Ivan ถาม:
ผมสังเกตมานานแล้วว่าทำไมมังงะ (มากกว่าคอมิคของฝั่งอเมริกา) มักจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็วกว่า มันเร็วมากจนสังเกตได้ว่ามงงะเล่มใหม่ๆ เปลี่ยนสีจากเหลืองเป็นขาวในช่วงเวลาไม่กี่ปีหลังจากที่ซื้อมา เพื่อนผมจะขำทุกครั้งที่เห็นผมเอารวมเล่มมังงะมาใส่ถุงเหมือนที่ผมใส่ให้กับคอมิคฝั่งอเมริกากับยุโรปแต่ผมก็ไมชอบที่มันเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (แถมใส่ถุงก็ดูไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่) ผมเพิ่งสังเกตช่วงหลังๆ ว่าสำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นก็เพิ่งปรับคุณภาพกระดาษด้วย หรือว่าการใช้กระดาษคุณภาพต่ำนี่เป็นเรื่องปกติเหรอ ?
Answerman ตอบ:
คุณไม่ใช่คนเดียวที่สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพสีของกระดาษที่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหลังจากเก็บไว้นานๆ หรอกครับ และในบางกรณีกระดาษก็จะบางและกรอบจนฉีกขาดได้ง่ายขึ้นด้วย และเหมือนว่าปัญหานี้จะกลายเป็นเรื่องลุกลามไปทั่วทั้งอุตสาหกรรมมังงะ ทั้งในฝั่งอเมริกา หรือแม้แต่ฝั่งประเทศไทยเองก็ตามที
การที่กระดาษหนังสือเหลืองและกรอบเป็นปัญหามาอย่างยาวนาน เป็นเรื่องที่ว่ากันว่าบรรณารักษ์ทั่วโลกต้องประสบพบเจอนับตั้งแต่มีการสะสมหนังสือขึ้นมาบนโลกด้วยซ้ำ สาเหตุนี้เกิดการที่กรดใน ไม้ ที่ถูกนำมาทำเป็นกระดาษนั้นไม่ถูกรีดออกมาด้วยกระบวนการทางเคมีก่อนที่จะถูกทำเป็นกระดาษราคาถูก ซึ่งกระดาษพวกนี้สามารถเกิดการออกซิเดชั่นกับอากาศอย่างเชื่องช้าจนทำใหกระดาษสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ และปัญหานี้่ก็จะเกิดขึ้นกับกาวที่ใช้ติดกระดาษเช่นกัน
เนื่องจากเรื่องกระดาษเป็นเรื่องเฉพาะทาง Answerman จึงได้ขอความรู้เพิ่มเติมจากทาง Ed Chavez อดีตผู้อำนวยการการตลาดของ Vertical สำนักพิมพ์ของประเทศอเมริกาที่จัดทำทั้งนิยาย, ไลท์โนเวล และ มังงของญี่ปุ่นในอเมริกามาเสริมข้อมูลส่วนนี้ให้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
“แม้ส่วนตัวผมจะไม่สามารถพูดได้ว่าสำนักพิมพ์เจ้าอื่นๆ ใช้สต็อคกระดาษประเภทไหน แต่ในส่วนของ Vertical พยายามที่จะใช้สต็อคกระดาษที่แกรมหนามากกว่า (ถ้ามีสต็อค) สำหรับหนังสือของพวกเรา อาจจะมีบ้างบางเรื่องที่ไม่ได้ใช้กระดาษแบบนั้น แต่โดยส่วนใหญ่เราพยายามไม่ใช่กระดาษรีไซเคิล พยายามใช้กระดาษสีครีมที่นิยมใช้กันในฝั่งเอเซีย กระดาษสีขาวมักจะเป็นกระดาษที่รีไซเคิล และการผ่านฟอกสีมาอย่างหนักจึงทำให้สีเหลืองได้เร็วขึ้น แล้วมักจะมีความบางมากกว่าซึ่งจะทำให้ มองทะลุได้ง่ายและมีขนาดเล่มที่บางกว่า ทำให้มีขนาดสันที่ดูบางลง (และจะทำให้มีพื้นที่ทากาวยึดหนังสือได้น้อยลง) สำหรับหนังสือการ์ตูนที่เขียนโดย เทะสึกะ โอซามุ หรือ กลุ่ม เซย์เน็น/โจเซย์ ทางเราก็จะใช้กระดาษแกรมที่หนากว่าปกติ เพื่อให้แสงไม่ทะลุผ่านกระดาษง่ายๆ ทำให้ผิวสัมผัสกระดาษนุ่มนวล และเพิ่มความทนทาน ซึ่งตามปกติแล้วกระดาษเหล่านั้นจะไม่ถูกนำมาใช้กับงาน มังงะ ปกติแล้วจะใช้กับฝั่ง นิยาย กัน (ในไทยเองก็นิยมใช้กระดาษแบบหลังกับนิยายแปล) และเราก็พยายามหาสต็อคกระดาษแบบนั้นมาใช้กับหนังสือของทางเรา แต่อาจจะใช้แกรมที่แตกต่างกันไป” (เนื่องจากสต็อกกระดาษเหล่านี้จะถูกโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ใช้ตีพิมพ์หนังสือกระแสหลักเสียมากกว่า ทำให้มังงะที่ถือว่าเป็นหนังสือระดับรองลงมาไม่ค่อยได้ใช้กระดาษคุณภาพนี้ และราคาต้นทุนของกระดาษคุณภาพสูงกว่าก็จะทำให้ราคาขายสุดท้ายของมังงะแพงขึ้นไปอย่างมากด้วยเช่นกัน ซึ่งจุดนี้ทั้งไทยและอเมริกาไม่ค่อยต่างกันมากนัก ด้วยเหตุที่ว่าราคากระดาษมีราคาตลาดกลางที่ใช้ตรงกันเกือบทั่วโลกนั่นเอง)
