Answerman: งบในการสร้างอนิเมะมีผลต่อคุณภาพไหม?

Share

“A loyal reader” ถาม:

งบในการสร้างอนิเมะมีผลต่อคุณภาพไหม? อนิเมะทุนสูงดูดีกว่าอนิเมะทุนต่ำหรือเปล่า? ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเหมือนจะมีกระทู้หรือบทความทำนองนี้ตามชุมชนอนิเมะออนไลน์หลายๆแห่งว่างบในการสร้างไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพงานเท่าไหร่ การถกเถียงเรื่องนี้มักจะบอกว่า อนิเมะแทบทุกเรื่องมีต้นทุนพอๆ กัน และอนิเมะยังมีคุณภาพจึงพอบอกได้ว่างบในการสร้างไม่น่าจะเกี่ยว หรือว่าเพราะมีทีมงานที่ดีจึงสร้างอนิเมะที่ดีออกมาได้ แม้ว่าพวกเขาจะได้เงินทุนมาน้อย ดังนั้นจึงพอบอกได้ว่างบการสร้างไม่สำคัญเท่าไหร่

Answerman ตอบ:

งบการสร้างก็ต้องเกี่ยวข้องกับคุณภาพของอนิเมะสิครับ แต่มันอาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักตัวเดียวเพราะในความจริงแล้วยังมีอะไรวุ่นวายกว่านั้นอีกมาก

ภาพจาก : http://yattatachi.com/one-punch-man-interview

เหตุผลหนึ่งที่เรื่อง ‘งบในการสร้างอนิเมะมีผลต่อคุณภาพไหม’ ถูกหยิบขึ้นมาถกกันในเว็บบอร์ดฝั่งฝรั่งก็เพราะ ผู้ออกแบบตัวละครของอนิเมะ One-Punch Man อย่าง Chiaki Kubota ได้ออกมาพูดในงาน AnimeFest เมื่อปี 2016 ว่า “หลายๆ คนเข้าใจผิดไปว่า คุณภาพของงานอนิเมชั่นขึ้นอยู่กับเงินทุนการสร้าง แต่ในประเทศญี่ปุ่น งานสร้างในฝั่งโทรทัศน์โดยเฉพาะงานฝั่งอนิเมะ มักจะมีงบสร้างพอๆ กัน อาจจะมีสถานการณ์หายากบ้างที่จะงบน้อยกว่า หรือ งบมากกว่า แต่ว่าไม่มีอะไรแตกต่างกันชัดเจนนัก ดังนั้นในความเป็นจริงคุณภาพงานก็ขึ้นอยู่กับทีมงานนั่นเอง”

ความจริงแล้วงบในการสร้างสิ่งต่างๆ จะมีผลอย่างมากต่อคุณภาพงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสร้างของรายการทีวีในช่วงดึก อย่างในฝั่งอนิเมะ ถ้ามีงบน้อยก็หมายถึงว่าต้องทำงานวาดให้น้อยลง, จ้างอนิเมเตอร์ได้น้อยลง และต้องใช้ขั้นตอนลัดในการสร้างอนิเมะมากขึ้น คุณจะได้เห็นงานแพนกล้างช้าๆ พร้อมกับตัวละครพูดอยู่คนเดียวยาวๆ แม้ว่าตัวละครดังกล่าวจะไม่ปรากฎอยู่บนฉากก็ตามที, ฉากแอคชั่นก็จะมีน้อยลง รายละเอียดของการเคลื่อนไหวก็จะมีน้อยนิดจนดูเหมอนงานจะแทบไม่มีชีวิต เพลงที่มีในเรื่องก็จะมีจำนวนไม่มาก รวมถึงว่าถ้าไม่มีเงิน ก็อาจจะจ้างนักพากย์เก่งๆ ไม่ไหว ฯลฯ

