Answerman : ฤๅการที่ “Netflix” สร้างรายการของตัวเองนั้นเป็นทางรอดของวงการอนิเมะญี่ปุ่น ?

Share

Earl ถาม :

ตัวอย่างของอนิเมะ Castlevania เพิ่งออกมาให้ชมกันไม่นาน ผมกับเพื่อนร่วมงานได้สังเกตถึงคุณภาพของงานอนิเมชั่น ถึงจะเป็นอนิเมะที่ผลิตโดยคนอเมริกา (อย่างน้อยตอนแรกผมก็คิดแบบนี้)  แต่มันก็ทำให้ผมคิดว่า …การจ้างผลิตรายการสไตล์แบบที่ Netflix ทำนี่ จะเป็นทางออกสำหรับอุตสาหากรรมผู้ผลิตอนิเมะญี่ปุ่นที่กำลังอยู่ในภาวะการทำงานแย่เหมือนอยู่ในนรกหรือเปล่า ? เพราะเหมือนว่าทาง Netflix ค่อนข้างจะให้ตารางงานที่่ยืดหยุ่นกว่า, เปิดพื้นที่ให้ความคิดสร้างสรรค์ (และคุณภาพ) ได้ดีมากกว่า และยังให้งบทุนที่สูงกว่าซึ่งน่าจะทำให้ลดความตึงเครียดในการทำงานแถมยังทำให้คนทำงานมีรายได้สูงขึ้น ถ้าหาก Netflix (รวมถึงบริการรับชมออนไลน์เจ้าอื่นๆ) สามารถสร้างงานอนิเมะที่แฟนๆ ‘ต้องดู’ ขึ้นในบริการออนไลน์ของตัวเองได้ มันก็น่าจะช่วยปรับเปลี่ยนกระแสของอุตสาหกรรมอนิเมะได้ดีขึ้นทีละนิด

 

Answerman ตอบ :

เป็นไอเดียที่น่าสนใจ แต่คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อทำให้มันได้ผล เพราะเคยมีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว

อนิเมเตอร์คนหนึ่งนั้นทำงานเฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน และเดือนนึงมีวันหยุดเพียงแค่สี่วัน

สำหรับท่านที่ติดตามอุตสาหกรรมอนิเมะคงจะทราบว่า สภาพการทำงานของเหล่าอนิเมเตอร์ในญี่ปุ่นนั้นเลวร้ายถึงขั้นสุดทีเดียว บุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถหนีหายจาวงการค่อนข้างเร็ว เนื่องจากชั่วโมงการทำงานที่แสนจะยาวนานแถมรายได้ที่รับได้ก็ไม่พอยาไส้ ระดับที่จะย้ายออกจากบ้านของพ่อแม่ก็ยังทำไม่ได้, ต่อให้พวกเขาจะทำ OT จนล้นปรี่แล้วก็ตามทีเถอะ เรื่องเหล่านี้จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการสร้างอนิเมะเรื่องใหม่ๆ ซึ่งมีปัญหาขาดบุคลากรอยู่เสมอ พูดได้ว่าทีมงานสร้างอนิเมะในญี่ปุ่นนั้นทำงานจนถึงจุดที่ตัวจะแตกอยู่เป็นเรื่องปกติก็ว่าได้

ถึงธุรกิจอนิเมะจะเบ่งบานอยู่ในช่วงนี้ แถมรายได้จากการเปิดให้รับชมออนไลน์ในอเมริกาเหนือกับประเทศจีน ก็มียอดที่สูงกว่ายอดขาย DVD/Blu-ray ที่ตกยุคไปอย่างชัดแจ้น อย่างไรก็ตามกระแสเงินตราที่ไหลเวียนมหาศาลในธุรกิจอนิเมะที่ว่าก็ไม่ได้ไปถึงมือของบริษัทผู้ผลิตอนิเมะ ผู้ยอมตัดราคาค่าตัวของพวกเขาให้เข้าเนื้อ งเพื่อที่จะสามารถแข่งราคารับงานให้เท่าเทียมกับบริษัทผู้ผลิตเจ้าอื่น แถมแทนที่จะเอาเงินไปเปย์ให้กับบริษัทผู้ผลิตอนิเมะ ทางโปรดิวเซอร์ กับ คณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะ (Productions Committees) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของบริษัทผู้ถือเนื้อหา (อย่างเช่น สำนักพิมพ์การ์ตูน) บริษัทของเล่น บริษัทเกม ฯลฯ  ก็มักจะเอาเงินก้อนใหญ่ไปลงทุนในการสร้างอนิเมะเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องเสียมากกว่า

 

งั้นทำไม Netflix ถึงไม่โดดเข้าไปนั่งอยู่ใน คณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะ มันเสียเลยล่ะ ?

