ผู้กำกับ Osamu Yamasaki เปิดใจพูดคุยเกี่ยวกับสภาพการทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะ

Share

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หนึ่งในอนิเมเตอร์ของสตูดิโอ P.A. Works ได้เกิดข้อถกเถียงขึ้นโดยมีการโพสข้อมูลรายได้ของพวกเขาลงบนโซเชียลมีเดีย หลังจากหักค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, และค่าเช่าบ้านแล้ว อนิเมเตอร์ผู้ใช้ไอดีทวิตเตอร์ว่า @hoke_hokke เหลือเงินใช้จ่ายเพียง 1,477 เยน (ประมาณ 450 บาท) สำหรับใช้จ่ายส่วนตัว เนื่องจากอนิเมเตอร์ที่ไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งจาก in-betweener (คนเขียนภาพเคลื่อนไหวระหว่างแฟรม) เป็น key animator (คนกำหนดภาพไกด์ในการเคลื่อนไหว) หลังจากทำงานมาแล้วสามปี จะต้องเสีย “ค่าเช่าโต๊ะทำงาน” เป็นเงิน 6,000 เยน (ประมาณ 1,800 บาท) ต่อเดือน ตามที่กล่าวมานั้นค่าจ้างที่อนิเมเตอร์ได้รับสูงสุดคือ 67,569 (ประมาณ 20,500 บาท) เมื่อเดือนตุลาคม 2016

ถึงแม้ว่าทางสตูดิโอ P.A. Works เคยปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องค่าเช่าโต๊ะ แต่ก็ยอมรับในข้อมูลด้านอื่นๆ, โดยยกประเด็นความโหดร้ายของสภาพแวดล้อมการทำงานในอุตสาหกรรมอนิเมะ (ซึ่งทางสตูดิโอ P.A. Works ได้สื่อลงไปในอนิเมะเรื่อง Shirobako ที่ตัวเองทำมาแล้ว) นักข่าวธุรกิจ ได้สัมภาษณ์ผู้กำกับ Osamu Yamasaki ที่มีผลงานกำกับอนิเมชั่นอย่างเรื่อง Hakuōki, Toward the Terra และผู้อำนวยการของสมาคมผู้สร้างสรรค์อนิเมชั่นญี่ปุ่น (Japan Animation Creators Association) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาข้างต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คำชี้แจงของเขาก็ยังคงตอกย้ำความยากลำบากในการใช้ชีวิตของอนิเมเตอร์อยู่ดี

เหล่าอนิเมเตอร์จะได้รับค่าจ้างตามปริมาณงานที่เขาทำ ดังนั้นคนที่มีทักษะในการวาดและทำได้เร็วก็สามารถทำเงินได้ประมาณ 5-6ล้านเยน(ประมาณ 1ล้านห้าแสนบาท ถึง 1ล้านแปดแสนบาท) มักจะเป็นคนช่วงอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตาม มันต้องแลกกับชีวิตในการเข้าสังคมหรือชีวิตในด้านอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเวลาที่อนิเมเตอร์ต้องใช้ไปในการทำงาน (มากกว่า 10 ชม.ต่อวัน) มันจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด สำหรับอนิเมเตอร์ที่อาจมีรายได้ต่ำกว่า 1ล้านเยน* (ประมาณ 3แสนห้าพันบาท) ต่อปี ซึ่งในช่วงสามปีแรกที่อนิเมเตอร์ต้องพัฒนาทักษะของเขาระหว่างที่เป็น in-betweeners คือช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด และมีจำนวนไม่น้อยที่ถอดใจไปก่อนที่จะถึงจุดหมาย

ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเต็มไปด้วยหนุ่มสาวที่กระตือรือร้น, มีพรสวรรค์ เข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมอนิเมชั่น แต่ส่วนมากก็มักจะต้องละทิ้งความฝันและยอมแพ้ไปอย่างรวดเร็ว “ตามอัตราส่วนในปัจจุบันจะมีเพียงหนึ่งในสิบคนเท่านั้น ที่จะได้เข้าไปทำงานในส่วนอื่นๆ ของอุตสาหกรรมอนิเมชั่น” Yamasaki ประมาณการไว้ว่า สุดท้ายแล้วกลุ่มคนที่ยังอยู่ในธุรกิจนี้ได้ก็คือเจเนอเรชั่นที่มีอายุประมาณ 40-50 ปี ซึ่งเป็นเจนที่สนใจอนิเมะอย่าง Space Battleship Yamato และ Mobile Suit Gundam ภาคแรก “ต่อไปอีก 10 ปีข้างหน้าคนเหล่านี้จะอายุ 60 ปี และอนาคตของวงการผลิตอนิเมะอาจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง”