แต่ในสมัยนี้ งบทุนสำหรับรายการทีวีรอบดึกแต่ละตอนมักจะถูกจำกัดงบเอาไว้ที่ประมาณ 320,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ อนิเมะหนึ่งตอน ซึ่งงบเท่านี้เป็นราคามาตรฐานของคณะกรรมการสร้างอนิเมะในยุคนี้ตั้งเอาไว้ และงบเท่านี้จริงๆ แล้ถือว่าสูงกว่าเมื่อทศวรรษก่อนที่งบการสร้างอนิเมะแต่ละตอนต่ำกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผมไม่ทราบรายละเอียดว่าทำไมงบการสร้างยุคนี้ถึงพุ่งทะยานมาถึงขนาดนี้ แต่ผมเดาว่ามันเกี่ยวกับปริมาณการผลิตอนิเมะ กับเพื่อเป็นการจองงานให้กับสตูดิโออนิเมะไว้ล่วงหน้า เพื่อให้พวกเขาไม่ปฏิเสธงานหรือไปรับงานที่จ้างด้วยราคาถูกกว่าราคามาตรฐาน (ทั้งนี้งบประมาณในการทำรายการต่อตอนของญี่ปุ่นก็ยังต่ำกว่างบรายการของอเมริกาที่มีกล้องถ่ายตัวเดียว ซึ่งใช้งบราว 1.5 – 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อตอน หรือ ถ้าเป็นละครซีรีส์ยาวหนึ่งชั่วโมงนั้นใช้งบเฉลี่ยราวตอนละ 8-10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และนี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมทีมงานของ One Punch Man ฉบับอนิเมะจึงพูดถึงการสร้างอนิเมะขึ้นมาในลักษณะนั้น แต่ถ้าเขามีโอกาสได้คุมเงินทุนของตัวเองได้อย่างยืดหยุ่น เขาอาจจะพูดอีกอย่างก็เป็นได้

Robot Carnival งานอนิเมะรวมพลยอดฝีมือที่ภาพออกมาละเมียด แต่เกือบจะต้องเอาชีวิตของผู้สร้างเข้าแลก / ภาพจาก – scifimusings.blogspot.com

ทั้งนี้ถ้ามองย้อนไปประวัติศาสตร์การสร้างอนิเมะ มีการพิสูจน์ให้คนดูเห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ทีมงานที่มีทักษะและทุ่มเท จะสามารถสร้างงานที่ยอดเยี่ยมขึ้นมาในงบระดับจำกัดจำเขี่ย คนกลุ่มนี้มุ่งมั่นที่จะสร้างงานของเขาให้สำเร็จแม้ว่าจะต้องสละชีวิตตัวเองไปหรือจะไม่ได้กำไรอะไรกลับมาก็ตามที อย่าง Robot Carnival หนึ่งในงาน OVA ที่รวมบุคลากรยอดฝีมือแปดคนมาจัดทำอนิเมะบอกเล่าเกี่ยวกับหุ่นยนต์ตำนวนแปดตอน ซึ่งถือว่ายอดเยี่ยมจากยุค 1980 ที่ใช้งบสร้างเพียงน้อยนิดเนื่องจากผู้กำกับร่วมในงานชิ้นนี้ ต่างพยายามดูแลผลงานของตัวเองในทุกขั้นตอน (ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะเรื่องนี้กล่าวกันว่าผู้กำกับ Hiroyuki Kitakubo ถึงขั้นไอเป็นเลือดระหว่างทำงาน) หรือเรื่อง Genocyber ที่เป็น OVA สายโหดของผู้กำกับ Koichi Ohata ก็ถูกสร้างด้วยงบทุนราวๆ 1 ใน 4 ของทุนการสร้างอนิเมะในปัจจุบัน

Hoshi No Koe เป็นงานที่ภาพดูดี แต่ก็สะท้อนความประหยัดงบด้วยการใช้นักพากย์จำนวนน้อย มีซีนฉากเวิ้่งว้างอยู่มาก และใช้เวลาในการสร้างค่อนข้างเยอะ / ภาพจาก – natalie.mu

กลับมาที่สมัยนี้ ซึ่งงบการสร้างอนิเมะทีวีค่อนข้างจะสูงและมีทุนแน่นอนแล้วนั่นหมายความว่า บริษัทสร้างอนิเมะต่างๆ สามารถขยับตารางงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ตอนนี้อนิเมะที่ฉายในทีวีรอบดึกต้องแข่งขันในด้านคุณภาพต่างๆ ของอนิเมะ โดยต้องพึ่งพาศิลปินที่สร้างงานได้ดี, ความสม่ำเสมอของทีมผลิตงาน และส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือเวลาที่มีให้คนทำงานในการเขียนงาน ถ้ายกตัวอย่างๆ ให้เห็นภาพง่ายๆ ก็ดังเช่น งานของผู้กำกับ Makoto Shinkai ที่อาจจะต้องเสียเวลาในการาร้างเรื่อง สร้างโลก จากนั้นก็ทุ่มเทในการสร้างภาพที่สวยงามและน่าเชื่อถือต่อ และเมื่อไม่ต้องฉายรายสัปดาห์เขาจึงสามารถใช้เวลาการสร้างนานได้ และในทางกลับกันที่บางครั้งเราได้เห็นงานเผาออกมาก็อาจจะเกิดจากเหตุที่พวกเขาโดนเร่งให้รีบปิดงานเพื่อให้ฉายออกมาเร็วๆ นั่นเอง

เรียบเรียงจาก – Answerman: Does An Anime’s Budget Affect Its Quality?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*