Answerman : อนิเมะแบ่ง ‘ซีซั่น’ กันยังไง ?

Share

Kira ถาม :

หลายปีก่อน อนิเมะที่ฉันเคยนั่งดูจะเป็นเรื่องที่ฉายยาวอย่าง Naruto หรือ Bleach พอมาดูรายละเอียดว่ามีฉายทั้งหมดกี่ตอนบนวิกิพีเดีย ฉันก็ค่อนข้างสัปสันว่าทำไมเขาถึงเรื่องเนื้อหาแต่ละช่วงเป็น “ซีซั่น” บางทีก็นับเอาจากเนื้อหาว่าอยู่ที่องก์ไหน แต่บางที่อย่างกรณีของ Dragon Ball Z หรือ One Piece (ไม่ก็ตอนหลังๆ ของ Fairy Tail) เหมือนจะตัดตอนแบบมั่วๆ เลย อยากรู้ว่าปกติ “ซีซั่น” นึงนี่มันยาวขนาดไหน แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ซีซั่นจบเมื่อไหร่ แล้วอันใหม่เริ่มตอนไหน ?

ถ้าเป็นอนิเมะที่ฉายรอบดึกเราจะเดาเวลาฉายได้ค่อนข้างแน่นอนว่า เรื่องนึงจะมีตอนตกประมาณ 11-13 ตอน (และอาจจะต้องเว้นวรรคการฉายภาคต่อไปสักหนึ่งปี) เราก็สามารถแยกได้ง่ายๆ ว่ามันเริ่มและจบ “ซีซั่น” ที่ตอนไหน แต่ถ้าเป็นอนิเมะที่ไม่ได้ฉายรอบดึก มักจะมีกำหนดฉายยาวๆหนึ่งปีโดยไม่มีการตัดตอนก็จะบอกยากขึ้นมาสักหน่อย แล้วก็มีข้อมูลหลายมุมมาแย้งตลอดเวลา นั่นก็เพราะว่าตามปกติแล้วอนิเมะกลุ่มหลังนั้นไม่เคยแบ่ง “ซีซั่น” เหมือนซีรี่ส์ฝั่งอเมริกาหรืออนิเมะรอบดึกนั่นเอง แต่ก่อนที่จะไปคุยว่าอนิเมควรจะแบ่งตอนอย่างไร เราควรไปคุยกันว่า แนวคิดการฉายแบบ “ซีซั่น” มาจากไหน น่าจะดีกว่า

 

ที่มาของแนวคิดการฉายแบบซีซั่น และความต่างกันของการฉายรายการในอเมริกากับญี่ปุ่น

แนวคิดการฉายแบบ “ซีซั่น” เป็นฤดูกาล (ปีละครั้ง, ปีละสองครั้ง ฯลฯ) จริงๆ แล้วเป็นแนวคิดการฉายรายการของทางฝั่อเมริกา ที่ต้องย้อนไปในช่วงปี 1930 เมื่อครั้งที่ละครวิทยุยังเป็นที่นิยม และในตอนนั้นช่วงฤดูร้อนจะไม่ค่อยมีผู้ฟังคนไหนเปิดวิทยุฟังเท่าไหร่ ด้วยความที่อากาศในบ้านร้อนเกินกว่าที่คนจะมารวมตัวกันนั่งฟังละครเหล่านั้น กลุ่มครอบครัวก็มักจะใช้ช่วงนี้ไปทำกิจกรรมนอกบ้าน, เด็กๆ ออกไปวิ่งเล่น, เกษตรกรก็ไปทำไร่ทำสวน ส่วนคนในเมืองก็จะถือโอกาสนี้ไปเที่ยวตามที่ต่างๆ กลุ่มผู้สร้างละครวิทยุก็อาศัยเอาช่วยเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม เอาละครเรื่องเก่าๆ มาเปิดวนซ้ำ แม้เวลาจะเปลี่ยนไป กิจวัตรเหล่านี้ก็ไม่ได้ปรับตาม้วย อย่างที่เห็นได้ว่าในยุคนี้ ซีรี่ส์ของอเมริกาก็นิยมที่จะเริ่มฉายในช่วงฤดูใบไม้ผลิก่อนจะหยุดพักในช่วงหน้าร้อน

เมื่อมาเทียบกับการฉายรายการโทรทัศน์ในญี่ปุ่นช่วงหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณปี 1950 ในตอนนั้นญี่ปุ่นก็นำเอารายการของอเมริกามาพากย์ อย่างเรื่อง I Love Lucy หรือ Father Knows Best ทำให้ผู้สร้างรายการโทรทัศน์ในญี่ปุ่นได้รับแรงบันดาลใจก่อนเอามาปรับสร้างรายการของตัวเองในภายหลัง พอเข้าช่วงที่เศรษฐกิจและรายการทีวีบูมในยุค 1960 (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ อนิเมะทางทีวีเริ่มถูกสร้างขึ้น) ด้วยเวลาการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นเปลี่ยนไป รายการทีวีของญี่ปุ่นก็เริ่มปรับตัวเข้าหาตลาดแม่บ้านมากขึ้น รวมถึงทางญี่ปุ่นก็นิยมที่จะทำรายการแตกยอดเป็นภาคเสริมภาคต่อ (อีกประเทศที่ทำคล้ายๆ กันก็คือฝั่งอังกฤษ) ทำให้การสร้างซีรี่ส์ของญี่ปุ่นยากที่จะแบ่งออกเป็น “ซีซั่น” ได้ ยกตัวอย่างเช่น ละครเรื่อง Arigatou ออกฉายซีซั่นแรกในช่วงเดือนเมษายน จนถึง เดือนตุลาคม ปี 1970 แต่กว่าที่จะมีซีซั่นที่สองนั้นต้องรอถึงช่วงเดือนมกราคมปี 1972 แต่ซีซั่นที่สามนั้นออกอากาศหลังจาก ซีซั่นที่สองจบลงไปเพียงแค่สามเดือนเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบกับฝั่งอนิเมะแล้วก็คงไม่ต่างกับอนิเมะรอบดึกที่ฉายครั้งแรกราวๆ 13 ตอน ถ้าเกิดฮิตขึ้นมาก็อาจจะต้องรอเวลาสักนิดในการสร้างตอนต่อที่ดีขึ้นมา

 

แล้วอนิเมะไม่เคยแบ่ง “ซีซั่น” หรือ ?

