หลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดรับการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับโลกภายนอกในช่วงปลายยุคเฮย์เซย์ การนำรูปแบบเลขสารระบบสากล อย่าง 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 365 วันต่อปีมาใช้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยให้เป็นสากลของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ปล่อยให้วัฒนธรรมของตนเลือนหายไป ในญี่ปุ่นยังมีการใช้หลัก “รัชศก(Gengo)” ที่จะเป็นการนับปีตามการครองราชย์ของจักพรรดิญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่นปี 2018 ยังเป็นคงเป็น ปีเฮเซย์ ที่ 30 เนื่องจากเป็นปีที่ 30 ในรัชสมัยของจักรพรรดิอากิฮิโกะ ในขณะที่การใช้ปีคริสตศักราชยังเป็นที่ยอมรับได้สำหรับเอกสารในประเทศญี่ปุ่น แต่ยังมีเอกสารราชการบางอย่างจำเป็นต้องใช้รัชศกในการกำกับปีที่จะแสดง เช่นในใบอนุญาตขับรถญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามสำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่น (ซึ่งมีอำนาจในการออกใบอนุญาตขับขี่) ได้เสนอการเปลี่ยนแปลงให้มีการระบุวันหมดอายุในใบขับขี่ตามปฏิทินตะวันตก โดยให้มีการเริ่มใช้ในปีถัดไป
จากการเสนอการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าเป็นเพราะจักรพรรดิ Akihito จะสละตำแหน่งจักรพรรดิของพระองค์ในปีหน้า เนื่องจากชื่อของยุคใหม่ยังไม่ได้มีการตัดสินใจ เช่นใบอนุญาตขับรถใหม่และที่เพิ่งมีการออกใบอนุญาตขับรถในปัจจุบันมีการระบุไว้เป็นอย่างเช่น ปีเฮเซย์ที่ 34 แต่ข้อมูลจะไม่ถูกต้องเนื่องจาก ปีเฮเซย์ที่ 31 จะถูกนับเป็นปีสุดท้ายของยุคเฮย์เซย์แล้ว
สำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าวว่าแรงผลักดันในการเสนอการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คือ การเพิ่มขึ้นของชาวต่างชาติที่ในประเทศญี่ปุ่นที่ครอบครองใบอนุญาตขับรถ และการใช้รูปแบบเลขสากลก็เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ เนื่องจากไม่มีประเทศใดนอกจากญี่ปุ่นที่ใช้รัชศกในการระบุวันที่ในเอกสารราชการ แต่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ไม่ได้ต้องการจะยกเลิกการใช้หลักรัชศกกำกับในใบอนุญาตขับรถโดยสิ้นเชิง แต่ตั้งใจให้มีการระบุทั้งรัชศก และคริสตศักราชควบคู่กันไปในใบขับขี่นั่นเอง
เหตุใดจึงเปลี่ยนแค่วันหมดอายุ?
สำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่า วันหมดอายุคือวันที่ที่ผู้ขับขี่รถยนต์ชาวต่างชาติจำเป็นต้องอ้างถึง และไม่มีความจำเป็นที่ใบอนุญาตขับขี่จะระบุในส่วนของวันเกิด อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังง่ายต่อหน่วยงานราชการเมื่อจำเป็นต้องทำการตรวจสอบ ในทางกลับกันผู้ขับขี่ชาวต่างชาติเองจะสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายดาย เมื่อใบอนุญาตขับขี่หมดอายุลง
ขณะนี้หน่วยงานยังคงรวบรวมข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากประชาชน หากข้อเสนอการใช้ปีคริสตศักราชในใบขับขี่ได้รับการอนุมัติ ก็จะมีการเริ่มใช้ในช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงนี้ญี่ปุ่นจะค่อยๆ ก้าวสู่สากลมากยิ่งขึ้น
ที่มา : Kyodo ผ่าน Hachima Kiko
ภาพ : Pakutaso Wikipedia/MOTOI Kenkichi, Pakutaso
Leave a Reply