Comiket 93: การเข้าสู่กระแสหลักของอนิเมในปัจจุบัน และการเข้าร่วมงานของบริษัทใหญ่

Share

งาน Comic Market หรือ Comiket นั้นเริ่มต้นจากกิจกรรมของเหล่าแฟนๆระดับรากหญ้าในช่วง 70 แต่ในบัจจุบันภาพงานเล็กๆที่ไม่มีองกรค์ใหญ่ๆมาเข้าร่วมนั้นไม่ได้มีให้เห็นมานานแล้ว หลายคนอาจจะโอดครวญว่างาน Comiket สมัยนี้ไร้ซึ่งความบริสุทธิ์ดังแต่ก่อนไป แต่มันก็เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าการมาร่วมงานขององค์กรใหญ่ๆนั้นมีผลต่อวัฒนธรรมอนิเมในปัจจุบันอย่างไรบ้าง และเราก็ไม่ต้องไปหาข้อมูลที่ไหนไกล แค่จากการออกบูธของต่างๆในงาน Winter Comiket 2017 (C93) ก็จะทำให้คุณสามารถที่เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงได้

อนิเมได้กลายมาเป็นสื่อในกระแสหลักของญึ่ปุ่นแล้ว ภาพโฆษณาสินค้าจากอนิเมกลายเป็นสิ่งที่สามารถหาได้ทั่วไปในโตเกียว บริษัททั้งหลายต่างตระหนักดีว่าแฟนๆอนิเมนั้นมีกำลังซื้อสูงและสามารถนำไปต่อยอดสู่สินค้าอื่นๆที่นอกเหนือจากสินค้าอนิเมทั่วไป ดังที่เราสามารถเห็นได้จากสินค้าที่วางขายอยู่ ณ ปัจจุบัน ที่มีทั้งสิ่งของที่สามารถใช้ได้จริง(ตัวอย่างเช่น ถ้วยและแฟ้มใส) หรือสินค้าประเภทแฟชั่น (แว่นตา อัญมณี และอื่นๆ)

ในงาน Comiket นั้น นอกจากบูธสินค้าจากร้านสินค้าอนิเมและจากสตูดิโอผู้สร้างที่เราพบเห็นได้ทั่วไปแล้ว คุณยังจะได้พบกับบูธสินค้าจากบริษัทที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอนิเมอีกด้วย หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจมากๆคือบริษัท Kaspersky Lab บริษัทจากประเทศรัสเซียผู้ให้บริการซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ในหลายๆประเทศ ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ประกาศร่วมมือกับแฟรนไชส์อนิเมเรื่อง A Certain Magical Index ซึ่งนั่นหมายความตอนนี้ทาง Kaspersky Lab ได้เริ่มวางขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทโดยมีภาพวาดและแบรนด์ของ Index ประกอบด้วย นอกจากนี้ทางบริษัทได้มาปรากฎตัวตามงานอนิเมต่างๆอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในงาน Dengeki Bunko Festival เมื่อปีที่ผ่านมา มาสคอตหมีสีเขียวของบริษัทได้มาปรากฎตัวและถ่ายรูปคู่กับคอสเพลย์ตัวละคร Mikoto จากซีรีย์ส Index

และในงาน Comiket ฤดูหนาวที่ผ่านมา Kaspersky Lab ก็ยิ่งเพิ่มความครีเอทไปอีกด้วยการตั้งศาลเจ้าขนาดย่อมที่มุมของตัวเองในหอฝั่งตะวันตก โดยมีประตู tori และพนักงานของบูธในชุด miko อีกด้วย โดยบริษัทได้ไอเดียมาจากการที่ Comiket ฤดูหนาวนั้นจัดก่อนวันงานปีใหม่เพียงไม่กี่วัน ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไปศาลเจ้าเพื่อขอพรให้พบเจอแต่โชคดีในปีถัดไป และเพื่อเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้ ทาง Kaspersky ยังได้จัดตั้ง omikuji หรือกระดาษเซียมซีอีกด้วย โดยเนื้อหาของกระดาษนั้นไม่ใช่คำทำนายดวงชะตาแต่อย่างใด หากแต่เป็นเครื่องกาฉะของแท้เลยทีเดียว (ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าขำมาก เพราะแต่เดิม omikuji ก็เป็นการสุ่มดวงอยู่แล้ว)

