Answerman: ‘Minimum Guarantee’ นั้นคืออะไร

Share

นิรนาม ถาม:

ได้ยินคนคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง ‘minimum guarantee’ หรือ MG เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์มาพักนึงแล้ว ไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรกันแน่ – มันหมายถึงเงินค่าลิขสิทธิ์ที่บริษัททำสินค้าลิขสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ใช่หรือเปล่า?

Answerman ตอบ:

ใช่ครับ ตอบกันแบบตรงๆ ไม่อ้อมค้อมเลย เจ้าตัว ‘minimum guarantee’ หรือ ‘ค่าสิทธิ์ขั้นต่ำล่วงหน้า’ เป็นเงินขั้นต่ำที่ผู้ซื้อสิทธิ์จากประเทศต่างๆ จะต้องจ่ายให้เจ้าของสิทธิ์/ตันสังกัด ไม่ว่าจะเป็น อนิเมะ, มังงะ, หนังสืออื่นๆ, ดนตรี, หนังสั้นฉายออนไลน์ หรือ ภาพยนตร์ โดยปกติแล้วมักจะถูกแบ่งจ่ายเป็นสองก้อน ส่วนแรกจะทำการจ่ายเมื่อการเซ็นสัญญาเสร็จสิ้น ส่วนอีกก้อนจะจ่ายเมื่อผู้ซื้อสิทธิ์ได้รับงานต้นฉบับมาจากทางเจ้าของสิทธิ์

ถ้าคุยกันเป็นขั้นตอนก็จะเริ่มจาก บริษัทจากต่างประเทศที่อยากจะจัดจำหน่ายผลงานใดๆ จะทำการติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์แบบเป็นลายลักษณ์อักษร (ไม่ใช่เดินไปนั่งคุยแล้วจบ) จากนั้นก็ต้องรอว่าฝั่งเจ้าของลิขสิทธิ์อนุมัติเลยหรือไม่ เพราะบางทีอาจจะมีบริษัทติดต่อเข้ามาพร้อมกันหลายๆ เจ้า ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดการประมูลราคาแข่งกันบ้าง หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็นทางเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นคนตัดสินใจว่าจะให้ใครเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ไป (การตัดสินใจนี้ขึ้นเป็นความอินดี้ส่วนบริษัท บางแห่งอาจจะจบที่ใครจ่ายเงินมากที่สุดได้ไป แต่บางแห่งก็จะดู Connection เก่าก่อนด้วย)

เมื่อตกลงว่าใครจะได้ถือสิทธิ์และมีสัญญามาถึงตัวบริษัทผู้ซื้อสิทธิ์แล้ว ก็จะมีการจ่ายเงินก้อนแรก จากนั้นก็ต้องรอเวลาอีกสักระยะให้บริษัทต้นสังกัดส่งต้นฉบับมาให้ แล้วจึงนำต้นฉบับนั้นไปจัดทำเป็น หนังสือ หรือ แผ่น หรือแบบดิจิตอล ซึ่งการผลิตสินค้าก็จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตกลงที่ระบุไว้ตามสัญญาที่ลงกันไว้ (ข้อกำหนดในสัญญา อาทิ ภาษา กับ ท้องที่ที่จัดจำหน่ายได้, จำนวนสินค้าที่สามารถขายได้ เช่น ทำสัญญาขายครั้งละ 5,000 ชิ้น, กำหนดเวลาจำหน่าย อย่างการให้ขายหลังประเทศเจ้าของลิขสิทธิ์ ขายไปแล้วกี่เดือน, ราคาที่จะจัดจำหน่าย ฯลฯ)

จากนั้นสินค้าก็เข้าสู่ขั้นตอนการผลิต และได้จัดจำหน่ายในที่สุด เมื่อการขายสินค้าผ่านไปราวสองสามเดือน ทางผู้ซื้อลิขสิทธิ์ก็จะต้องทำรายการกลับไปยังเจ้าของลิขสิทธิ์ว่า สินค้าขายไปเท่าไหร่, ด้วยราคาแบบไหน แล้วก็จะมีการหักลบค่าผลิตสินค้าออกไป แล้วจึงคำนวณว่าจะต้องส่งรายได้อีกส่วนกลับไปให้กับเจ้าของสิทธิ์ ซึ่งเงินก้อนนี้ก็มักจะมีมูลค่าราว 20-30%

