Answerman – ทำไมช่วงหน้าร้อนถึงเป็นช่วงที่ มังงะ, อนิเมะ ชอบเล่าเรื่องผี

Share

คำถาม:

ทำไมชาวญี่ปุ่นถึงมองว่าหน้าร้อนเป็นเวลาเหมาะกับเรื่องสยองขวัญมากกว่าที่จะเป็นฤดูอื่นล่ะ

คำตอบ:

ภาพจาก – https://commons.wikimedia.org/

ถ้าตอบเร็วๆ ก็คือ เพราะในช่วงหน้าร้อนของญี่ปุ่นมีวันเทศกาลปล่อยผีแบบเดียวกับที่วันฮาโลวีนเป็นในฝั่งอเมริกาน่ะสิ แถมวันดังกล่าวยังเป็นวันหยุดยาวของชาวญี่ปุ่นอีกด้วย และชื่อของวันหยุดที่ว่าก็คือ วันโอบ้ง นั่นเอง

วันโอบ้ง หรือ เทศกาลบ้ง ถือว่าเป็นประเพณีกับวันหยุดที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น ที่กล่าวกันตามตำนานพุทธแบบญี่ปุ่นว่าเป็นวันที่เหล่าวิญญาณของผู้วายชนจะหวนคืนสู่โลกมนุษย์ จึงเป็นกุศโลบายให้ผู้คนเดินทางกลับบ้านไปเคารพบรรพบุรุษ ทำความสะอาดสุสาน รวมไปถึงการจัดงานรื่นเริงอย่าง เที่ยวงานวัด ซึ่งจะมีการเต้นรำบงโอโดริ เล่นเกมต่างๆ รับชมดอกไม้ไฟ และการเที่ยวบ้านผีสิงที่จะจัดอยู่ตามงานเหล่านี้ อย่างที่เราจะเห็นได้ใน มังงะ, อนิเมะ, ซีรีส์ หรือ หนังจากประเทศญี่ปุ่น และมีบางพื้นที่ที่จะการลอยโคมกระดาษ โทโระนากาชิ (Toro Nagashi) ลงสู่แม่น้ำหรือทะเลเพื่อเป็นการ ส่งวิญญาณสู่ปรภพ

การลอยโคมกระดาษ โทโระนากาชิ (Toro Nagashi) จากอนิเมะเรื่อง Sokyu No Fafner

แล้วเทศกาลโอบ้งเกี่ยวกับการเล่าเรื่องผียังไง ?

นอกจากที่วันเทศกาลโอบ้งจะเป็นการอุทิศและแสดงความเคารพต่อผู้วายชนม์แล้ว การได้ฟังเรื่องสยองขวัญชวนขนลุกให้ตัวเย็นเยียบลงบ้างจากอากาศร้อนชื้นที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นในช่วงหน้าร้อน นอกจากนี้ในงานเทศกาลโอบ้งยังเป็นช่วงวันหยุดยาวของญี่ปุ่นที่กิจการโดยส่วนมากนั้นจะหยุดทำการเพื่อให้ลูกจ้างที่เดินทางมาทำงานจากบ้านเกิดได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดบ้าง

ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมนิตยสารมังงะรายสัปดาห์ถึงมีการออกเล่มควบในช่วงวันหยุดนี้ และทำไมงาน Comic Market ถึงจัดในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ก็เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนมากไม่วุ่นวายกับการงานหรือการเรียนเพื่อที่จะมาร่วมงานนี้ได้

ทั้งนี้ ฮาโลวีน เองก็เป็นงานเทศกาลที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นเหมือนกัน ซึ่งเราจะพอได้เห็นข่าวงานอีเวนท์ที่จัดให้คนมาคอสเพลย์ตัวละครผีใจกลางเมืองบ้าง หรือ มีสินค้าที่ออกขายเกาะกระแสเทศกาลบ้าง แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วในช่วงฤดูร้อนก็ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องผีของพวกเขาอยู่ดี

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*