อนิเมชั่นสตูดิโอที่สามารถให้ค่าตอบแทนสูงๆ, มีงานเข้ามามากๆ และมีการจ้างงานที่มั่นคง ก็มักจะเป็นสตูดิโอขนาดใหญ่ จึงเป็นผลให้สตูดิโอขนาดกลางและเล็กขาดแคลนบุคลากรอายุน้อยที่มีความสามารถไป เพราะไม่มีแรงจูงใจที่มากพอจะดึงให้อนิเมเตอร์เก่งๆ มาอยู่ประจำได้ (เรียกได้ว่าเลี้ยงคนเก่งไว้ไม่ไหวนั่นเอง) พวกเขาจึงต้องจ้างฟรีแลนซ์แทน และคอยกดดันให้ปั่นงานของพวกเขาออกมาไวๆ  เป็นผลให้สตูดิโอขนาดเล็กจึงมีแต่บุคลากรที่ขาดประสบการณ์และมีทักษะการทำงานต่ำ, ได้งานน้อย และค่าจ้างน้อย ไปตามลำดับ นี้เป็นเหตุผลให้อนิเมเตอร์มากมายมุ่งไปทำงานให้กับสตูดิโอขนาดใหญ่ จนเกิดเป็นวงจรอุบาทว์ดังกล่าว

เพื่อรับมือกับปริมาณของอนิเมะที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละซีซัน ทางสตูดิโอใหญ่มักจะทำสัญญาจ่ายงานให้สตูดิโอขนาดเล็กทำ แต่กำไรหลังจากหักต้นทุนการผลิตไปแล้วนั้นก็ยิ่งได้น้อยลงไปอีก ถ้าอนิเมะไม่ได้รับความนิยม ทางสตูดิโอก็ต้องแบกรับหนี้ก้อนโตเอาไว้แทน (เป็นข้อตกลงระหว่างสปอนเซอร์และเอเจนซี่) ถึงแม้อนิเมะอย่าง  your name.(หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ) จะได้รับความนิยมสามารถทำกำไรอย่างมาก แต่ตำแหน่ง in-betweeners ซึ่งเป็นทีมงานอนิเมะส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์จากรายได้นี้ “ไม่เฉพาะแค่อนิเมเตอร์หน้าใหม่เท่านั้น ผลกำไรที่จะตกมาถึงอนิเมเตอร์ทุกคนมันก็น้อยไปตามๆ กัน” Yamasaki กล่าว

แล้วทำไมอนิเมเตอร์ยังทนทำงานนี้อยู่? แน่นอนว่าส่วนใหญ่เพราะใจรัก เพราะความรู้สึกดีๆ ที่มีให้กับอนิเมะ หรือการวาด นั่นแหละคือตัวกระตุ้นให้เหล่าอนิเมเตอร์มุ่งมั่นเข้าไปทำงานในวงการนี้  Yamasaki ยังชี้ให้เห็นว่า “อนิเมเตอร์ไม่ไช่เป็นพวกประเภทที่คอยวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าตอบแทน หรือต้องรวมตัวกันสร้างอำนาจต่อรองในการบริหาร จึงมีคนไม่มากนักที่จะได้ยินเสียงของพวกเขา” เขาเชื่อว่าผู้กำกับมากมายได้แบ่งปัน “ความตระหนักรู้ถึงปัญหา” อย่างผู้กำกับเรื่อง Neon Genesis Evangelion คุณ Hideaki Anno เคยพูดไว้เมื่อปี 2015 เมื่อเขาได้อ้างถึงการหดตัวลงของทรัพยากรบุคคลและเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมอนิเมะที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา “อุตสาหกรรมอนิเมะอาจจะต้องสร้างโมเดลธุรกิจแบบใหม่ขึ้นมา” Yamasaki กล่าว

ที่มาBusiness Journal: Yuri Fujino; ภาพจาก Gaming.moe และ one of episodes

*ค่าใช้จ่ายสำหรับสาธารณูปโภคพื้นฐานของชาวญี่ปุ่นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 2 ล้านเยน/ปี ข้อมูลจาก สนง.กพ.

About Anime News Network Thailand 1865 Articles
หากท่านต้องการดึงข่าวไปยังเว็บไซต์ บล็อก หรือเพจของท่าน กรุณาใส่เครดิตและลิงก์กลับมายัง news.dexclub.com ด้วยค่ะ