แต่ใช่ว่ายอดเงินดังกล่าวจะถูกส่งให้ยังเจ้าของสิทธิ์แบบทันทีทันใด อย่างแรกก็คือ ผู้ซื้อสิทธิ์สามารถชะลอการจ่ายเงินค่าสิทธิ์ไว้จนกว่าที่พวกเขาจะสามารถทำยอดถึงจุด ‘ค่าสิทธิขั้นต่ำล่วงหน้า’ ได้ ซึ่งการกระทำแบบนี้ถูกเรียกว่า ‘recouping’ (การหักลบ) และมันปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้ธุรกิจลิขสิทธิ์ประสบกความสำเร็จ เพราะมันหมายถึงว่าผู้ซื้อสิทธิ์จะสามารถเก็บรายได้ส่วนแรกจากการลงทุนที่พวกเขาทำลงไปไว้กับตัวก่อนได้ การเซ็นสัญญาบางครั้งจะเปิดโอกาสหักลบค่าใช้จ่ายในจัดทำสินค้ามา อย่างเช่น ค่าพากย์เสียง, ค่าทำคำบรรยาย, ค่าแปล, ค่าตกแต่งหน้ากระดาษ, ค่าออกแบบแพ็คเกจจิ้ง และก็มีบางบางครั้งที่สัญญาอำนวยให้ recouping ได้ถึงค่าการตลาด (ที่ตามปกติจะมีมูลค่ามาก)

จากนั้นเมื่อบริษัทผู้ซื้อสิทธิ์สามารถทำยอดขายจนทบค่าการผลิตไปแล้ว ถึงจะเริ่มส่งกำไรคืนให้กับเจ้าของสิทธิ์ ในช่วงทุกเดือน (หรือ ทุกสามเดือน หรือระยะเวลาอื่นๆ ตามแต่สัญญา ซึ่งในช่วงนี้ผู้ซื้อสิทธิ์ก็จะต้องเตรียมรายงานให้กับเจ้าของสิทธิ์ว่าพวกเขา ทำกำไรไปได้เท่าไหร่, จะทำการ recuouping เป็นยอดเงินเท่าไหร่ และใกล้ถึงกำหนดจ่ายเงินค่าสิทธิ์ขนาดไหน ถึงอย่างนั้นสัญญาส่วนใหญ่ก็จะระบุให้จ่ายเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกก่อน เพราะเป็นไปได้ที่หลังจากนั้นแล้วบริษัทผู้ซื้อสิทธิ์จะทำการคำนวณเงินต่างๆ ได้เป๊ะอย่างที่คาดการณ์ไว้ การได้รับเงินมาก่อนสักหนึ่งก่อนก็ย่อมเป็นอะไรที่เซฟกว่าสำหรับเจ้าของสิทธิ์

และเนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีบริษัทหลายๆ แห่งที่กล้าหาญในการไม่ส่งรายงานยอดค่าสิทธิ์ใดๆ เลย บางครั้งเหตุการณ์แบบนี้เกิดจากการที่บริษัทซื้อสิทธิ์นั้นอาจจะไม่ใช่เจ้าที่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน จึงไม่ทราบว่าจะต้องส่งรายงานตามสมควร แต่บางครั้งเป็นผลพวงจากการที่ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ไม่สามารถสร้างรายได้มากพอจนไม่มีเงินที่จะจ่ายเงินค่าสิทธิ์สมทบไปได้

จากเหตุข้างต้นมา ‘ค่าสิทธิขั้นต่ำล่วงหน้า’ จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน ในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้การจ่ายค่าสิทธิ์สำหรับการถ่ายทอดรายการออนไลน์สตรีมมิ่ง ไม่มีกำหนดการจำหน่ายเงินค่าสิทธิ์ขั้นต่ำ แต่มา ณ เวลานี้การจ่ายค่าสิทธิ์ขั้นต่ำกลายเป็นเรื่องสำคัญแล้วเป็นอาทิ

กระนั้นการจ่ายเงินค่าสิทธิ์ก็ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยขั้นตอนนี้เสมอไป เพราะสุดท้ายการซื้อขายใดๆ จะเกิดขึ้นได้ ผู้ซื้อกับผู้ขายก็ต้องมีความต้องการตรงกัน และถ้ามีการพูดถึงเรื่้องเหล่านี้อีกเราจะมาบอกเล่ากันอีกครั้งครับ

เรียบเรียงจาก: Answerman – What Is A “Minimum Guarantee?”

 

1 Trackbacks & Pingbacks

  1. Answerman – ถ้าแฟนคลับอยากจะ LC ผลงานมาเองจะได้ไหม? – DexNews

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*