เมื่อวิทยาศาสตร์เป็นเบื้องหลังของการสร้างการ์ตูนดังหลายๆ เรื่อง ประเด็นด้านวิทย์จึงถูกนำมาพูดถึงหลายๆ ครั้งในพิพิธภัณฑ์ หรือ นิทรรศการการ์ตูนต่างๆ หลายครั้ง อย่างเช่น ตัวละครแบบ อะตอม จากเรื่อง เจ้าหนูปรมาณู, ตัวละครจากเรื่อง Dragon Ball, Pokemon กับโลกที่ขยายพื้นที่ให้เห็นมากขึ้น และ ผ่าพิภพไททัน ต่างเคยจัดนิทรรศการที่เจาะลึกด้านเทคโนโลยี, ด้านฟิสิกส์ หรือด้านสัตววิทยามาก่อนแล้ว
การ์ตูนหุ่นยนต์อย่าง กันดั้ม ก็ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับรัฐบาลญี่ปุ่นในการถกอย่างจริงจังด้านการช่วยวิจัยยานอวกาศในโลกจริงด้วย
ทางสำนักพิมพ์ Kadokawa (ในประเทศญี่ปุ่น) จึงรวบรวมเอาข้อมูลจากการ์ตูนหลายต่อหลายเรื่องที่อาจจะจับเอาความสนใจของหลายๆ มารวมกันไว้ในหนังสือเล่มใหม่ที่พยายามตอบคำถามชวนฉงนในโลกการ์ตูน โดยได้คุณ Yanagita Rikao ผู้เขียนหนังสือ The Science Of Attack On Titan (วิทยาศาสตร์ใน ฝ่าพิภพไททัน) มาเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มใหม่ที่ในชุด Kuso Kagaku Dokuhon Horobi No Jumon De, Jibun Ga Horobiru! หนังสือเล่มใหม่ในชุดวิทยาศาสตร์จากโลกแฟนตาซี ที่ในเล่มล่าสุดนี้จะมาตอบคำถามยอดนิยมจากการ์ตูนทั้งเก่าทั้งใหม่ผ่านข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และข้อมูลอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง
สารบัญของหนังสือได้ระบุว่าภายในเล่มจะไขปริศนาเห่านี้ให้กระจ่าง
- จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากปราสาทลอยฟ้าในเรื่อง ‘ลาพิวต้า พลิกตํานานเหนือเวหา’ ถูกทำลายลง?
- ทำไมโปเกมอนของ ซาโตชิ ถึงแข็งแกร่งกว่าโปเกมอนป่าทั่วไป?
- จูกัดเหลียง ใน สามก๊ก มีความฉลาดขนาดไหนกันแน่?
- โทโดโรกิ จากเรื่อง My Hero Academia กับความแข็งแกร่งที่น่าประทับใจของเขา
- ถกกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับการกระทำของ โปปุโกะ (Pop Team Epic) เมื่อเธอทำลายอาคารของ Takeshobo
- ‘เนื้อ’ ที่ปรากฎในการ์ตูนโลกยุคหินในเรื่อง Hajime Ningen Gyatoruz จริงๆ แล้วเป็นเนื้ออะไรกันแน่?
- พฤติกรรมของ อูมารุ (อุมารุจัง ตัวแสบแอบเกรียน) ตอนอยู่ที่บ้านแบบอืดฉึ่งแล้วเอาแต่ร้องเสียงแปลกๆ นั้น เป็นพฤติกรรมที่อธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์นะ
- ความมหัศจรรย์ของหมัดที่สามารถทำลายล้างโลกได้ของ One Punch Man!
- ทำไมสีของหมึกในเกม Splatoon ถึงไม่ผสมปนเปกัน?
- ชิซุกะ ในเรื่อง โดราเอม่อน อาบน้ำบ่อยไปหน่อยไหม?
- พลังพิเศษจากเรื่อง Bungou Stray Dogs คณะประพันธกรจรจัด
- จงสรรเสริญ ‘มิสไซล์หน้าอก’ ของ มาชินก้า Z
- ห้องแรงโน้มถ่วงจากเรื่อง Dragon Ball Z
- จูชิมัตสึ ในเรื่อง Osomatsu-San เป็นมนุษย์จริงเหรอ?
- คุณสามารถใช้เครื่องเคลื่อนไหวสามมิติเอาชนะไททันได้จริงหรือ?
หนังสือเล่มนี้วางจำหน่ายในญี่ปุ่นไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา และคุณ Yanagita เคยเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์สำหรับผู้อ่านเยาวชนมาหลายต่อหลายเล่มโดยอ้างวัฒนธรรป๊อปดังๆ อย่าง Pokemon, Star Wars และเรื่องอื่นๆ มาแล้ว ชื่อของเขา Rikao ก็เขียนด้วนตัวคันจิ ‘理科雄’ ที่เป็นการนำเอาคำว่า ‘วิทยาศาสตร์’ (理科) กับ เพศขาย (雄) มารวมกัน ซึ่งนี่ไม่ใช่นามปากกาแต่เป็นชื่อตั้งขึ้นจริงๆ เพื่อเป็นการอุทิศให้กับ ยูริ กาการิน ซึ่งเดินทางไปบนห้วงอวกาศสองเดือนก่อนที่ตัว Yanagita Rikao จะถือกำเนิดขึ้นมา
[Via Nijimen]
หนังสือน่าสนจดีครับ คงต้องลองหามาอ่านดูบ้างแล้ว