Alen ถาม:
อนิเมะหลายเรื่องมีฉากใช้ความรุนแรง, ฉากติดเรทต่างๆ หรือ ฉากที่ตัวละครโดนทำร้าย หรือไม่ก็มีส่วนผสมของทั้งสามอย่างปนกัน เรื่องดังที่มีชื่อเสีย(ง)แบบนี้ ที่พอจะนึกออกเลยก็มี บันทึกมรณะ เกมล่าท้าอนาคต หรือถ้าเอาเร็วๆ นี้ก็เป็น Happy Sugar Life อยากจะทราบว่าทีมงานผู้ผลิตอนิเมะรู้สึกอย่างไรเวลาสร้างอนิเมะเหล่านี้? งานที่พวกเขาทำอยู่น่าจะดึงดูดดราม่าได้ดีอยู่นะ
Answerman ตอบ:
มันก็แล้วแต่… เหมือนทุกสิ่งอย่างในธุรกิจอนิเมะล่ะ ทุกคนมีความเป็นปัจเจกของตัวเอง, ทุกคนมีมาตรฐานความสบายใจที่ต่างกัน และทุกคนก็มีรสนิยมที่แตกต่าง ด้วยเหตุนี้คนทำงานทุกคนจึงอาจจะไม่รู้สึกกับงานของตัวเองไปในทิศทางเดียวกัน
โดยเฉพาะ อนิเมเตอร์ ที่มักจะไม่ได้เห็นตัวงานที่พวกเขาสร้างทั้งตอน หรืออาจจะไม่ได้เห็นสตอรี่บอร์ด หรือต่อให้เห็นพวกเขาก็อาจจะไม่มีเวลาใส่ใจกับมันเท่าไหร่ เพราะว่านั่นไมม่ใช่งานหลกของพวกเขา งานของอนิเมเตอร์แต่ละคนคือการ ‘ดูแลแต่ละคัท (Cut)’ ที่ตัวของพวกเขารับผิดชอบ ซึ่งอาจจะเป็นแค่ช่วงไม่กี่วินาทีในเรื่องนั้น และในบทสัมภาษณ์ที่ Answerman เคยอ่านมานั้น อนิเมเตอร์มักจะไม่ค่อยใส่ใจในฉากที่ตัวเองไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย
ในการทำอนิเมะนั้น ตามปกติผู้กำกับ กับ ผู้กำกับอนิเมชั่น จะทำการมอบหมายงานในแต่ละคัทให้กับคนที่เหมาะที่สุดในการวาดฉากนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะปรับให้สอดคล้องกับรสนิยมและความสนใจของอนิเมเตอร์แต่ละคน บางคนอาจจะเป็นติ่งสายกุโระ ก็อาจจะเหมาะ ให้วาดฉากโหดไส้ไหล บางคนโอตาทุสายทหาร บางคนก็นิยมหน้าอกหน้าใจ จุดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจของระบบการสร้างอนิเมชั่นของญี่ปุ่นที่อนิเมเตอร์แต่ละครสามารถปลดปล่อยตัวตนและทักษะศิลป์อันเป็นปัจเจกของตัวเองออกมาในพื้นที่เล็กๆ อย่างที่คนอาจจะคาดไม่ถึง และความเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ทำให้เกิดแฟนด้อมของ ‘ซาคุกะ’ ตามขึ้นมาด้วย (Sakuga – 作画 ฉากเล็กๆ น้อยๆ ในอนิเมะ ที่มีรายละเอียดสูงและอาจจะวาดด้วยอนิเมเตอร์เพียงหนึ่งคน ซึ่งสไตล์การทำงานนี้แทบจะไม่ปรากฎในอนิเมชั่นฟากโลกตะวันตก)
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การสร้างอนิเมะทุกเรื่องจะต้องมอบงานให้คนที่ชอบหรือยินดีที่จะวาดเสมอไป ในเมื่อพวกเขาเป็นมืออาชีพ เป็นคนที่ถูกจ้างมาให้ทำงาน ดังนั้นหลายๆ คนก็จะต้องเขียนโดยไม่ได้อินอะไรกับเนื้องานมากนัก แถมอนิเมเตอร์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เห็นงานที่เสร็จสิ้นของตัวเองจนกว่าอนิเมะเรื่องนั้นจะได้ออกอากาศจริง มีอนิเมเตอร์หลายๆ คนที่ Answerman (และผู้แปล) มีโอกาสได้พูดคุยด้วยแล้วโพล่งออกมาว่า “เอ่อ… ตอนที่เขียนนั่นไม่เข้าใจเรื่องเลยสักนิดอ่ะ” หรือไม่ก็ “แม่มเอ้ย! อนิเมะเรื่องนี้ไม่เหมาะกับตูจริงๆ ด้วย” แต่พวกเขาก็ยังตั้งใจเขียนงานออกมาอย่างสุดฝีมือ เพราะพวกเขาถือว่าเป็นมืออาชีพในการทำงานคนหนึ่ง
