สำนักพิมพ์มังงะในประเทศญี่ปุ่นรวมตัวเปิดแคมเปญ ‘Stop! ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์’

Share

บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์รายยักษ์ของญี่ปุ่นได้มารวมตัวกันเพื่อเปิดแคมเปญต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยใช้ชื่อแคมเปญว่า ‘Stop! ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์’ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของทางสำนักพิมพ์ Kadokawa Shoten, Kodansha, Shogakukan และ Shueisha ที่จะออกมาแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมังงะละเมิดลิขสิทธิ์

ได้มีการเปิดเว็บไซต์ของแคมเปญดังกล่าว พร้อมรายละเอียดของผลกระทบที่มังงะละเมิดลิขสิทธิ์กระทบต่ออุตสาหกรรมมังงะ และลักษณะการละเมิดลิขลิทธิ์หลากหลายแบบที่ปรากฎอยู่ในตอนนี้ ทั้งการเปิดโฮสต์เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ข้อมูลในเว็บไซต์ระบุว่าเว็บไซต์เถื่อน FreeBooks ที่ปิดตัวไปแล้วมีผู้เข้าชมเดือนละ 17 ล้าน 5 แสนครั้งต่อเดือน ก่อนจะถูกปิดตัวลง ส่วน Mangamura มียอดเข้าชม 160 ล้านครั้งต่อเดือนก่อนถูกปิดตัวเช่นกัน จากยอดชมดังกล่าวถือว่าเว็บไซต์จะได้มีโอกาสได้รับรายได้จากค่าโฆษณาภายในเว็บเดือนหนึ่งราวหลายร้อยล้านเยน

เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์อีกแบบหนึ่งที่มีตัวตนในพื้นที่สีเทาก็คือ ‘เว็บไซต์ปลิง’ ที่ตัวเว็บนั้นไม่ได้รับรายได้โดยตรงจากค่าโฆษณา แต่จะได้รายได้จากบริการลิงค์เข้าไปคลิปเว็บที่ล็อก URL สำหรับโหลดไฟล์เอาไว้ เว็บดังกล่าวทำหน้าที่เหมือน เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) ค้นหาไฟล์มังงะที่ต้องการก่อนที่จะต้องกดลิงค์เว็บไปยังโฮสท์ที่เก็บไฟล์แยกอีกเว็บหนึ่ง ซึ่งกลุ่มสำนักพิมพ์พยายามผลักดันให้เว็บไซต์เหล่านี้กลายเป็นเว็บไซต์ผิดกฎหมายโดยตรง ซึ่งเว็บไซต์สไตล์หลังนี้ผู้ใช้งานจะถูกจำกัดจำนวนครั้ง และความเร็วในการโหลด และจำนวนการโหลดต่อเนื่อง ยกเว้นแต่ผู้ใช้งานจะตัดสินใจจ่ายค่าสมาชิกที่มีมูลค่าราย 40 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อหกเดือน

ฝั่งสำนักพิมพ์สามารถต่อกรกับเว็บไซต์ปลิงเหล่านี้ได้ด้วยการยื่นขอให้ทางเว็บไซต์ปลายทางที่เก็บไฟล์ทำการลบไฟล์ออก ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคมปี 2017 ทางสำนักพิมพ์ได้ยื่นเรื่องลบไฟล์ไปมากกว่า 33,000 ไฟล์ และ มีไฟล์กว่า 430, 000 ที่ถูกลบไปในปี 2016 แต่ไฟล์ที่ถูกลบไปนั้นก็จะถูกอัพโหลดอีกครั้งในพื้นที่อื่นต่อไป

เว็บไวต์เถื่อนบางแห่งใช้วิธีการอัพโหลดไฟล์ลงบน YouTube โดยทำคลิปเรียงตามหน้าวิดีโอที่เจ้าของช่องจะได้รับเงินผ่านค่าโฆษณาของทาง YouTube นอกจากนี้ทางเว็บไซต์แคมเปญ ‘Stop! ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์’ ยังพูดถึงเว็บไซต์ที่ปล่อยตอนหลุดมาก่อน ซึ่งเว็บไซต์สองแห่งหลักที่เป็นแนวดังกล่าวได้ถูกปิดตัวลงในปี 2017 แต่ก่อนเว็บนั้นจะถูกปิดพวกเขามีรายได้จากค่าโฆษณาราว 379 ล้านเยน