แน่นอนว่าไม่ใช่มีแค่ Kaspersky Lab เท่านั้นที่ใช้แผนการนี้ บริษัทอื่นๆอย่างเช่น Yusawaya ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าเย็บปักถักร้อยทั่วไป ก็ได้มาเปิดบูธในงาน Comiket เพื่อวางขายชุดคอสเพลย์ด้วย ซึ่งในงานนี้ ทาง Yuzawaya ก็ได้เฉลิมฉลองปีใหม่แบบดั้งเดิมด้วยเช่นกัน

บริษัท Boat Race Tamagawa ผู้เป็นเจ้าของสนามแข่งเรือมอเตอร์โบทในโตเกียว ก็ได้มาตั้งบูธในงาน Comiket ตั้งแต่ปี 2014 โดยการสร้างตัวละครที่ชื่อว่า Matsuri Shizunami ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวละครมาสคอทของบริษัท แน่นอนว่าทางบริษัทนั้นไม่ได้มีส่วนกี่ยวข้องกับอนิเมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เราสามารถเห็นได้ว่ามาสคอทของบริษัทนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากแฟรนไชส์ Kancolle ที่นำเรือในทะเลมาแปลงเป็นสาวน้อยน่ารักมาอย่างชัดเจน โดยในงาน C93 นั้น ทางบริษัทก็ได้มาเปิดบูธเพื่อวางจำหน่ายเสื้อยืดลายพิเศษที่มีขายแค่ในงานเท่านั้น

บริษัทสิ่งพิมพ์ Popls ก็มาเปิดบูธขายของชำร่วยมาสคอทของบริษัทด้วยเช่นกัน โดยบริษัท Popls นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่แฟนๆว่าเป็นบริษัทที่รับตีพิมพ์มังงะ Dounjinshi แต่ทางบริษัทเองนั้นเป็นผู้ทำงานให้กับนักเขียน-นักวาดไร้สังกัดจากทุกแขนง และเป็นบริษัทมีภาพลักษณ์แบบเท่ห์ๆ

แม้แต่ Magic The gathering ก็มาเปิดบูธที่งาน Comiket ปีนี้ด้วยเช่นกัน ถึงจะไม่ใช่อนิเม แต่ก็มีความใกล้เคียงอยู่ จริงมั้ย?

แม้แต่สถานีโทรทัศน์แห่งชาติอย่าง NHK ก็ได้มาปรากฎตัวที่งาน comiket เมื่อเร็วๆนี้เช่นกัน ถึงแม้ว่าทางช่องจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอนิเมช่วงดึกมากนัก แต่แฟรนไชส์อนิเมบางเรื่องก็เป็นที่นิยมในผู้ชมทุกรูปแบบจนทำให้การเปิดบูธในงาน Comiket ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอะไร ซึ่งในงานนี้ทาง NHK ก็ได้มาโปรโมทเรื่อง Cardcaptor Sakura: Clear Card

 

อีกหนึ่งร้านค้า “ธรรมดา” ที่มาเปิดบูธในงาน Comiket ก็คือ Marui ซึ่งทางบริษัทได้มาเปิดบูธครั้งแรกในงาน Comiket ฤดูหนาวเมื่อปี 2016 และปีนี้พวกเขาก็กลับมาอีกครั้งกับโปรเจคร่วมมือกับ Hatsune Miku

ซึ่งนี่ไม่ใช่การเดินเกมมั่วๆ จริงอยู่ที่ Marui นั้นเป็นร้านค้าที่วัยรุ่นที่นิยมในแฟชั่นมาซื้อของกัน แต่ Marui เองก็มีโครงการร่วมกับอนิเมอยู่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่นโครงการร่วมมือกับแฟรนไชส์ Re:ZERO ที่กำลังจะเกิดขี้นเร็วๆนี้ โดยการร่วมมือกันนี้จะมีการจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ในสาขาห้างสรรพสินค้าที่ชิบูย่า

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าการชื่นชอบอนิเมในยุคสมัยนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องจ่ายเงินให้กับสิ่งจำเป็นทั้งหลายเช่นเสื้อผ้าที่ทันสมัยหรือความปลอดภัยทางไซเบอร์เท่านั้น แม้แต่อนิเมช่วงดึกก็เป็นสิ่งที่อินเทรนด์ในปัจจุบัน และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัททั้งหลายใช้อนิเมเป็นส่วนดึงดูดเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่พุ่งเป้าไปที่วัฒนธรรมครหนุ่มสาวทั่วไป

