งาน Comic Market หรือ Comiket นั้นเริ่มต้นจากกิจกรรมของเหล่าแฟนๆระดับรากหญ้าในช่วง 70 แต่ในบัจจุบันภาพงานเล็กๆที่ไม่มีองกรค์ใหญ่ๆมาเข้าร่วมนั้นไม่ได้มีให้เห็นมานานแล้ว หลายคนอาจจะโอดครวญว่างาน Comiket สมัยนี้ไร้ซึ่งความบริสุทธิ์ดังแต่ก่อนไป แต่มันก็เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าการมาร่วมงานขององค์กรใหญ่ๆนั้นมีผลต่อวัฒนธรรมอนิเมในปัจจุบันอย่างไรบ้าง และเราก็ไม่ต้องไปหาข้อมูลที่ไหนไกล แค่จากการออกบูธของต่างๆในงาน Winter Comiket 2017 (C93) ก็จะทำให้คุณสามารถที่เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงได้
ในงาน Comiket นั้น นอกจากบูธสินค้าจากร้านสินค้าอนิเมและจากสตูดิโอผู้สร้างที่เราพบเห็นได้ทั่วไปแล้ว คุณยังจะได้พบกับบูธสินค้าจากบริษัทที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอนิเมอีกด้วย หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจมากๆคือบริษัท Kaspersky Lab บริษัทจากประเทศรัสเซียผู้ให้บริการซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ในหลายๆประเทศ ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ประกาศร่วมมือกับแฟรนไชส์อนิเมเรื่อง A Certain Magical Index ซึ่งนั่นหมายความตอนนี้ทาง Kaspersky Lab ได้เริ่มวางขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทโดยมีภาพวาดและแบรนด์ของ Index ประกอบด้วย นอกจากนี้ทางบริษัทได้มาปรากฎตัวตามงานอนิเมต่างๆอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในงาน Dengeki Bunko Festival เมื่อปีที่ผ่านมา มาสคอตหมีสีเขียวของบริษัทได้มาปรากฎตัวและถ่ายรูปคู่กับคอสเพลย์ตัวละคร Mikoto จากซีรีย์ส Index
และในงาน Comiket ฤดูหนาวที่ผ่านมา Kaspersky Lab ก็ยิ่งเพิ่มความครีเอทไปอีกด้วยการตั้งศาลเจ้าขนาดย่อมที่มุมของตัวเองในหอฝั่งตะวันตก โดยมีประตู tori และพนักงานของบูธในชุด miko อีกด้วย โดยบริษัทได้ไอเดียมาจากการที่ Comiket ฤดูหนาวนั้นจัดก่อนวันงานปีใหม่เพียงไม่กี่วัน ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไปศาลเจ้าเพื่อขอพรให้พบเจอแต่โชคดีในปีถัดไป และเพื่อเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้ ทาง Kaspersky ยังได้จัดตั้ง omikuji หรือกระดาษเซียมซีอีกด้วย โดยเนื้อหาของกระดาษนั้นไม่ใช่คำทำนายดวงชะตาแต่อย่างใด หากแต่เป็นเครื่องกาฉะของแท้เลยทีเดียว (ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าขำมาก เพราะแต่เดิม omikuji ก็เป็นการสุ่มดวงอยู่แล้ว)
บริษัท Boat Race Tamagawa ผู้เป็นเจ้าของสนามแข่งเรือมอเตอร์โบทในโตเกียว ก็ได้มาตั้งบูธในงาน Comiket ตั้งแต่ปี 2014 โดยการสร้างตัวละครที่ชื่อว่า Matsuri Shizunami ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวละครมาสคอทของบริษัท แน่นอนว่าทางบริษัทนั้นไม่ได้มีส่วนกี่ยวข้องกับอนิเมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เราสามารถเห็นได้ว่ามาสคอทของบริษัทนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากแฟรนไชส์ Kancolle ที่นำเรือในทะเลมาแปลงเป็นสาวน้อยน่ารักมาอย่างชัดเจน โดยในงาน C93 นั้น ทางบริษัทก็ได้มาเปิดบูธเพื่อวางจำหน่ายเสื้อยืดลายพิเศษที่มีขายแค่ในงานเท่านั้น
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าการชื่นชอบอนิเมในยุคสมัยนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องจ่ายเงินให้กับสิ่งจำเป็นทั้งหลายเช่นเสื้อผ้าที่ทันสมัยหรือความปลอดภัยทางไซเบอร์เท่านั้น แม้แต่อนิเมช่วงดึกก็เป็นสิ่งที่อินเทรนด์ในปัจจุบัน และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัททั้งหลายใช้อนิเมเป็นส่วนดึงดูดเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่พุ่งเป้าไปที่วัฒนธรรมครหนุ่มสาวทั่วไป
อย่างไรก็ตาม คุณก็จะยังคงเห็นโฆษณาเหล่านี้ในหลายๆบูธอยู่ดี
Comiket เป็นเพียงโลกเล็กๆของวัฒนธรรมอนิเมญี่ปุ่นในปัจจุบันที่มีทั้ง มังงะ เกม ของเล่น นิยาย และช่องทางอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดผลงานจำนวนมหาศาล ผู้คนที่มาร่วมงานอาจจะไม่รู้หรือสนใจสินค้าเกินครึ่งที่มาวางขายในงานด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างนั้นแฟนๆของตลาดเล็กๆก็ยังมารวมตัวกันที่งานๆเดียวได้
This is the beauty of Comiket. Even if you aren’t interested in doujinshi, you’re sure to find something in the corporate booths that will appeal to your tastes. Anime has become mainstream without sacrificing any of its niche appeal.
ซึ่งนี่แหละคือความงามของ Comiket ต่อให้คุณไม่สนใจสินค้า doujinshi ทั้งหลาย แต่คุณก็มั่นใจได้ว่าคุณจะพบสิ่งที่ตรงกับรสนิยมของคุณในบูธทั้งหลาย อนิเมได้เข้ามาสู่กระแสหลักโดยที่ไม่ต้องเสียสละความ niche ของมันเลย