ด้วยความที่ว่า คณะกรรมการผู้ผลิตอนิเมะ ใช้ระบบเสียงข้างมากในการตัดสินใจสร้างผลงานสักเรื่องหนึ่งขึ้นมา และวัฒนธรรมในการทำงานของฝั่งญี่ปุ่น (หรือประเทศในโซนเอเซีย) ก็จะนิยมที่จะเอาคู่ค้าที่ทำงานด้วยกันมานานจนมีความเชื่อใจกันเยอะๆ เข้ามาร่วมโต๊ะคณะกรรมการ ซึ่งต่างจากสไตล์ของฝั่งตะวันตกอาจจะหยิบยกคนที่น่าจะเวิร์คกับงาน (และพร้อมจะปลดออกอย่างเร็ว ถ้ามีปัญหา) มานั่งร่วมโต๊ะ ผลก็คือ แม้แต่บริษัทระดับ Funimation กับ Crunchyroll ที่ทำรายได้ให้กับวงการอนิเมะมานานก็เพิ่งมีโอกาสได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ว่าเมื่อนานมานี้ รวมไปถึงว่าผู้ให้บริการรับชมออนไลน์สไตล์ Netflix หรือ Amazon ที่เติบโตขึ้นในยุค IT เฟื่องฟูและไม่นิยมการเดินเกมธุรกิจแบบสานสัมพันธ์ช้าๆ มักจะตัดสินใจที่จะทุ่มเงินกองใหญ่ในการแก้ไขปัญหาใดๆ ก็ตาม นั่นหมายความว่า ถ้าพวกเขาอยากทำอนิเมะขึ้นมาแล้ว พวกเขาจะเปย์เงินแล้วสร้างงานของตัวเองไปเลย

Castlevaniax อนิเมะ ที่กำลังจะออกฉายทาง Netflix กลางเดือนนี้ ก็มาจากการที่มีโปรดิวเซอร์อเมริกาไปเสนอตัวว่าสนใจจะทำ ก่อนที่จะจ้างสตูอิโออนิเมชั่นในภายหลัง

สมมติว่าถ้า Netflix หรือผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ เกิดอยากจะทำอนิเมะของตัวเองขึ้นมาจริงๆ ก็เป็นไปได้ต่ำมากที่พวกเขาจะทำอนิเมะด้วยกำลังของตัวเองตั้งแต่เริ่มจนจบเพราะนั่นไม่ใช่สไตล์การทำงานของเขา ตามปกติแล้วพวกเขาจะทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์ที่อยากจะสร้างรายการใหม่ ก่อนจะส่งงานต่อให้โปรดิวเซอร์ไปทำรายการขึ้น ในกรณีอนิเมะนั้น พวกเขาจะต้องจ้างทีมงานวางแผนการสร้างเพื่อพัฒนาโครงงานมาสักเรื่อง จากนั้นก็ติดต่อกับสตูดิโออนิเมะ แล้วหาบุคลากรระดับท็อป จับมาทำสัญญาเพื่อทำงานที่ต้องการ ซึ่งก็มีสตูดิโออนิเมะไม่กี่เจ้าที่สามารถรับงานแบบนี้ได้ (ตัวอย่างเช่น Sunrise, Pierrot, Madhouse และ MAPPA)

 

แล้วทำไมถึงมีสตูดิโออนิเมะญี่ปุ่นแค่ไม่กี่เจ้าที่รับงานจากฝั่งอเมริกามาทำ ?