และงานอนิเมะไม่เคยตีกรอบตัวเองว่าจะต้องผลิตผลงานเป็นแนวเด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดีเท่านั้น แล้วก็มีอนิเมะจำนวนน้อยมากๆ ที่จะโหดเหี้ยมมากพอจนสามารถสะกิดต่อมหงุดหงิดของผู้ใหญ่ที่ดูอนิเมะมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าใครที่ได้เข้ามาทำงานในวงการอนิเมะจะทราบดีว่าอะไรบ้างที่ไปทำอนิเมะแบบฉายทีวีได้ หรืออะไรควรฉายแบบอื่น และหลายๆ คนในวงการก็ไม่ได้สามารถควบคุมตัวงานที่พวกเขารับมาได้ ด้วยความที่งานอนิเมะส่วนใหญ่เป็นการจ้างให้สร้างอีกต่อหนึ่ง แล้วก็ในโลกธุรกิจของผู้ใหญ่นั้น มีงานอะไรเข้ามาก็ต้องรับไว้ก่อนเป็นการดี
หรือถ้ามีเหตุการณ์สุดซวยจริงๆ อย่างการที่ดราม่าในสังคมช่วงนั้นทำให้การฉายอนิเมะตอนดังกล่าวสุ่มเสี่ยงจะเจอดราม่ากองใหญ่ อนิเมะเรื่องนั้นก็อาจจะโดนเลื่อนฉายไปก่อนสำหรับผลงานที่สร้างเสร็จแล้ว (อย่างในกรณีของ Full Metal Panic หรือ School Days) ส่วนตัวงานที่ยังสร้างไม่เสร็จก็อาจจะโดนยกเลิกไปได้ (อย่างในกรณีของ Nidome No Jinsei Wo Isekai De)
ฝั่งนักพากย์เองก็ไม่ค่อยต่างกัน โดยเฉพาะนักพากย์หน้าใหม่ที่ยังไม่โด่งดังก็ย่อมพยายามคว้าโอกาสด้วยการรับงาน บางครั้งงานในยุคเข้าวงารใหม่ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดรู้สึกพลาดในภายหลังได้ โดยเฉพาะถ้าเผลอเคยทำงานวงการติดเรทมาก่อน ตัวอย่างที่น่าจะโด่งดังที่สุดของกรณีนี้ ก็คงจะเป็นกรณีของนักพากย์ดังอย่าง อิโนะอุเอะ คิคุโกะ ที่เคยภาค OVA แนวเฮนไตเรื่อง Ogenki Clinic ได้ทำการร้องกับทางบริษัทที่จัดทำอนิเมะเรื่องนี้แบบลิขสิทธิ์นอกเกาะญี่ปุ่นไม่ขายหนังแบบ Re-Release ที่มีเสียงพากย์ญี่ปุ่นด้วย (ตัวหนังที่พอหาซื้อได้นอกญี่ปุ่นจะมีแต่เสียงพากย์อังกฤษเท่านั้น) กระนั้นกรณีแบบนี้ก็มักจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก
แล้วการที่คอยทำให้งานไม่เดิน หรือทำตัวให้เพื่อนร่วมงานกับหัวหน้างานไม่โอเคได้ เพราะไม่ชอบเนื้อหาของงาน สุดท้ายก็มักเป็นการทำร้ายอาชีพของตัวเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องสามัญสำหรับธุรกิจสื่อบันเทิง ไม่ได้เฉพาะแค่ในญี่ปุ่นเท่าหรืองานอนิเมะเท่าน้ัน แม้แต่ในไทย ช่วงแรกๆ ของการทำงานน่าจะมีงานหลายๆ ชิ้นที่ทำให้รู้สึกขัดใจ ไม่โอเคว่าควรทำดีไหม แต่สุดท้ายในฐานะมืออาชีพคนหนึ่ง คนทำงานทุกคนก็ควรจะพิสูจน์ตัวได้ก่อนว่าสามารถทำงานปกติออกมาได้ผลดี จากนั้นสไตล์งานเฉพาะตัวจะสะท้อนให้เห็นว่าคนดังกล่าวควรทำอะไรต่อไป
เรียบเรียงจาก: Answerman – How Do Anime Staff Feel About Working On Controversial Anime?
Leave a Reply