Answerman : มืออาชีพด้านการ์ตูนคิดอย่างไรกับโดจินชิ ?

Share

Aloyisa ถาม:

ฉันเข้าใจว่ามีนักเขียนหลายคนที่เคยเขียนโดจินชิแนว BL/Yuri แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่เคย ถ้าอย่างนั้นพวกเขามีความรู้สึกอย่างไรกับการที่คนเขียนการ์ตูนของพวกเขาเป็นโดจินชิ BL/Yuri ? พวกเขาโกรธแบบ “ตัวละครของฉันไม่ได้ชอบเพศเดียวกันนะ” หรือพวกเขาปล่อยผ่านเรื่องพวกนี้ไป ?

Answerman :

โดจินชิ หรือ ผลงานที่แฟนๆ ทำกันเองในขนาดเล็ก เป็นเรื่องใหญ่มากมายมหาศาลในกลุ่มแฟนอนิเมะและมังงในญี่ปุ่น ดูได้จากงาน Comiket งานโดจินชิที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งจัดปีละสองครั้ง และมีสถิติการเข้าชมงานเฉลี่ยครั้งละห้าแสนคน และมีแนวโน้มที่จะมากขึ้น เมื่อเทียบกับงานในไทยที่มีคนเข้าชมมากที่สุดราวหนึ่งแสนคนเท่านั้น ตามความเข้าใจของหลายๆ คน โดจินชิ จะเป็นแค่ผลงานที่สร้างขึ้นมาเกาะกระแสอนิเมะ, มังงะ หรือเกมที่นิยมในช่วงนั้นเท่านั้น แต่ยังมีผลงานที่เขียนเป็นต้นฉบับมาขายในงานนี้ รวมไปถึงงานที่อิงอนิเมะ, มังงะ หรือเกมที่ออกมานานแล้วก็ถูกนำมาขายอยู่ในงานนี้เช่นกัน แถมยังมีงานที่อิงกระแสสื่อบันเทิงแบบอื่นๆ อย่าง โดจินชิ แฮร์รี่พอตเตอร์ หรือ ซีรีส์คนแสดง Super Natural แม้แต่การ์ตูนอย่าง South Park ก็มีให้เห็นเช่นกัน แน่นอนว่าโดจินชิที่ขายดีมักจะเป็นอันที่มีฉากอัศจรรย์โจ๋งครึ่ม

ตัวอย่างการเข้าคิวงาน Comiket / ภาพจาก – japantravel.com

โดจินชิ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด อย่างงาน Comiket ก็จัดมาตั้งแต่ปี 1975 ซึ่งได้รับความนิยมมากจนถึงขั้นที่ไม่มีแฟนการ์ตูนคนไหนที่ไม่รู้จักงานดังกล่าว รวมถึงยังฝันใฝ่ที่จะไปร่วมงานดังกล่าว นักวาดการ์ตูนอายุต่ำกว่า 40 ปี ในยุคนี้มักจะเริ่มต้นจากการเขียนโดจินชิ และยังมีอีกหลายคนที่เป็นนักเขียนมีชื่อแล้วก็ยังคงเดินทางมาขายผลงานในงานนี้อีกในบางเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานเขียนที่นักเขียนมืออาชีพเหล่านั้นไม่อยากให้กองบรรณาธิการเข้ามายุ่งด้วย นักเขียนอย่าง Yoshitoshi ABe, Ken Akamatsu, Kiyohiko Azuma เป็นกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ ของนักเขียนที่ดังแล้วแต่ก็ยังไปเปิดเซอร์เคิลกันอยู่

ความจริงต้องบอกว่าในช่วงราวๆ ยี่สิบปีให้หลังนี้ ไม่น่าจะมีคนทำงานเกี่ยวกับ อนิเมะ, มังงะ หรือเกม ที่ฉลาดน้อยจนนึกไม่ออกว่าถ้างานของพวกเขาได้รับความนิยม ผลงานเหล่านั้นจะถูกกลุ่มแฟนๆ จับไปเขียนเป็นเรื่องหื่นที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ผิดทุกกฏเท่าที่มนุษย์เคยกำหนดขึ้น แม้แต่การที่ ฟุโจชิ จับเอาตัวละครหนุ่มๆ ในสื่อบันเทิงมาตีความสัมพันธ์ของลูกผู้ชายทั้งหลายไปอีกแบบก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะฟุโจชิก็อยู่คู่กับการ์ตูนสายโชเน็นมานานแล้ว จนถึงระดับที่บางเรื่องผู้สร้างลงานตั้งใจหยอดความสัมพันธ์แบบเกย์เป็นยาหอมให้กับแฟนๆ กลุ่มนี้