เพราะสตูดิโออนิเมะในญี่ปุ่นโดยส่วนมากไม่ได้รับงานนอกจากฝั่งตะวันตกมาตั้งแต่ช่วงกลายของยุค 90 แล้ว ตามปกติสตูดิโอะอนิเมะของญี่ปุ่นจะรับงานในลักษณะที่ ผู้กำกับของเรื่องสามารถเข้าใจคอนเซปท์เรื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะต้องอ่านผลงานต้นฉบับมาก่อน หรือร่วมสร้างผลงานมาตั้งแต่เริ่ม อย่างน้อยพวกเขาจะต้องได้เห็นบทของอนิเมะ และสามารถถกกับคนเขียนบทเพื่อปรับเปลี่ยนได้

(งานอนิเมะในยุค 90 ของอเมริกาอย่าง G.I. Joe, Thundercats, Silverhawks เป็นผลงานผลิตของสตูดิโอในญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันเจ้าที่เคยรับงานเหล่านั้น ถ้าไม่เลิกรับงานนอกอย่างที่ Toei Animation เจ้าอื่นๆ ก็ได้ปิดตัวลงไปแล้ว)

 

ซึ่งงานที่บริษัทฝั่งอเมริการ่วมผลิตนั้นไม่ได้ทำงานในลักษณะแบบที่ว่าเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่แล้วโปรดิวเซอร์ฝั่งอเมริกามักจะจัดการการเล่าเรื่องเอาไว้ที่ตัวเอง ก่อนจะจ้างสตูดิโอต่างระเทศเพื่อผลิตผลงานตามที่พวกเขาคิดว่า วิธีการทำงานแบบนี้จึงไม่ค่อยจะต้องตาต้องใจบุคลากรที่มีความสามารถของญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก ถ้าโชคดีหน่อยเราก็ได้เห็นงานอนิเมะแบบ Highlander: The Search For Vengeance ออกมาสักเรื่องหนึ่ง  จริงๆ ในช่วงนี้ก็มีผลงานอนิเมะถูกสร้างอยู่หลายอเรื่องแต่ไม่มีผู้กำกับคนไหนที่สนใจอยากจะทำงานที่ไม่ต่างอะไรกับการระบายสีภาพตามตัวเลขที่มีคนระบุเอาไว ในบางกรณีงานแนวนี้จะถูกโอนงานต่อให้กับสตูดิโอของประเทศอื่นๆ (อย่างเกาหลีใต้) ไปรับช่วงต่ออีกทีหนึ่ง

 

แล้วถ้า Netflix อยากทำอนิเมะจริงๆ ควรทำอย่างไร ?

ถ้าอยากให้ Netflix ทำงานอนิเมะแล้วยังคุมโทนเรื่องสไตล์ญี่ปุ่นเอาไว้ได้ ต้องเป็นโปรดิวเซอร์ของทางญี่ปุ่นเองที่ต้องวิ่งเข้าไปหา Netflix เพื่อเสนอโครงการสร้างอนิเมะตั้งแต่ช่วงเริ่มโครงการ จากนั้นก็ภาวนาว่าทาง Netflix จะยอมเปย์เงินจำนวนมากเพื่อร่วมพัฒนาโครงการสร้างนี้ จากนั้นค่อยเอาเงินที่ว่าไปจ้างสตูดิโอสร้างอนิเมะฝีมือดีด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาด โดยพื้นฐานแล้วทุกคนก็คงอยากจะหาทางจ่ายเงินให้สูงกว่าราคาตลาด ซึ่งอาจจะใช้คำหอมโปรยนำไปว่า “ตอนนี้มีรายการแบบเดียวกันในตลาดเยอะ, เราจึงต้องการบุคลากรระดับท็อป”

แล้วก็เหมือนกับที่อธิบายว่ากว่าจะไปถึงจุดนี้ได้ยังคงเป็นหนทางที่ยาวไกล นั่นก็เพราะความสัมพันธ์ของโปรดิวเซอร์อนิเมะกับเหล่าอนิเมเตอร์ยังอยู่ในภาวะย่ำแย่ ณ ช่วงเวลานี้ บางทีเราคงต้องการเหตุผิดวิสัยสักอย่างที่จะสามารถทำลายวัฐจักรอันเลวร้ายของอุตสาหกรรมอนิเมะให้ได้ก่อน ก็ได้แต่ขอภาวนาให้มันเกิดเรื่องดีๆ ขึ้นเช่นนั้นนะ

เรียบเรียงจาก : Answerman – Is The “Netflix” Way Of Making Shows A Savior For The Anime Business?

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*