โปรดิวเซอร์ของสตูดิโอ Yaoyorozu เสนอระบบการสร้างอนิเมะใหม่ทดแทน ‘คณะกรรมการสร้างอนิเมะ’

Share

Yoshitada Fukuhara จากสตูดิโอ Yaoyorozu ที่รับหน้าที่โปรดิวเซอร์ของอนิเมะ Kemono Friends ได้นำเสนอพรีเซนเทชั่นที่ชื่อว่า “ระบบความร่วมมือที่แปรเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะ” (A Partnership System Turning Into the Production Committee System) ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติ Josei เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พรีเซนเทชั่นตัวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของาน Creative Content Research Association งานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยมีนักเรียนนักศึกษากับคณาจารย์ทั่วญี่ปุ่นมาร่วมกันนำเสนองานวิจัยที่พวกเขาจัดทำขึ้นมา

พรีเซนเทชั่นของ Fukuhara ชิ้่นแรกชี้ประเด็นถึงปัญหาในอุตสาหกรรมอนิเมะ แม้ว่าธุรกิจนี้จะมีมูลค่าทางตลาดมากกว่าสองล้านล้านเยนในปี 2016 แต่ถ้าอ้างอิงจาก “รายงานอุตสากรรมอนิเมะของญี่ปุ่นปี 2017” จาก สมาคมอนิเมชั่นประเทศญี่ปุ่น ( Association of Japanese Animations – AJA) ที่ทำการสำรวจเทรนด์ต่างๆ ของอุตสาหกรรมอนิเมะจนถึงเดือนตุลาคมปี 2016 ในรายงานดังกล่าวระบุว่า บริษัทผลิตอนิเมะ (หรือ สตูดิโออนิเมะ) ได้รับรายได้เพียง 230 ล้านเยน หรือราวๆ หนึ่งในสิบของมูลค่าทางการตลาด

จากข้อมูลชิ้นนี้ทำให้ Fukuoka นำเสนอเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมต้องอยู่ในภาวะยากลำบาก เหตุผลที่ Fukuoka ระบุไว้ประกอบไปด้วย :

  1. รายได้ที่ต่ำของอนิเมเตอร์
  2. โครงสร้างที่ทำให้สตูดิโออนิเมะไม่สามารถถือสิทธิ์ผลงานของตัวเอง
  3. โปรดิวเซอร์ที่มีความสามารถมีไม่มาก
  4. จากเทรนด์ที่นำอนิเมะไปจัดจำหน่ายในจีน ทำให้จีนเป็นแหล่งรายได้มหาศาล
  5. แม้ว่าการดัดแปลงอนิเมะจากสื่ออื่นจะมีผลประโยชน์อยู่มาก แต่ผู้จัดจำหน่ายมักจะไม่เปิดสัญญาที่ยืดหยุ่นในการรับต่อการรับค่าสิทธิ์จากงานออริจินัล
  6. การแบ่งค่าสิทธิ์จากผู้จัดจำหน่ายในต่างประเทศค่อนข้างตายตัว แม้ว่าจะเป็นรายได้ส่วนน้อย และค่าจัดจำหน่ายในต่างประเทศไม่สอดคล้องกับสถานะการณ์ปัจจุบันที่บริษัทส่วนใหญ่มักจะตบแต่งตัวเลขรายได้
  7. เพราะจำนวนงานในตลาดมีมากขึ้น ทำให้ปริมาณงานออริจินัลคุณภาพดีมีจำนวนลดลง และพนักงานที่สามารถผลิตงานได้ก็มีไม่มากพอ

ในตอนนี้ระบบ ‘คณะกรรมการสร้างอนิเมะ’ ครองตลาด แต่เดิมดีเคยมีระบบการสร้างอนิเมะอยู่หลายแบบ ตัวอย่างเช่นในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ 1990 การสร้างอนิเมะขึ้นอยู่กับทางสถานทีโทรทัศน์ร่วมกับสปอนเซอร์ต่างๆ ตัวระบบ คณะกรรมการสร้างอนิเมะ เพิ่งมาเป็นที่นิยมในช่วงกลางของทศวรรษที่ 1990 นี้เอง ตัวระบบ คณะกรรมการสร้างอนิเมะ เป็นระบบที่ประกอบด้วย บริษัทที่ถือสิทธิ์หลายๆ อย่างมารวมตัวกันเพื่อสร้างอนิเมะ ด้วยระบบนี้ทำให้ผู้จัดจำหน่ายแผ่น (DVD/Blu-ray) กลายเป็นจุดศูนย์กลางของธุรกิจ การระดมเงินทุนถูกระจายตัวไปยังบริษัทต่างๆ และใช้ทุกช่องทางในการจำหน่ายสินค้า รวมถึงร้านจำหน่ายสินค้ามือสองด้วย