โดจินชิ นั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นเรื่องผิดกฎหมายแน่นอน เพียงแต่ฝั่งโดจินชินี้ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาสำหรับฝั่งผู้สร้างและผู้จัดจำหน่ายผลงานแต่อย่างใด กระนั้นผู้สร้างผลงานส่วนใหญ่มักจะไม่พูดถึงโดจินชิออกสื่อสาธารณะมากนัก อาจจะบ้างบางคนที่พูดถึงเรื่องนี้ ในลักษณะรำพึงรำพันถึงการตีความของตัวละครที่ผิดความตั้งใจไป อย่างครั้งหนึ่งที่ Hideaki Anno ผู้สร้างซีรีส์ Evangelion เคยแสดงออกถึงความไม่พอใจที่แฟนๆ หลายคนชื่นชอบความสัมพันธ์กันของ ชินจิ กับ คาโอรุ แต่ไม่เคยพูดว่าเป็นความผิดของโดจินชิ (และเจ้าตัวน่าจะปลงตกและคิดกลับด้านในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้ สังเกตได้จากสินค้าที่ทำขายออกมาในภายหลังสนับสนุนแนวคิดของแฟนๆ มากขึ้น) ส่วนผู้สร้างอีกกลุ่หนึ่งก็มีความสุขกับแฟนอาร์ตหลากหลายสไตล์ที่ปรากฎขึ้นมากมาย แต่โดยส่วนใหญ่ผู้สร้างและผู้จัดจำหน่ายงานลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่น มองว่า โดจินชิ เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะผลงานที่จัดทำออกมาก็มีจำนวนพิมพ์ไม่มาก (เท่าเล่มต้นฉบับ) และการมีอยู่ของโดจินชิทำให้เห็นว่านี้ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมที่ดีว่ามีแฟนๆ จำนวนมากติดตามซีรีส์ดังๆ อยู่ หรือถ้าพูดอีกแง่ก็คือ โดจินชิ ส่วนใหญ่ไม่เป็นภัยต่อธุรกิจและมักจะอยู่ในมุมของตัวเองมากกว่า

แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะคิดแบบนั้น อย่าง Nintendo ก็ได้ทำการฟ้องร้องผู้เขียนโดจินชิลามกของเรื่อง Pokemon ในปี 1999 ที่ถูกจู่โจมด้วยความเห็นเชิงลบจากสื่อที่พวกเขาทำการดำเนินการทางกฎหมายเช่นนั้น อีกเรื่องหนึ่งก็คือกลุ่มผู้ดูแลสิทธิ์ของ Fujiko F. Fujio ที่ส่งจดหมายเตือนไปที่ผู้เขียนโดจินชิ “ตอนจบของโดราเอมอน” ด้วยเหตุผลที่ว่าตัวโดจินชิตอนดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับที่ไม่เคยเขียนตอนจบมากจนเกินไป และผู้เขียนโดจินชิก็ได้ทำการขออภัย, ยุติการจำหน่ายโดจินชิ รวมถึงบริจาคเงินส่วนหนึ่งให้กับผู้จัดจำหน่ายการ์ตูน กระนั้นก็มีเพียงแค่สองคดีดังนี้ที่เจ้าของผลงานที่พยายามดำเนินการทางกฎหมายกับผู้วาดโดจินชิ

ด้วยการเติบโตอย่างมากของตลาดโดจินชิ ทำให้มีคนในอุตสาหกรรมบันเทิงเริ่มกังวลและออกความคิดเห็นในการควบคุมโดจินชิเนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นอาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้ จากจุดนี้ทำให้มีการออก “Doujin Mark” ซึ่งถูกสร้างด้วย Common Sphere หน่วยงานที่ดูแลเรื่องการใช้ลิขสิทธิ์แบบ Creative Commons ในญี่ปุ่นเมื่อหลายปีก่อน เพื่อเป็นการระบุว่า ผลงานต้นฉบับชิ้นใดที่โอเคกับการถูกนำไปเป็นโดจินชิ ตราบเท่าที่ไม่วางจำหน่ายหรือเอาไปปล่อยในรูปแบบดิจิตอล โดยมีกฎกติกามารยาทบางอย่าง อาทิ: พวกเขาไม่สามารถทำการลอกลายเส้น (Trace) จากตัวมังงะหรือภาพทางการอื่นๆ และตัวโดจินชิจะต้องวงขายเฉพาะงานอีเวนท์สำหรับขายอย่างงาน Comiket เท่านั้น (นอกจากนี้ยังมีข้ออนุญาตอื่นๆ อีก อย่างถ้าจะมีการขายแบบดิจิตอลหรือตามร้านต้องมีการอธิบายชัดเจนข้างดวงตรานี้) ตัวตรา Doujinshi Mark อนุญาตให้งานโดจินชิออกจำหน่ายตามข้อกำหนดแต่ก็ไม่มีการระบุแบบชัดๆ ว่าคนที่ละเมิดกติกาจะได้รับโทษใด แต่ก็เป็นการติดป้ายและเก็บข้อมูลที่สร้างความสบายใจต่อฝั่งเจ้าของผลงานต้นฉบับด้วย

โดจินชิ ยังเป็นชิ้นส่วนสำคัญของฝั่งแฟนๆ ในประเทศญี่ปุ่น สำคัญกว่าฝั่งคอสเพลย์เสียอีก และเมื่อตัวตนของกลุ่มคนนี้ชัดเจนอย่างมาก คำถามที่ว่ามืออาชีพด้านการ์ตูนคิดอย่างไรกับโดจินชินั้น ก็ต้องบอกว่าพวกเขาอาจจะมองมันเป็นเรื่องสามัญจนเหมือนไม่คิดอะไรมาก

เรียบเรียงจาก – Answerman : What Do Manga Artists Think Of Dirty Doujinshi?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*