“ผมคาดหวังว่าทุกสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะเห็นว่างานพิมพ์เก่าๆ ของพวกเขาไม่ได้แค่เสี่ยงต่อการเกิดกระดาษเหลือง แต่หนังสือจะหลุดออกจากสันตามเวลาที่ผ่านไปด้วย ทุกวันนี้ด้วยยอดพิมพ์ที่ต่ำลงและการพิมพ์ก็ถูกพิมพ์โดยโรงพิมพ์มากประสบการณ์, ทำให้มีคนที่ถนัดในการพิมพ์ คอมิค/หนังสือการ์ตูน มากขึ้่น, ปัญหาที่เคยมีในสมัยก่อนก็กลายเป็นเรื่องปกติแล้ว (ส่วนนี้ Ed Chavez พูดถึงเทคนิคการพิมพ์ของโรงพิมพ์และช่างพิมพ์ แต่ละที่ แต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างในไทยเองก็มีโรงพิมพ์ที่ถนัดการพิมพ์ในสไตล์แตกต่างกันไป และหลายที่ไม่รับพิมพ์การ์ตูนเพราะไม่เข้าใจถึงจุดละเอียดอ่อนบางอย่าง อาทิ การตั้งค่าพิมพ์ไม่ให้สกรีนโทนเข้มหรือจางจนไม่เห็นเป็นลวดลาย แต่ในยุคนี้โรงพิมพ์ กับ ช่างพิมพ์หลายเจ้าจะเข้าใจปัญหาพวกนี้มากขึ้่น)
มือโปรตัวจริงต่างละเอียดและมีศักดิ์ศรีในการทำงานมากขึ้น ผมรู้มาว่าทาง Seven Seas (สำนักพิมพ์ในอเมริกา) มีความชำนาญด้านการพิม์อย่างมาก และทาง Dark Horse (สำนักพิมพ์ในอเมริกา) ก็ใส่ใจในรายละเอียด สัญลักษณ์ของทาง Viz ก็เข้มแข็งและดูดีมากเช่นกัน แต่คุณยังสามารถเห็นงานพิมพ์ที่ดูไม่ดีออกมาในตลาดอยู่เรื่อยๆ ใช่ ฉันพูดถึงนายอยู่พวกงาน Print On Demand อี๋ย์…พิมพ์แบบดิจิตอล” (Ed Chavez วีนแตกเบาๆ เพราะงานพิมพ์แบบดิจิตอล ยังให้งานละเอียดดีไม่พอสำหรับทางเขาที่ใช้ระบบออฟเซ็ต)
“กระดาษแกรมน้อย สีชาวพอเห็นทะลุหลังก็พอจะมีให้ใช้เป็นตัวเลือกที่แย่ที่สุดสำหรับทางเรา (Vertical) อย่างกระดาษที่ใช้ตีพิมพ์เรื่อง Limit ของอาจารย์ Keiko Suenobu เพราะกระดาษกลุ่มนี้เป็นกระดาษราคาถูก, สภาพใกล้ๆ กับกระดาษหนังสือพิมพ์ สีของมันจะขาวและคุณสามารถมองเห็นลักษณะความเป็นเยื่อกระดาษ การพิมพ์สีดำลงไปบนกระดาษแบบนี้จะดูดี และงานของอาจารย์ Suenobu จะลงหมึกหนักทำให้งานพิมพ์ออกมาดูไม่แย่เท่าไหร่หนัก แต่ตัวหนังสือที่ผมมีเก็บไว้ที่ออฟฟิศก็เริ่้มจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งๆ ที่เรื่องนี้เพิ่งพิมพ์ไป 18 เดือนเท่านั้น”
“และเพื่อป้องกันไม่ให้หนังสือเสียหาย เก็บหนังสือของคุณในตู้เก็บหนังสือ เก็บหนังสือในสถานที่ไม่โดนแดดส่องหรือมีความชื้นสูง และอีกอย่างที่สำคัญ ทำความสะอาดตู้เก็บหนังสือด้วย”
Ed Chavez เล่าเรื่องราวของเขามาไว้ตามนี้ แต่เรามีประเด็นเสริมอีกเล็กน้อยในส่วนที่สอดคล้องกับประเทศไทย อย่างและยังมีการทำต้นฉบับซึ่งแต่ละที่ก็จะใช้วิธีการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้มีผลต่อการเลือกกระดาษในภายหลังตามมา ส่วนการพิมพ์แบบดิจิตอลในยุคนี้ อาจจะมีความแม่นยำขึ้นมากกว่าที่ Ed Chavez บ่นถึง แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนักก็คือราคาในการพิมพ์ที่ยังสูงอยู่ไม่น้อย
ส่วนเรื่องประเภทกระดาษที่ Ed กล่าวถึงไปแล้ว ความจริงจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากเพราะแม้จะเป็นกระดาษประเภทเดียวกันมีการแบ่งชนิดแยกย่อยลงไปอีก ซึ่งส่วนนี้่แต่ละสำนักพิมพ์การ์ตูนในไทยก็จะเลือกใช้แตกต่างกันไปตามประเภทของหนังสือ หรือประเภทของเรื่อง ไม่ต่างกับที่กล่าวถึงในช่วงก่อนหน้าของบทความ แต่คุณภาพดีในมุมมองของผู้ผลิตกับลูกค้ามักจะไม่ตรงกันนัก ซึ่งตรงนี้คงต้องหาทางปรับความเข้าใจให้ตรงกันต่อไปในอนาคต
สรุปความจาก: Answerman – Why Does Manga Turn Yellow?
Leave a Reply