทุกครั้งหลังชมหรือก็อปสำรองไว้อีกที นอกจากนั้นในยุคนั้นก็ใช่ว่ารายการทุกรายการจะทำวิดีโอออกขายด้วย

เมื่อตลาด Home Video เติบโตมากขึ้นในช่วงปลายยุค 80 ถึง ต้นยุค 90 ผู้คนเริ่มซื้ออนิเมะเต็มซีรี่ส์ จากรูปแบบ Laser Disc ก่อนจะเปลี่ยนเป็น DVD กับ Blu-ray ตามลำดับ แต่ว่าราคาของตัวม้วนวิดีโอหรือแผ่นในญี่ปุ่นก็ได้ลดราคาลงมามากนัก ราคาของพวกมันยังสูงอยู่ (7,000 – 12,000 เยน ต่อแผ่น หรือประมาณ 20,000 เยน ขึ้นไปสำหรับแบบ Box-Set) ทำให้คนที่ซื้อยังมีแค่กลุ่มแฟนเหนียวแน่นเท่านั้น และถ้าว่ากันตรงๆ คนส่วนมากก็คงไม่ว่างมานั่งดูทั้งซีรี่ส์อีกรอบหนึ่งเหมือนกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีแค่โอทาคุเท่านั้นที่จะทำแบบนี้ มันแค่เป็นการยากที่จะมีคนกลับมากินเค้กทั้งชิ้นอีกรอบแล้วบอกว่าอร่อยเหมือนครั้งแรกที่กิน

Accel World: Infinite∞Burst หนึ่งในตัวอย่างของภาพยนตร์อนิเมะที่ทำการตัดต่อใหม่แล้วเพิ่มฉากจำนวนไม่มาก

ด้วยเหตุนี้ภาพยนตร์แนวย้อนความทั้งซีรี่ส์จึงกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการบอกเล่าเนื้อหาสำคัญของอนิเมะเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเวลาที่กำลังจะมีภาคต่อออกมา การจัดงานฉายภาพยนตร์ที่รวมเนื้อหาของอนิเมะเรื่องนั้นๆ จึงเป็นจุดรวมพลของแฟนๆ อนิเมะเรื่องนั้น ได้อย่างดี แล้วก็เป็นอีเวนท์เหล่านี้ที่เป็นการทำตลาดที่ดีสำหรับการเอาของที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะซีรี่ส์นั้นมาขายอีกรอบ (รวมถึงแผ่นของภาคเก่า) ซึ่งโอทาคุทั้งหลายที่มางานแบบนี้ก็ยินดีที่จะเก็บของที่ออกใหม่ แม้ว่าของในงานจะมีภาพเพิ่มเติมมาแค่ไม่กี่ภาพก็เถอะ

แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไปกว่าเรื่องก็คือ ภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกัน ใช้ต้นทุนในการสร้างที่ต่ำเอามากๆ แม้ว่าจะมีคนไปดูหนังในโรงเลยก็ตาม เพราะการทำภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกันนั้นแทบจะไม่จำเป็นต้องเขียนภาพขึ้นมาใหม่ (หรือถ้าทำใหม่ก็มีเพิ่มแค่ไม่กี่นาที) ตามปกติแล้วก็ใช้นักพากย์แค่คนเดียวในการพากย์บรรยายเพิ่ม ดนตรีประกอบก็ไม่ต้องแต่งใหม่ เสียงประกอบก็ใช้ของเก่าได้ เมื่อการทำหนังใหม่ทั้งเรื่องสามารถทำได้ด้วยการจ้างคนตัดต่อเพิ่มอีกสองสามคน ความคิดในการทำภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกันเลยกลายเป็นลักษณะ “ทำไมจะไม่ทำล่ะ” แทน

Neon Genesis Evangelion : Death & Rebirth ภาคนำฉบับทีวีมาตัดต่อใหม่ที่ ‘ขายได้’ ทั้งในบ้านเกิดและนอกบ้านเกิด ซึ่งหาได้ยากยิ่ง / ภาพจาก – Alchetron.com

สำหรับตลาดนอกประเทศญี่ปุ่นก็เลยไม่ค่อยมีเจ้าไหนจะนำเอาภาพยนตร์ลักษณะนี้มาขายซ้ำนัก บางทีอาจจะเอามาแถมเป็นแผ่นรวมให้ Box Set ไม่ก็ไม่สนใจทำมันไปเลย ส่วนที่มีคนทำขายก็มักจะมียอดขายที่ไม่ดีมากนักแต่อาจจะทำออกมาขายด้วยเหตุผลที่ว่าการผลิตแผ่นภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกัน มันใช้การผลิตและการเก็บสินค้าที่น้อยกว่าการผลิตใหม่แบบยกชุด ยกเว้นก็เพียงภาพยนตร์จากอนิเมะบางเรื่องที่ฮิตมากๆ อย่าง Evangelion: Death & Rebirth ที่จะทำมาขายเยอะและขายได้ค่อนข้างดี แต่สำหรับในญี่ปุ่นนั้น ภาพยนตร์ที่นำเอาอนิเมะฉบับทีวีซีรี่ส์มารวมกัน ยังคงมีความจำเป็นอยู่ แม้ว่าความจำเป็นนั้นจะเป็นเพียงเป้าหมายในการจัดอีเวนท์เชิงการตลาดก็ตามที

เรียบเรียงจาก : Answerman – Why Are Compilation Films Made? 

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*