แม้ว่ายอดการขายแผ่นจะตกลงไปมากกว่า 10% ในปี 2017 ตลาดของการขายแผ่นกลับสูงขึ้น 2.6% โปรดิวเซอร์ของอนิเมะจากทาง Kadokawa เคยระบุว่า แม้ว่าตลาดการขายแผ่นอาจจะมียอดลดลงมากกว่าสิบปีที่แล้ว แต่ตัวเขายังเห็นว่าตลาดการขายแผ่นยังคงเป็นตลาดที่สำคัญอยู่ดี

การทำงานในระบบ ‘คณะกรรมการสร้างอนิเมะ’ สตูดิโอสร้างอนิเมะจะผลิตงานที่รับการว่าจ้างจากฝั่งคณะกรรมการสร้างอนิเมะเท่านั้น และทางสตูดิโอมีหน้าที่แค่เพียงส่งงานที่เสร็จแล้วไปให้ ทางสตูดิโอไม่ได้รับรายได้จากค่าสิทธิ์ใดๆ และจัดการได้เพียงเงินทุนค่าผลิตเท่านั้น จนทำให้มีบางคนออกปากว่าระบบนี้่ทำให้สตูดิโอไม่ต้องรับความเสี่ยงเหมือนเมื่อก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบนี้ก็มักจะเป็นการขอผลงานที่มีคุณภาพสูงสุดจนทำให้มีเงินเหลือถึงมือสตูดิโออนิเมะได้ไม่มากนัก

และด้วยระบบดังกล่าวนี้ แม้ว่าบริษัที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการสร้างจะเป็นผู้ที่ดูแลจัดการสิทธิ์ของเรื่อง แต่การตัดสินใจปรับแก้แบบกะทันหันนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ (เพราะจะต้องส่งเรื่องเขาประชุมกองกลางก่อน) ตรงกันข้ามกับการผลิตอนิเมชั่นในต่างประเทศ อย่างเช่น Disney ที่เป็นผู้ถือสิทธิ์และออกทุนสร้างแต่เพียงผู้เดียวจนสามารถปรับแก้งานอย่างรวดเร็วได้

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Fukuhara จึงแนะนำ “ระบบหุ้นส่วน” ที่ในระบบนี้ สตูดิโออนิเมะจะอยู่ในตำแหน่งผู้นำในการทำงาน (หากเทียบกับระบบคณะกรรมการฯ ที่สตูดิโออนิเมะทำหน้าที่เป็นผู้ตามคำสั่งเท่านั้น) และผู้จัดจำหน่ายจากต่างชาติอย่าง Amazon หรือ Netflix เป็นหุ้นส่วนของพวกเขา บริษัทผู้จัดจำหน่ายจะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ตามสัดส่วนของเงินทุนผลิตอนิเมะจริงๆ เป้าหมายของการจ่ายค่าสิทธิ์ตามสัดส่วนนี้ก็เพื่อให้ลิขสิทธิ์ของอนิเมะดังกล่าวยังอยู่กับสตูดิโอผู้สร้าง และทางสตูดิโอจะสามารถขายสิทธิ์ไปยังธุรกิจอื่นๆ ได้เป็นการต่อไป

Fukuhara ได้กล่าวว่า “จะช้าหรือเร็วโครงสร้างธุรกิจ(แบบปัจจุบัน)จะต้องพังลง” หากในอุตสาหกรรมยังไม่สนใจธรรมเนียมที่เคยมีมาในอดีต ทั้งนี้ตัวเขายังบอกว่าไอเดียของเขาในการสร้างระบบหุ้นส่วนนี้ ไม่ใช่การนำมาทดแทนระบบคณะกรรมการสร้างอนิเมะโดยสิ้นเชิง เขาแค่อยากให้มีทางเลือกมากขึ้นให้กับอุตสาหกรรมอนิเมะ

สตูดิโอ Yaoyorozu ของ Fukuhara เป็นผู้ผลิตอนิเมะเรื่อง Kemono Friends และได้ยืนยันเมื่อเดือนพฤษภาคคมที่ผ่านมาว่าพวกเขาจะไม่กลับมาทำอนิเมะซีซั่นที่สอง สตูดิโอ Yaoyorozu กับ TATSUKI อดีตผู้กำกับของอนิเมะ Kemono Friends ซีซั่นแรกได้เปิดเผยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าพวกเขากำลังจะสร้างอนิเมะเรื่อง Kemurikusa

Sources: GigazineBusiness Insider Japan (Rio Nishiyama) via Yaraon!

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*