ตัวอย่างของ มาสค์ไรเดอร์ ที่ทำการตลาดแบบขึ้นภาคใหม่ทุกปีเพื่อให้มีความแตกต่างกัน /ภาพจาก – Toei.co.jp

กลับมาที่รายการสำหรับเด็กหรือครอบครัวที๋ฉายกันยาวๆ ในทีวีญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการแบ่งเป็น “ซีซั่น” เพราะไม่มีรากฐานของแนวคิดนี้มาตั้งแต่เริ่ม ดังนั้นรายการนั้นฉายเรื่อยๆ ยาวๆ ไม่มีช่วงเบรค อาจจะใช้วิธีแบ่งในลักษณะอื่นเอา อย่างการที่ผู้สร้างอาจจะใช้วิธีแบ่งแยกเป็นภาคต่างๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างกัน หรือทำให้ง่ายต่อการโฆษณา และการปรับทีมงานแต่งเรื่อง จนเกิดความแตกต่างกันในแต่ละภาค ตัวอย่างเช่น ซีรี่ส์ พรีเคียว หรือ มาสค์ไรเดอร์ ที่ภาคหนึ่งจะกินเวลาราวหนึ่งปี ซึ่งแต่ละภาคก็จะมีความแตกต่างกันเพื่อให้ของเล่นในแต่ละปีมีความแตกต่างกัน และทำการขายในตลาดได้โดยไม่ชนกับสินค้าตัวเดิมเองมากนัก

One Piece อนิเมะจำนวนน้อยในยุคนี้ที่ยังยิงยาวฉายตลอดทั้งปี

ถ้าเป็นอนิเมะขนาดยาวที่เริ่มฉายมาตั้งแต่ช่วงปี 1980 หรือ 1990 อย่าง Naruto หรือ One Piece หรือ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน จะดูไม่มีแนวคิดแบบ “ซีซั่น” เท่าใดนัก ถ้าพูดถึงในกรณีของวิกิพีเดีย ในฝั่งภาษาอังกฤษอาจจะมีคนมาซอยย่อยเป็นการฉาย “ซีซั่น” บ้าง แต่ในฝั่งวิกิพิเดียภาษาญี่ปุ่น จะพยายามซอยย่อยเป็น “เนื้อเรื่องแต่ละองก์” เสียมากกว่า

กระนั้นอาจจะมีบ้างในกรณีที่มีการขายลิขสิทธิ์ต่างประเทศของอนิเมะจำนวนตอนมหาศาลเกินร้อย ทำให้บริษัทต้นสังกัดต้องทำการระบุจำนวนตอนว่าพวกเขาจะจำหน่ายลิขสิทธิ์ตั้งแต่ตอนไหนถึงตอนไหน และในการขายกับผู้ซื้อสิทธิ์ในต่างประเทศก็จะเอาจำนวนตอนที่ได้รับการบอกกล่าวจากต้นทางมาระบุเป็น “ซีซั่น” เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของคนซื้อ (นอกญี่ปุ่น) อีกทอดหนึ่ง

ใส่คำว่า ซีซั่น ไปเข้าใจง่ายกว่านะ…

ส่วนอนิเมะในช่วงหลังปี 2000 ขึ้นไปที่จะเป็นช่วงหลังที่ผู้สร้างอนิเมะพบแล้วว่า การฉายอนิเมะยาวๆ ต่อเนืองกัน หลายๆ ทีก็ประสบปัญหาว่าเนื้่อเรื่องย้วยเกินไปบ้าง ตามทันต้นฉบับที่หนังสือการ์ตูนเร็วไปบ้าง หรือบางเรื่องก็พบว่าก่อนฉายไม่ได้มีคนสนใจ แต่พอฉายแล้วดังมากจนมีโอกาสได้สร้างเนื้อหาต่อ แต่ไม่ใช่ภาคใหม่ ก็จะมีการเอาคำว่า “ซีซั่น” มาแปะไว้บ้างเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และด้วยความที่อนิเมะสมัยนี้ต้องเผื่อไว้ขายต่างประเทศด้วย การใช้คำอธิบายให้มันง่ายเข้าก็อาจจะมีกว่าการลงชื่อเรื่องด้วยตัวอักษรแปลกๆ (เช่น Negima! กับ Negima!? หรือ K-ON! กับ K-ON!!) ก็น่าเมคเซนส์กว่า

ทั้งนี้ยังมีคนเคยพยายามนับซอยย่อยซีซั่นด้วยการแบ่งตาม “เพลงเปิด” กับ “เพลงปิด” ด้วย ซึ่งถ้ายึดตามนี้จริงๆ จะทำให้อนิเมะบางเรื่องมีจำนวน “ซีซั่น” ทะลุทะลวงไปกว่า 40 ซีซั่นโดยปริยาย

แต่ถ้าในกรณีของซีซั่นที่มีโอทาคุสักคนมโนขึ้นมาเองส่วนนั้นก็อย่าไปให้น้ำหนักมากน่าจะดีกว่า

เรียงเรียงจาก – Answerman : Where Do “Seasons” On Long-Running Anime Begin And End?

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*