โปรแกรมแชร์ไฟล์อย่าง Winny, Share, Perfect Dark และ Cabos ที่ถูกใช้งานในญี่ปุ่น นั้นอาจจะไม่ได้รับความนิยมในฐานะช่องทางการเสพมังงะเถื่อนเนื่องจากต้องโหลดโปรแกรมข้างต้นในการโหลดไฟล์ และมีความเสี่ยงที่จะติดไวรัสสูง ซึ่งทางเว็บไซต์แคมเปญ ‘Stop! ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์’ ได้บอกว่า ผูู้ใช้ของโปรแกรมทั้งหลายที่กล่าวไปนั้นมียอดผู้ใช้ที่ลดลงอย่างชัดเจนหลังจากผู้ถือลิขสิทธิ์ได้ร่วมมือกับตำรวจในการตรวจสอบการแชร์ไฟล์เถื่อนที่นำไปสู่การจับกุมหลายคดี

และหลังจาก เว็บไซต์แคมเปญ ‘Stop! ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์’ เปิดตัวแล้ว นิตยสารมังงะยอดนิยมหลายเล่มก็ได้แสดงพลังความร่วมมือกันในการจัดแคมเปญนี้ อย่างเช่น ทวิตเตอร์ทางการของ Shonen Champion รายสัปดาห์ ก็ได้แชร์ภาพ โอตาคุปั่นสะท้านโลก กับ บากิ มาอยู่ร่วมกันคู่กับโลโก้ของแคมเปญ ‘Stop! ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์’

ทวิตเตอร์ทางการของมังงะกับอนิเมะเรื่อง Bungo Stary Dogs ได้ทวิตข้อความว่า ‘การใช้งานเว็บไซต์มังงะเถื่อน ไม่ใช่เพียงแค่ลดรายได้ของผู้เขียนมังงะ แต่ยังอาจจะสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้งานที่เขาไปรับชมเว็บไซต์เหล่านั้นด้วย’

ทวิตเตอร์ทางการของเฟรนไชส์ เซเลอร์มูน ก็ได้ทำการแชร์ลิงค์ และร้องขอให้ผู้อ่านเลิกอ่านมังงะผ่านช่องทางผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ทาง Shogakukan ยังได้เปิดเว็บไซต์แคมเปญรณรงค์สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ของตนเองเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งทางสำนักพิพมพ์คาดว่าจะช่วยรณรงค์ให้กำจัดเว็บไซต์เถื่อนเหล่านั้น และทำการโฆษณาแคมเปญละเมิดลิขสิทธิ์ลงในนิตยสารและสื่อออนไลน์ในเครือทุกพื้นที่

เว็บไซต์มังงะเถื่อน Mangamura ได้ปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่อตำรวจได้ทำการสืบค้นการกระทำผิดกฎหมายในเว็บดังกล่าวหลังจากทางกลุ่มสำนักพิมพ์ญี่ปุ่นได้ยื่นฟ้อเว็บไซต์เหล่านี้เมื่อปีที่แล้ว เมื่อเว็บไซต์ที่ว่าถูกปิดลง นักเขียนมังงะหลายคนได้ระบุว่ารายได้ของพวกเขาเพิ่มขึ้น และเป็นการทำให้คนอ่านมังงะเถื่อนกลับมาอ่านในช่องทางถูกกฎหมายมากขึ้น Gin Toriko นักเขียนมังงะโชโจแนวไซไฟ, Satake Akinori นักเขียนไลท์โนเวล, Amano Sakuya นักเขียนมังงะแนวตลก และ Yuuki Mitsuru ผู้สร้างซีรีส์ โชเน็น อนเมียวจิ จอมเวทปราบมาร ต่างเคยออกมาพิมพ์ข้อความแสดงความขอบคุณผู้อ่านหลังจากที่เห็นยอดซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมามาก่อนแล้ว

Source: Shuppan Kōhō Center’s website via Nijimen

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*