อย่างไรก็ตาม คุณก็จะยังคงเห็นโฆษณาเหล่านี้ในหลายๆบูธอยู่ดี

อีกสิ่งที่พบเห็นได้มากในงานอนิเมต่างๆที่ญึ่ปุ่นคือ booth babes หรือพริตตี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้วในอเมริกา พริตตี้นั้นไม่เป้นที่นิยมเท่าคอสเพลเยอร์ แต่ด้วยลักษณะของตัวละครที่เหล่าพริตตี้นำมาคอสเพลย์แล้ว ก็ยังถือว่ามีความอีโรติคอยู่ (และแทบทุกบูธจะต้องมีสาวๆมาคอสเพลย์ให้ โดยแทบจะไม่มีผู้ชายเลย)

 

ในมุมนึง การที่วัฒนธรรมวัยรุ่นรับสื่อลามกเหล่านี้เป็นงานศิลป์นั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจนัก เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่คู่มากับ comiket มาตั้งแต่ต้น แต่ในอีกมุมนึง มันก็สิ่งที่น่าคิดว่าการมีอยู่ของโฆษณาและสินค้าที่ทำมาเพื่อดึงดูดสายตาของผู้ชายนั้นมีผลอย่างไรกับงานที่เป็นที่นิยมทั้งผู้ชายและผู้หญิง การบริโภคในตลาดอนิเมนั้นยังคงมีการแบ่งแยกระหว่างเพศ มีการพุ่งเป้าไปยังตลาดของแต่ละเพศ และน้อยครั้งที่จะเห็นร้านค้าที่ดึงดูได้ทั้งสองเพศอยู่ ซึ่งในทีนี้ หลักๆมีเพียงแค่บูธของ KyoAni และ Ufotable เท่านั้นที่เป็นข้อยกเว้น แต่นั่นก็เป็นเพราะทั้งสองค่ายมีอนิเมในดรือที่พุ่งเป้าไปยังผู้ชายและผู้หญิงแยกต่างหาก

บูธของ Kyoto Animation & Do นั้นทำการโปรโมท Violet Evergarden และ Love, Chunibyo & Other Delusions! Take On Me ด้วยการวางป้ายคัทเอาท์หน้าบูธ แต่เมื่อดข้าไปข้างในกลับพบว่าสินค้าที่วางขายส่วนมากเป็นของแฟรนไชส์อนิเมเรื่อง Free! ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้ก็เคยเกิดขึ้นที่งานอีเวนท์ขอบคุณแฟนๆของ Kyoto Animation and Do

คนส่วนมากอาจจะรู้จัก Ufotable จากผลงานแฟรนไชส์ของ Type-Moon แต่สินค้าจาก Touken Ranbu (อนิเมเกี่ยวกับผู้ชายสุดฮอทในญี่ปุ่นยุคโบราณ) นั้นก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าด้วย

Comiket เป็นเพียงโลกเล็กๆของวัฒนธรรมอนิเมญี่ปุ่นในปัจจุบันที่มีทั้ง มังงะ เกม ของเล่น นิยาย และช่องทางอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดผลงานจำนวนมหาศาล ผู้คนที่มาร่วมงานอาจจะไม่รู้หรือสนใจสินค้าเกินครึ่งที่มาวางขายในงานด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างนั้นแฟนๆของตลาดเล็กๆก็ยังมารวมตัวกันที่งานๆเดียวได้

This is the beauty of Comiket. Even if you aren’t interested in doujinshi, you’re sure to find something in the corporate booths that will appeal to your tastes. Anime has become mainstream without sacrificing any of its niche appeal.

ซึ่งนี่แหละคือความงามของ Comiket ต่อให้คุณไม่สนใจสินค้า doujinshi ทั้งหลาย แต่คุณก็มั่นใจได้ว่าคุณจะพบสิ่งที่ตรงกับรสนิยมของคุณในบูธทั้งหลาย อนิเมได้เข้ามาสู่กระแสหลักโดยที่ไม่ต้องเสียสละความ niche ของมันเลย

About Anime News Network Thailand 1865 Articles
หากท่านต้องการดึงข่าวไปยังเว็บไซต์ บล็อก หรือเพจของท่าน กรุณาใส่เครดิตและลิงก์กลับมายัง news.dexclub.com ด้วยค่ะ